รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 มีนาคม 2563
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนา Chula COVID-19 Strip Test ชุดตรวจผลเลือดเพื่อคัดกรองเบื้องต้นว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 หรือไม่ ด้วยวิธีที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว พร้อมให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2563 ที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ซึ่งจะเป็นศูนย์รับมือและวินิจฉัย COVID-19 อย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย
Chula COVID-19 Strip Test เป็นชุดทดสอบที่คิดค้นโดยอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ การทดสอบอาศัยหลักการทางภูมิคุ้มกันร่างกาย (Serology Test) ซึ่งเป็นการตรวจหาแอนติบอดี (IgG & IgM) ในเลือด ซีรัม หรือพลาสมา ใช้เวลาเพียง 10-15 นาทีในการตรวจวินิจฉัยเพื่อคัดกรองเบื้องต้น สามารถตรวจได้ที่จุดให้บริการผู้ป่วย
ผู้สนใจเข้ารับการตรวจด้วย Chula COVID-19 Strip Test เริ่มต้นจากการลงทะเบียนทางออนไลน์ผ่าน Application ที่ http://covid19.thaitechstartup.org/ เพื่อคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ หากมีความเสี่ยงมากหรือปานกลาง จะได้รับการแจ้งนัดหมายให้มารับบริการที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ซึ่งจะมีการจัดลำดับการให้บริการและวิธีเข้ามารับบริการที่ศูนย์บริการสุขภาพฯ อย่างปลอดภัยตามมาตรการ Social Distancing รวมทั้งมีระบบรองรับในการให้คำปรึกษา ในกรณีที่มีผลการตรวจเลือดเป็น Positive (ติดเชื้อ) ก็จะมีช่องทางที่รวดเร็วในการส่งไปตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันอีกครั้งที่โรงพยาบาลต่อไป
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินไวรัสโคโรนา 2019 เปิดเผยว่า Chula COVID-19 Strip Test ใช้วิธีทดสอบด้วยการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว จึงทำให้ในการตรวจวินิจฉัยมีความปลอดภัย ไม่ต้องใกล้ชิดกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตาม Chula COVID-19 Strip Test ไม่ได้นำมาทดแทนการตรวจเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธีมาตรฐาน แต่หวังว่าชุดทดสอบนี้จะช่วยแบ่งเบาจำนวนคนไข้ที่ต้องมารับบริการตรวจที่โรงพยาบาลจำนวนมาก ถ้ามีผลเลือดเป็น Negative และไม่มีความเสี่ยง ก็จะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง โดยไม่จำเป็นต้องไปตรวจที่โรงพยาบาล
ขอเชิญนิสิตจุฬาฯ เข้าร่วมโครงการ The Comprehensive course in Japanese Business Innovation Program หลักสูตรเชิงลึกด้านนวัตกรรมธุรกิจญี่ปุ่น
อบรม “เสริมศักยภาพธุรกิจอาหาร: การประเมินคาร์บอนเพื่อความสำเร็จในยุคใหม่”
วันเด็กสยาม 2568 “CHULA LAND แดนเด็กเล่น” ครั้งแรกที่จุฬาฯเปลี่ยน ‘สยาม’ ให้เป็น ‘สนาม’ เด็กเล่น
ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลอายุรแพทย์ดีเด่น ด้านวิชาการ ประจำปี 2568
จุฬาฯ จัดพิธีตักบาตรเนื่องในโอกาสขึ้นพุทธศักราชใหม่ 2568
ขอเชิญอาจารย์และนิสิตจุฬาฯ เสนอชื่ออาจารย์หรือสมัคร เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็น “อาจารย์แบบอย่างสภาคณาจารย์” ประจำปีการศึกษา 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้