รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้บุคลากรจุฬาฯ ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากเดิมที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมาเป็น Work from Home เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคนี้ แม้มหาวิทยาลัยจะปิดทำการแต่ก็ยังมีบุคลากรจุฬาฯ บางส่วนที่มาปฏิบัติงานในจุฬาฯ อย่างแข็งขัน ทุ่มเทและเสียสละ หนึ่งในนั้นคือจิตอาสาที่ทำหน้าที่ประสานงาน อำนวยความสะดวกแก่ประชาคมจุฬาฯ ในโครงการ CU V Care ซึ่งเป็นโครงการของจุฬาฯ ที่ให้การดูแลบุคลากรหรือนิสิตที่พักฟื้นจากการติดเชื้อ COVID-19 ที่มีอาการดีขึ้น รวมถึงผู้ที่เข้าข่ายการสืบค้นโรคให้มาพักในจุฬาฯ ที่อาคารจุฬานิเวศน์ และหอพักจำปา
จีรเดช ราชวังเมือง หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริการอาคารสถานที่ สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ ผู้ประสานงานหลักโครงการ CU V Care อาคารจุฬานิเวศน์ กล่าวว่า ตนทำหน้าที่ประสานงานกลางระหว่างทีมแพทย์ ทีมจิตอาสา และผู้เข้าพัก รวมถึงบริหารจัดการอาคารจุฬานิเวศน์และจัดหาอุปกรณ์จำเป็นต่างๆ ให้พร้อมสำหรับผู้เข้าพัก การกลัวติดเชื้อเป็นความกังวลแรกที่เกิดขึ้นจากการได้มาปฏิบัติงานในโครงการนี้ แต่เมื่อได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการติดเชื้อ COVID-19 ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งการมาทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้สามารถช่วยเหลือผู้ที่ติดเชื้อได้แม้เราจะไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ก็ตาม เป็นการแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลได้อีกทางหนึ่ง คนที่ยังไม่ติดเชื้อหรือยังไม่ป่วยก็ควรช่วยเหลือคนที่เป็นผู้ป่วย เพราะถ้าเราไม่ช่วยเหลือกันและกัน สุดท้าย เราทุกคนก็จะป่วยกันหมด รู้สึกประทับใจผู้ปฏิบัติงานจิตอาสาทุกคนที่เสียสละตนเองในการทำงาน ทำให้โครงการนี้สำเร็จลุล่วง
วสันต์ ลือลาภ เจ้าหน้าที่สำนักบริหารระบบกายภาพ จิตอาสาในโครงการ CU V Care ทำหน้าที่ฝ่ายประสานงานระหว่างผู้เข้าพักในอาคารจุฬานิเวศน์และฝ่ายรับ-ส่งอาหาร รวมทั้งประสานงานในภาพรวม เผยว่าการเสียสละมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนี้เป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันในภาวะที่ ทุกคนรู้สึกหวาดกลัวการติดเชื้อ ประทับใจทีมงานทุกคนที่ทำให้โครงการนี้สำเร็จโดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติงาน ได้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจของทุกคนที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ ความสำเร็จของโครงการ
สันติ ทองนิ่ม เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ศูนย์รักษาความปลอดภัยและจัดการจราจร ซึ่งทำหน้าที่ส่งอาหารให้ผู้เข้าพักในโครงการนี้ กล่าวด้วยความภูมิใจที่เห็นผู้ที่เข้าพักได้กลับบ้านโดยสวัสดิภาพ ตนยังทำหน้าที่เป็นจิตอาสาต้นแบบเพื่อให้จิตอาสาที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้วิธีป้องกันตนเองที่ถูกต้อง การปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนี้ ถ้าเรียนรู้วิธีป้องกันและปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังตามที่ได้รับอบรมมาโอกาสที่จะติดโรคจะน้อยมาก อีกทั้งมหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันให้จิตอาสาที่เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ทุกคนอย่างพอเพียง ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อยังสามารถนำไปส่งต่อถึงเพื่อนร่วมงานและครอบครัวได้ด้วย
