รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 เมษายน 2563
ภาพข่าว
เมื่อวันพุธที่ 15 เมษายน 2563 ณ ห้องประชุม 101 มูลนิธิชัยพัฒนา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา รับมอบ “หุ่นยนต์ปิ่นโต” และ “หุ่นยนต์กระจก” – ระบบสื่อสารทางไกล Telepresence จาก ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เพื่อส่งมอบแก่โรงพยาบาลทั้ง 73 แห่งในต่างจังหวัด
โอกาสนี้ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้สนับสนุนชุดตรวจคัดกรองโรค COVID-19 เบื้องต้นแบบรวดเร็ว “Chula COVID-19 Strip Test” เพื่อช่วยควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 จำนวน 5,000 ชุด แก่มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อส่งมอบแก่โรงพยาบาลที่ต้องการต่อไป
หลังจากพิธีส่งมอบนวัตกรรมดังกล่าว ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาได้ชมการสาธิตการทำงานของหุ่นยนต์ปิ่นโตและหุ่นยนต์กระจก และชุดตรวจคัดกรองโรค COVID-19 เบื้องต้นแบบรวดเร็ว “Chula COVID-19 Strip Test” โดยมี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล และ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี พร้อมด้วย รศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ผู้พัฒนานวัตกรรมร่วมในงานครั้งนี้ด้วย
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุมัติให้มูลนิธิชัยพัฒนา ใช้งบประมาณจาก “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ) จัดซื้อ “หุ่นยนต์ปิ่นโต” และ “หุ่นยนต์กระจก” – ระบบสื่อสารทางไกล เพื่อพระราชทานแก่โรงพยาบาล 73 แห่ง โดยหุ่นยนต์ทั้งสองชนิดเป็นนวัตกรรมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ป่วย ใช้งานง่ายและช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
หุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์ “CU-RoboCOVID” เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับบริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด และบริษัท โอโบดรอยส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพภายใต้การบ่มเพาะของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) เป็นโครงการพัฒนาหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์สู้ภัย COVID-19 ภายใต้แนวคิดหลักเพื่อ “อำนวยความสะดวก ลดความเสี่ยง เพิ่มประสิทธิภาพ” หุ่นยนต์ “ปิ่นโต” และ “กระจก” ระบบสื่อสารทางไกล Telepresence เป็นส่วนหนึ่งของ “CU-RoboCOVID” ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากคนไข้สู่บุคลากรทางการแพทย์ สร้างระบบเครือข่ายในการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วยให้เข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง ปัจจุบันได้มีส่งมอบหุ่นยนต์ให้โรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศนำไปใช้งานจริงกับผู้ป่วยโรค COVID-19
ในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานหุ่นยนต์ CU-RoboCOVID “ปิ่นโต” และ “กระจก” เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกในการรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ณ โรงพยาบาลน่าน จ.น่าน และโรงพยาบาลสันทราย จ.เชียงใหม่ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และกองทัพอากาศได้เร่งดำเนินการนำหุ่นยนต์ดังกล่าวไปติดตั้งที่โรงพยาบาลทั้งสองแห่งตามพระราชประสงค์
สำหรับชุดตรวจคัดกรองโรค COVID-19 เบื้องต้นแบบรวดเร็ว “Chula COVID-19 Strip Test” เป็นนวัตกรรมซึ่งพัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับทีมกลุ่มสตาร์ทอัพนิสิตเก่าจุฬาฯ และเครือข่ายพันธมิตร ภาครัฐและเอกชน จากผลงานวิจัยการผลิตโปรตีนด้วยพืชของ รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดยทีมสตาร์ทอัพที่บ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ(CU Innovation Hub) เป็นนวัตกรรมการตรวจคัดกรองโรค COVID-19 ที่อาศัยหลักการทางภูมิคุ้มกันร่างกาย (Serology test) ซึ่งเป็นการตรวจหาแอนติบอดี (IgG & IgM) ในเลือด ซีรัม หรือพลาสมาของผู้ป่วย โดยใช้ชุดตรวจคัดกรอง BAIYA RAPID COVID-19 IgM/IgG test kit ที่สามารถตรวจได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่ใช้ตัวอย่างเลือดที่ปลายนิ้ว และใช้เวลาอ่านผลไม่เกิน 10 นาที ใช้ทดสอบการสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อการติดเชื้อของผู้ป่วย หากมีการสร้างภูมิคุ้มกันก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะมีการติดเชื้อ เพื่อที่จะแยกและสกัดการแพร่กระจายของการติดเชื้อในวงกว้างได้ ชุดตรวจคัดกรองนี้จะช่วยคัดกรองเบื้องต้นจากการตรวจคัดกรองแบบมาตรฐานคือ Real-time PCR ซึ่งต้องใช้เวลานานในการรอผล และมีราคาสูง
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้