ข่าวสารจุฬาฯ

“เครื่องตรวจ COVID-19 อัตโนมัติ” รู้ผลเร็ว แม่นยำถึง 99 % ที่แรกและที่เดียวที่โรงพยาบาลจุฬาฯ

ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ หังสสูต หน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงเครื่องตรวจ COVID -19 อัตโนมัติเครื่องแรกในประเทศไทย ซึ่งให้บริการแก่ประชาชนในการตรวจหาเชื้อ COVID -19 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จุดเด่นของเครื่องมือนี้คือเป็นระบบอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้คนเข้าไปเกี่ยวข้องมากนัก จึงมีความปลอดภัย สามารถป้องกันคนของเราไม่ให้ติดเชื้อ ช่วยลดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานได้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังสามารถยืนยันผลการติดเชื้อได้ถึง 99 % เครื่องนี้ได้รับการอนุมัติมาตรฐานจาก อย.ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ทำการทดสอบกับวิธีการตรวจแบบมาตรฐานของประเทศไทยแล้วพบว่าได้ผลสอดคล้องกัน เครื่องนี้ยังสามารถตรวจได้มากถึง 1,440 ตัวอย่างต่อวัน สามารถรู้ผลได้เร็วภายใน 3 – 5 ชั่วโมงสำหรับการทำงานในช่วงแรก หลังจากนั้นสามารถรู้ผลการตรวจภายในเวลาเพียงแค่ 90 นาที

ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ กล่าวว่าการตรวจหาเชื้อ COVID -19 ด้วยเครื่องมือนี้เป็นการตรวจจากน้ำที่ป้ายจากลำคอของคนไข้ที่มารับบริการตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือโรงพยาบาลอื่น เมื่อทางโรงพยาบาลได้รับตัวอย่างของสารที่จะทำการตรวจแล้ว นักวิทยาศาสตร์จะแบ่งตัวอย่างมาใส่ในหลอดเพื่อนำไปใส่ในเครื่องดังกล่าวซึ่งจะทำงานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ตั้งแต่การสกัดสารพันธุกรรมของไวรัส นำมาเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม และตรวจสอบว่ามีสารพันธุกรรมนั้นๆ หรือไม่ ผลการตรวจสามารถดูได้จากภายนอกห้องตรวจ ซึ่งเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ ไม่มีคนเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงมีความปลอดภัยสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล

ปัจจุบันเครื่องตรวจเชื้อ COVID -19 ได้ให้บริการแก่คนไข้ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลเอกชนไปแล้วกว่า 300 ตัวอย่าง แต่ยังไม่ได้เปิดรับการตรวจที่โรงพยาบาลในต่างจังหวัด เพราะเราต้องการให้ทีมแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเรียนรู้กับการทำงานของเครื่องมือนี้ให้มีการใช้งานที่คล่องตัว จากนั้นจะสามารถให้บริการได้อย่างเต็มที่ซึ่งสามารถรับได้ 1,440 ตัวอย่างต่อวัน ผู้ที่จะมารับบริการไม่จำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านสถานที่ซึ่งรองรับได้ไม่เกิน 200 คนต่อวันเท่านั้น คนไข้สามารถไปตรวจที่โรงพยาบาลอื่นๆ แล้วส่งตัวอย่างมาตรวจได้ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ได้

ทั้งนี้ เครื่องตรวจ COVID -19 อัตโนมัติที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีมูลค่า 15 ล้านบาท ซึ่งได้รับการบริจาคจากคุณสราวุฒิ อยู่วิทยา และภรรยา จากกลุ่มธุรกิจ TCP

“เครื่องตรวจ COVID -19 อัตโนมัติสามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาการระบาดของ COVID -19 ในบ้านเราได้เป็นอย่างดี ถ้าเราสามารถตรวจคนไข้ได้ในปริมาณที่มากขึ้น รู้ผลได้เร็วขึ้นก็น่าจะช่วยป้องกันไม่ให้บุคคลเหล่านั้นไปแพร่เชื้อให้คนอื่นต่อไป” ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ กล่าวทิ้งท้าย

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า