จุฑามาส ใจกล่ำ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ซึ่งอาสามาปฏิบัติหน้าที่เฝ้าเวรยามหน้าอาคารจุฬานิเวศน์ เผยว่ามีความกลัวบ้าง แต่เมื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมและเข้ารับการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญตามที่มหาวิทยาลัยจัดให้ ทำให้คลายความวิตกกังวลได้บ้าง ผู้ที่เข้าพักที่นี่ก็คือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามาแล้วและมีเชื้อในร่างกายระดับต่ำ ถ้าตัวเราหรือคนในครอบครัวติดเชื้อก็ต้องการคนดูแลเช่นกัน ทุกคนที่อาสามาทำงานนี้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยใจ โรคระบาดเกิดขึ้นมาได้ก็หายได้เช่นกัน ขอให้ทุกคนมีกำลังใจผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้บริการตรวจคัดกรองสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อ COVID-19 ด้วยระบบตรวจคัดกรอง Chula COVID-19 Strip Test Service ซึ่งในแต่ละวันมีประชาคมจุฬาฯ และประชาชนทั่วไปมารับบริการตรวจคัดกรองที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ อาคารจามจุรี 9 เป็นจำนวนมาก
นพ.สัณฐิติ ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ กล่าวว่าศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ รับผิดชอบงานนี้เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องช่วยเหลือกัน ทีมแพทย์พยาบาลเป็นทัพหน้าคอยดูแลเกี่ยวกับโรคระบาดก็จริง แต่เราต้องทำงานร่วมกัน มีทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ทำงานระบบหลังบ้านเป็นทัพหลัง ทุกคนทำงานด้วยความสมัครใจ ทีมแพทย์พยาบาลบางท่านมาจากภายนอกเป็นจิตอาสา ซึ่งมาทำงานด้วยใจจริงๆ เราผ่านสถานการณ์วิกฤตต่างๆ มาหลายครั้ง ต่อไปอาจจะมีสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก คำพูดและขวัญกำลังใจสำคัญที่สุด เรามักจะพูดกันเสมอว่า “Social Distancing เว้นระยะทางสังคมแต่รักกันเหมือนเดิม” การทำงานดูแลคัดกรองผู้ติดเชื้อที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จุฬาฯ ดำเนินการเท่านั้น ที่สำคัญที่สุดคือระบบการทำงานที่ทุกภาคส่วนในจุฬาฯ ร่วมมือกันอย่างดียิ่ง การที่เราเหน็ดเหนื่อยและเสียสละในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ เมื่อเวลาผ่านไปเราจะภูมิใจกับสิ่งที่เราทำในครั้งนี้
ศุภกัญญา บินทปัญญา หัวหน้าพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ เผยว่ารู้สึกภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยในสถานการณ์เช่นนี้ หน้าที่ในแต่ละวันที่ศูนย์บริการสุขภาพจะเจาะเลือดเก็บตัวอย่างของคนไข้เพื่อส่งตรวจตามระบบการตรวจคัดกรอง Chula COVID-19 Strip Test Service ในภาวะวิกฤต COVID-19 เราไม่หยุดที่จะให้บริการ แต่ด้วยอัตรากำลัง และอุปกรณ์ที่มีจำกัด จะจัดสรรอย่างไรให้คนไข้ได้รับบริการมากที่สุด และต้องระมัดระวังการติดเชื้อเพิ่มของบุคลากรทางการแพทย์ควบคู่ไปด้วย บุคลากรต้องตระหนักเรื่องการเตรียมความพร้อมในรูปแบบที่เป็นสากล
สำหรับบุคลากรจุฬาฯ บางหน่วยงานที่ยังคงมาปฏิบัติงานในจุฬาฯ ในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ได้เผยถึงงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของคนทำงานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังที่เสียสละและอุทิศตนมาปฏิบัติงานที่จุฬาฯ แม้จะมีมาตรการ Work from Home ก็ตาม
