รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 มีนาคม 2563
ข่าวเด่น
ในสถานการณ์การระบาดอย่างร้ายแรงของโควิด-19ในปัจจุบัน ผู้สูงอายุนับเป็นกลุ่มเปราะบางต่อการติดเชื้อ และมีความเสี่ยงจากการเสียชีวิตมากที่สุด เพราะผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัว มีสภาพร่างกายเสื่อมตามวัย ภูมิต้านทานน้อยลง ผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเตือน
“ที่น่าห่วงมากที่สุดคือผู้สูงอายุที่อยู่กันตามลำพัง หรือสองคนตายาย ในกรณีแบบนี้ เพื่อนบ้านและคนในชุมชนควรช่วยกันสอดส่องดูแล ทั้งอาหาร น้ำ ยา และดูว่าท่านเจ็บป่วยหรือมีอาการบ่งชี้ว่าติดโควิดหรือไม่” ศาสตราจารย์ ดร. วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าว
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปีพ.ศ.2560 พบว่า จากจำนวนผู้สูงวัยทั้งหมด 12 ล้านคนในประเทศไทย ประมาณร้อยละ 10.7 ของผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังคนเดียว และประมาณร้อยละ 20 อยู่กันตามลำพังสองคนตายาย โดยในชนบทจะมีสัดส่วนผู้ที่อยู่กันสองคนตายายสูงกว่าในเมืองเล็กน้อย
ยิ่งไปกว่านั้น ประมาณร้อยละ 39 ของผู้สูงอายุไทยยังมีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี โดยผู้สูงอายุในเขตชนบทมีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปีในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้สูงอายุในเขตเมือง (ร้อยละ 44.5 เทียบกับร้อยละ 31.1)
ทั้งนี้ การอาศัยอยู่เพียงลำพังหรือไม่ได้อยู่กับลูกหลาน และการมีรายได้จำกัดหรือมีฐานะยากจนล้วนเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และการดูแลตัวเองตามหลักสุขภาวะที่ดี
ศาสตราจารย์ ดร. วิพรรณยังแสดงออกถึงความกังวลต่อผู้สูงอายุที่อยู่ในต่างจังหวัด และลูกหลานที่มาทำงานในกรุงเทพหรือเมืองใหญ่ซึ่งกำลังเดินทางกลับไปภูมิลำเนา หลังคำสั่งปิดกทม.ตามที่ปรากฏเป็นข่าว
“น่ากลัวมากว่าจะมีโอกาสเอาเชื้อโควิด-19 กลับไปให้ผู้หลักผู้ใหญ่ด้วย อยากให้คิดกันตรงนี้มากๆ คิดถึงผู้สูงวัยที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ หากกลับไปแล้วสามารถกักกันตัวเอง แยกกันกินแยกกันอยู่ได้หรือไม่ในช่วง14วันแรก แต่จะให้ปลอดภัยที่สุด ลูกหลานไม่ควรย้ายกลับไป จำไว้เป็นคัมภีร์เลยสำหรับผู้สูงวัยว่า เสี่ยงติด เสี่ยงตาย เลี่ยงได้ ให้อยู่บ้าน” ศาสตราจารย์ ดร. วิพรรณเตือน
ศาสตราจารย์ ดร. วิพรรณตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกว่าการที่ประเทศพัฒนาแล้วมีการสูญเสียชีวิตของประชากรสูงจากการระบาดของโควิด-19 ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างทางอายุของประชากรที่เป็นประชากรสูงวัย โดยส่วนใหญ่ประชากรกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด เช่น ญี่ปุ่นซึ่งมีสัดส่วนประชากรสูงวัยเป็นอันดับหนึ่งของโลกมีประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) สูงถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด เช่นเดียวกับอิตาลีที่มีสัดส่วนผู้สูงวัยเป็นที่สองรองลงมาจากญี่ปุ่น (ดูกราฟประกอบด้านล่าง) ก็สูญเสียผู้สูงวัยจากโรคระบาดครั้งนี้อย่างเป็นประวัติการณ์
ประเทศไทยนับเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ก้าวเป็นสังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วมาก ตามประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยปัจจุบันมีผู้สูงอายุราว 12 ล้านคน ดังนั้นหากไม่มีการเตรียมทรัพยากรหรือมีนโยบายเพื่อมารองรับกับสถานการณ์เช่นนี้อย่างทันท่วงที อาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าไปอย่างรวดเร็ว
ที่มา: United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division (2019). World Population Prospects 2019.
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้