รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
ในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ในขณะนี้ นอกจากหน้ากากอนามัยแล้ว เจลแอลกอฮอล์เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ทำความสะอาดมือเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ซึ่งเป็นที่ต้องการของประชาชนเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมามีข่าวเจลแอลกอฮอล์ปลอมออกมาจำหน่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ และรองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงหลักการใช้เจลแอลกอฮอล์อย่างถูกต้องว่า ควรใช้เฉพาะเมื่อจำเป็นเพื่อทำความสะอาดมือในช่วงเวลาที่ไม่สามารถหาสบู่และน้ำเปล่าได้ วิธีที่ถูกต้องที่สุดคือการล้างมือและฟอกสบู่เป็นเวลา 20 วินาทีขึ้นไป
เจลแอลกอฮอล์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะต้องใช้เจลที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ 70% เพราะถ้าใช้สัดส่วนที่ต่ำกว่านั้นตัวแอลกอฮอล์จะระเหยเร็วเกินไป ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรค COVID-19 ได้ ตามที่มีกฎหมายใหม่ออกมา ส่วนผสมอื่นในเจลทำให้ตัวแอลกอฮอล์ระเหยได้ช้าลง สัมผัสกับผิวได้นานขึ้น และช่วยลดการระคายเคืองของแอลกอฮอล์ และคงความชุ่มชื้นต่อผิว
“ควรใช้เจลแอลกอฮอล์เฉพาะมือเท่านั้น ห้ามสัมผัสหรือเช็ดล้างบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น ใบหน้าและดวงตาโดยเด็ดขาด ไม่เปิดฝาทิ้งไว้ ไม่เก็บในที่มีแสงแดดส่องถึง ไม่เก็บไว้ในรถ เพราะจะทำให้แอลกอฮอล์ระเหยและเสื่อมสภาพ” ศ.ดร.ธีรยุทธ แนะนำการใช้งาน
สำหรับการสังเกตว่าเจลแอลกอฮอล์นั้นเป็นแอลกอฮอล์ปลอมหรือไม่ จะต้องตรวจสอบ อัตราส่วนของแอลกอฮอล์ที่ผสมในเจลล้างมือว่ามีสัดส่วนที่มากกว่า 70% หรือไม่ ซึ่งต้องส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจเท่านั้น สำหรับบุคคลทั่วไปให้ดูจากฉลากของผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ต้องตรวจสอบว่าเป็นการใช้แอลกอฮอล์ผิดชนิดหรือไม่ ช่วงนี้มีกระแสข่าวว่ามีการนำเมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งมีราคาถูกกว่ามาใช้แทนเอทิลแอลกอฮอล์ที่ใช้กันปกติในผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อทางการแพทย์ ซึ่งมีอันตรายต่อผู้ใช้
“แอลกอฮอล์ มีสารประกอบอินทรีย์ที่มีโมเลกุลคล้ายน้ำแต่มีส่วนผสมของคาร์บอนผสมเข้าไปด้วย ซึ่งเอทิลแอลกอฮอล์ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ และเมทิลแอลกอฮอล์มีจำนวนคาร์บอนที่ต่างกัน เอทิลแอลกอฮอล์ มีคาร์บอนสองตัว ไอโซโพรพิสแอลลกอฮอล์ มีคาร์บอนสามตัว สามารถใช้ฆ่าเชื้อได้เฉพาะภายนอกเท่านั้น ส่วนเมทิลแอลกอฮอล์มีคาร์บอนหนึ่งตัวซึ่งปกติใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ไม่นำมาใช้กับคนหรือฆ่าเชื้อโรคเนื่องจากมีความเป็นพิษสูง ถ้าโดนผิวหนังจะซึมเข้าสู่ร่างกาย เมื่อเมทิลแอลกอฮอล์เข้าไปในร่างกายจะสะสมความเป็นพิษโดยเปลี่ยนเป็นสารอื่นๆ ที่มีพิษ ทำให้ตับทำงานหนักเพื่อที่จะกำจัดสารเหล่านี้ หากรับประทานเข้าไปจะทำให้ตาบอดและอาจถึงตายได้
ศ.ดร.ธีรยุทธ กล่าวเพิ่มเติมถึงวิธีตรวจสอบแอลกอฮอล์ที่มีอยู่ว่าปลอมหรือไม่ ซึ่งภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นขึ้น โดยการนำแอลกอฮอล์ ผสมกับด่างทับทิม 1 เกล็ด และน้ำส้มสายชู 1 ช้อนชา ถ้าสีจางลงภายใน 15 นาที ก็จะเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถใช้ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าประชาชนยังมีข้อสงสัย ไม่แน่ใจ สามารถส่งมาที่ห้อง Lab ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อตรวจสอบได้ หรือสอบถามได้ที่ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาฯ www.strec.chula.ac.th ทั้งนี้เจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือมีจำหน่ายที่โอสถศาลา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2218-8428
สำหรับประชาคมจุฬาฯ ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ (SHECU) ให้บริการแจกเจลแอลกอฮอล์สำหรับหน่วยงานต่างๆ ภายในจุฬาฯ ที่มีความประสงค์จะขอรับเจลแอลกอฮอล์ขนาด 500 ml เพื่อนำไปใช้ภายในหน่วยงาน ตามความเหมาะสมของภารกิจที่จำเป็นต้องใช้ หน่วยงานละ 20 ขวด หากมีความต้องการมากกว่านั้น โปรดติดต่อ ดร.วรลักษณ์ มั่นสวัสดิ์ โทร. 08-1345-4868 สามารลงทะเบียนขอรับได้ที่ https://www.shecu.chula.ac.th/home/content.asp?Cnt=345
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้