รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 เมษายน 2563
เรื่อง : กนกวรรณ ยิ้มจู
ระหว่างที่เรากำลังหวั่นวิตกและปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ลุกลามไปแทบทุกจังหวัดของประเทศไทยและในอีกหลายประเทศทั่วโลก ก็มีข่าวที่สร้างความตระหนกให้กับคนรักสัตว์เพิ่มเข้าไปอีก เมื่อมีการตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในสุนัขของครอบครัวที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศฮ่องกง
เจ้าตูบ น้องเหมียว ที่อยู่ใกล้ชิดคนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้หรือไม่ และสัตว์เลี้ยงแสนรักเหล่านี้จะเป็นพาหะแพร่ไวรัสโควิด – 19 ให้เราได้หรือเปล่า? เราต้องsocial distancing กับสัตว์เลี้ยงด้วยไหม
ศ.นสพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “โรคอุบัติใหม่ของมนุษย์ 80% มาจากสัตว์ป่า อย่างขณะนี้เรารู้แน่ชัดแล้วว่า ไวรัส COVID-19 มีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว แต่สิ่งที่ยังไม่แน่ชัด และอยู่ระหว่างการศึกษาค้นคว้าก็คือสัตว์พาหะตัวกลางใดที่นำเชื้อมาถ่ายทอดสู่คนอีกทอดหนึ่ง”
ศ.นสพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับการพบเชื้อโควิด-19 ในสุนัขที่ประเทศฮ่องกงนั้น ยังไม่จัดเป็นการติดเชื้อ เพราะมีเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ในระดับต่ำและไม่แพร่กระจายจากตัวสุนัขมายังคน
ศ.นสพ.ดร.รุ่งโรจน์ อธิบายหลักการของการติดเชื้อไวรัสว่า “คนมีสถานะเป็นตัวรับ หรือที่เรียกว่า receptor เปรียบเทียบได้กับ
“แม่กุญแจ” ส่วนเชื้อไวรัสเปรียบได้กับ “ลูกกุญแจ” ซึ่งการจะติดเชื้อไวรัสได้นั้น จำเป็นต้องมีเยื่อบุพันธุกรรมตรงกัน 3 ตำแหน่ง และเยื่อบุพันธุกรรมของคนและสุนัขหรือแมว มีลักษณะคล้ายกันเพียงเล็กน้อย หรือเพียง 1 ใน 3 ตำแหน่งเท่านั้น ดังนั้น การที่สุนัขรับเชื้อไวรัสไปเพียงเล็กน้อยจึงเรียกว่า “การปนเปื้อน” ไม่ใช่ “การติดเชื้อ”
อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรนอนใจ ศ.นสพ.ดร.รุ่งโรจน์ เตือน
“ถ้าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือเป็นผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสควิด-19 นอกจากจะแยกตัวเองออกจากสมาชิกในครอบครัวแล้ว ยังต้องแยกตัวเองจากสัตว์เลี้ยงด้วย”
เราอาจจะไม่ได้แพร่เชื้อโควิด-19 ไปให้สัตว์เลี้ยงโดยตรง แต่สัตว์เลี้ยงอาจนำพาเชื้อไวรัสมาให้เราหรือคนอื่นๆ ได้อีกทอดหนึ่ง
“การพาสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงออกไปนอกบ้านในช่วงที่มีการระบาด ยังคงต้องมีความระมัดระวัง เพราะธรรมชาติของสุนัขชอบดม เลีย และเชื้อไวรัสสามารถมี ชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ เช่น ตามขนสัตว์เลี้ยง ยกตัวอย่าง หากมีใครทิ้งหน้ากากอนามัยไม่ถูกวิธีแล้วสุนัขไปดมหรือเลียหน้ากากอนามัยนั้นเข้า พอเราไปสัมผัสหรือกอดสุนัขก็อาจจะทำให้เชื้อนั้นกลับมาสู่เราได้”
นอกจากสัตว์เลี้ยงแล้ว เราอาจต้องระวังเรื่องการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงปศุสัตว์ด้วย เช่น หมู ไก่ วัว เป็นต้น
“แม้ปัจจุบัน เราจะยังไม่แน่ชัดว่า จะมีการระบาดจากคนสู่สัตว์ได้หรือไม่ แต่ก็ไม่ควรประมาท มิเช่นนั้น อาจเกิดการระบาดจากสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์กลับสู่คนซ้ำได้อีก” ศ.นสพ.ดร.รุ่งโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ วารสาร CU Around
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้