ปราณี จงไกรจักร เจ้าหน้าที่สำนักงาน (ธุรการ) โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลสัตว์เล็กยังมีคนมาใช้บริการตามปกติทุกวัน เวลา 08.00 – 15.00 น. งดเฉพาะคลิกนิกนอกเวลา ตนมีหน้าที่ดูแลงานเอกสารและยา รวมทั้งเติมเจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดซึ่งผลิตโดยภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แม้มหาวิทยาลัยจะปิดทำการในสถานการณ์ COVID-19 ระบาด แต่การดูแลรักษาสัตว์เลี้ยงที่ป่วยยังคงเปิดให้บริการเหมือนเดิม สัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ยังคงมาทำงานแต่ลดจำนวนลงจากเดิม 8 คน เหลือวันละ 4 คน มีการสลับวันทำงาน เป็นวันจันทร์ พุธ ศุกร์ กับวันอังคารและพฤหัสบดี
อุทิศ สุดารักษ์ พนักงานรักษาความปลอดภัย คณะเภสัชศาสตร์ เล่าถึงการทำหน้าที่ของ รปภ.ว่ามีความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยเท่านั้น แต่ต้องคัดกรองบุคลากรและนิสิตที่มาทำงานหรือติดต่อคณะในเบื้องต้นด้วย ส่วนตัวรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในช่วง COVID-19 ระบาด ถ้าให้เลือกระหว่างหยุดงานกับการมาทำงาน ตนอยากมาทำงานมากกว่า ที่ผ่านมาทางคณะได้ให้การสนับสนุนหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ ในขณะปฏิบัติหน้าที่จะต้องมีระยะห่างกับคนอื่นๆ ด้วย
ฉัตรชุลี ชาติปัญญาวุฒิ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ กล่าวว่า สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ยังเปิดให้บริการตามปกติ เพื่อให้บริการสมาชิกที่จำเป็นต้องมาใช้บริการโดยเฉพาะสมาชิกอาวุโส หรือสมาชิกที่ยังไม่มีบัตรเอทีเอ็ม นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ตอบคำถามให้ข้อมูลสมาชิกที่โทรศัพท์เข้ามาสอบถามเรื่องต่างๆ เป็นจำนวนมาก การมาปฏิบัติงานในภาวะวิกฤตเช่นนี้ ส่วนหนึ่งก็กลัว แต่ก็นึกถึงสมาชิกบางส่วนที่ไม่สามารถจะใช้ช่องทางอื่นในการรับบริการของสหกรณ์ได้ รู้สึกภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุด ในการทำงานจะปฏิบัติตามขั้นตอนการคัดกรองตามมาตรฐานเบื้องต้น ทั้งการวัดไข้ ใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
วิรัตน์ แววอาราม รักษาการหัวหน้าแผนกควบคุมการออกอากาศ สถานีวิทยุจุฬาฯ ทำหน้าที่ควบคุมการออกอากาศรายการต่างๆ ในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ยังคงมาทำงานทุกวัน แต่ปริมาณงานน้อยลง เนื่องจากวิทยากรและผู้ดำเนินรายการบันทึกเสียงผ่านทางโทรศัพท์หรือทางไลน์ แม้มหาวิทยาลัยจะปิด บุคลากรจะ Work from Home แต่ผมยังคงทำงานตามปกติ เพราะรายการวิทยุจะหยุดออกอากาศไม่ได้ รู้สึกภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่นี้ ไม่ว่าจะเผชิญกับภาวะวิกฤตในเรื่องไหน ในช่วงนี้มีผู้ฟังรายการโทรมาสอบถามในเรื่องการใช้หน้ากากอนามัย ผมก็จะไปหาคำตอบเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้จัดรายการ เพื่อให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ประชาชน ประทับใจทีมงานสถานีวิทยุจุฬาฯ ทุกคนที่ร่วมมือร่วมใจกันเต็มที่ในสถานการณ์เช่นนี้ บางคนไม่สะดวกในการเดินทางก็มานอนที่สถานี รวมทั้งมีการเย็บหน้ากากผ้าแจกทีมงานด้วย
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้