ข่าวสารจุฬาฯ

สัตวแพทย์ จุฬาฯ แนะข่าว “โควิด-19 ในเสือโคร่ง” ควรตระหนัก แต่อย่าตระหนก ยังไม่พบหลักฐานการติดต่อจาก “สัตว์สู่คน”

จากรายงานข่าวที่มีการพบเชื้อโควิด-19 ในสัตว์หลายชนิดในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว และล่าสุด เสือโคร่ง จนก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์และปศุสัตว์  ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอดีตนายกสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย ได้อธิบายถึงข่าวดังกล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันการติดต่อจาก “สัตว์เลี้ยงสู่คน” ดังนั้นผู้ที่ใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงและ  ปศุสัตว์ จึงควร “ตระหนัก” ในการดูแลสัตว์เลี้ยงของตนให้ปลอดภัย แต่ไม่ควร “ตระหนก” กับข่าวที่เกิดขึ้น

“การตรวจพบเชื้อในเสือโคร่ง ซึ่งเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่แสดงอาการทางระบบหายใจในสวนสัตว์ที่เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกานั้น เป็นการติดเชื้อจากพนักงานดูแลสัตว์ ซึ่งมีผลเลือดเป็นบวกต่อเชื้อโควิด -19 โดยไม่แสดงอาการ ทำให้ยังคงปฏิบัติงานอยู่  หลังจากนั้นทางสวนสัตว์ได้ปิดทำการ โดยสัตว์ในกลุ่มนี้แสดงอาการทางระบบหายใจในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ถัดมา การตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในเสือโคร่ง  จึงอนุมานได้ว่าติดมาจากพนักงานดูแลสัตว์ที่ทำหน้าที่ให้อาหารและทำความสะอาดกรงเลี้ยงในช่วงเวลาก่อนหน้านี้” ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี อธิบายถึงที่มาของข่าวดังกล่าว

นอกจากนี้ ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลียังได้อธิบายเพิ่มเติมว่าข่าวการเกิดโรคโควิด-19 ในสัตว์เลี้ยง ที่สร้างความตื่นตระหนกในเวลานี้มาจากงานเขียนที่ถูกเผยแพร่ก่อนได้รับการพิจารณารับรองตามหลักวิชาการ (อ้างอิง 1) และงานวิจัยเรื่องการติดต่อของเชื้อไวรัสก่อโรค SARS ในแมวและตัวเฟอเร็ทที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ ปี 2003 (อ้างอิง 2) ซึ่งเป็นเพียงการศึกษาในห้องทดลองเท่านั้น ทางสมาคมสัตวแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Veterinary Medical Association) ได้ออกมาสรุปว่าข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดความสับสนและเกิดความตระหนกเกินไปในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งอาจนำไปสู่การปล่อยสัตว์เลี้ยงทิ้งในที่สาธารณะ จึงให้คำแนะนำว่าหากสัตว์เลี้ยงมีอาการทางระบบทางเดินหายใจร่วมกับระบบทางเดินอาหาร ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการหาสาเหตุของโรค และยังไม่มีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อในสัตว์เลี้ยงทุกตัว

สำหรับคนทั่วไปก็ยังคงเลี้ยงสัตว์ได้ แต่ต้อง “ตระหนัก” และเฝ้าระวังอย่างมีสติ การปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ การล้างมือบ่อย ๆ ก่อนและหลังสัมผัสสัตว์เลี้ยง เป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติอย่างยิ่งในเวลานี้  แต่สำหรับผู้ป่วยและคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนั้น นอกจากจะต้องกักตัวและหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคนแล้ว ยังควรอยู่ห่างไกลจากสัตว์เลี้ยงซึ่งเปรียบเสมือนสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลแมว” รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว

ที่มาของข้อมูล:

1. SARS-CoV-2 in animals, including pets. American Veterinary Medical Association (AVMA), https://www.avma.org/: updated on April 5, 2020.

2. Martina et al. 2003. SARS virus infection of cats and ferrets. Nature 425, 915.

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า