รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
สภากาชาดไทยขอเชิญผู้ป่วยที่หายจากโรค COVID-19 บริจาคพลาสมา เพื่อนำไปใช้ในการรักษาโรคและช่วยยับยั้งไม่ให้ปอดอักเสบรุนแรง ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยต้องเป็นผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่ออกจากโรงพยาบาลและกักตัวที่บ้านครบ 14 วันแล้ว จึงจะสามารถบริจาคพลาสมาได้
พลาสมาของผู้ที่หายจากโรค COVID-19 จะมีประโยชน์อย่างมากในการใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากผู้ป่วยเปรียบเสมือนเป็นเซรุ่มใช้รักษาโรคได้ ดังนั้น มาตรการในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 อีกทางหนึ่ง ที่ให้ผลการรักษาที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือ การใช้พลาสมาของผู้ป่วยที่หายแล้ว รักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยภูมิต้านทานต่อไวรัส COVID-19 ที่ร่างกายสร้างขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นสูงหลังสัปดาห์ที่ 2 ถึงสัปดาห์ ที่ 4 จะช่วยยับยั้งไวรัส COVID-19 ไม่ให้เข้าไปทำลายเซลล์ปอดจนทำให้ปอดอักเสบรุนแรง และแพร่กระจายสร้างความเสียหายไปทั่วร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตได้เพิ่มขึ้น หากมีผู้ที่บริจาคพลาสมาพิเศษนี้จำนวนเพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้ผู้ป่วยในประเทศได้มีโอกาสการรักษาและรอดชีวิตจากโรค COVID-19 เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ การรักษาผู้ป่วยยังต้องพึ่งพาการให้ยารักษาตามอาการของผู้ป่วย ส่วนการผลิตวัคซีนยังอยู่ในกระบวนการของการพัฒนาและวิจัยอย่างเร่งด่วน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ทำหน้าที่ในการรับบริจาคพลาสมาเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคต่างๆ อยู่แล้ว หากมีจำนวนผู้ที่บริจาคพลาสมาพิเศษเพิ่มมากขึ้น จะช่วยผู้ป่วยโรค COVID-19 ในประเทศไทยให้ได้รับการรักษาและมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และที่ปรึกษาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า พลาสมาของผู้ที่หายจากโรค COVID-19 จะมีประโยชน์อย่างมากในการใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตเพิ่มขึ้น จากผลการศึกษาการใช้พลาสมาของผู้ป่วยที่หายดีแล้วสามารถนำมารักษาผู้ป่วยและให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (US-FDA) อนุญาตให้ใช้พลาสมาของผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้วมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 ในสถานการณ์ฉุกเฉินในปัจจุบัน
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร. 0-2263-9600-99
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาประเภทจะเข้และซอสามสาย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้