ข่าวสารจุฬาฯ

วิศวฯ จุฬาฯ ตรวจสอบและฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัยเพื่อใช้ซ้ำ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในขณะนี้  “หน้ากากอนามัย” มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคน รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องใกล้ชิดกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หน้ากากอนามัยจึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก ส่งผลให้ประสบปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัย นำไปสู่การนำหน้ากากผ้ามาซักทำความสะอาดเพื่อใช้ซ้ำ ซึ่งไม่มีมาตรฐานรองรับความปลอดภัยจากการทำความสะอาดหน้ากากอนามัยด้วยวิธีดังกล่าว

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  ร่วมกับอาจารย์และนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี   ราชมงคลล้านนา โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี บริษัท รีเทล บิซีเนส โซลูชั่นส์ จำกัด และกลุ่ม SOS เพื่อตรวจสอบคุณภาพและฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อย่างปลอดภัย

รศ.ดร.บุญรัตน์ โล่วงศ์วัฒน ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  ได้ศึกษาเรื่อง “การยับยั้งเชื้อไวรัส  COVID-19บนหน้ากากอนามัยด้วยตู้ฉายภายใต้หลอดรังสีอัลตราไวโอเลต (UVC)” ว่า หลอดไฟ UVC ที่ใช้ทำการทดสอบอยู่ในคลื่นความถี่ประมาณ 254 นาโนเมตร มีความสามารถในการฆ่าเชื้อหรือยับยั้งไวรัสไม่ให้เติบโตอีกต่อไป ซึ่งสามารถทำได้จริง แต่มีประเด็นเรื่องความเข้มของแสงที่จะต้องมากพอ ปัจจัยเรื่องการตกกระทบของแสงมีผลต่อการฆ่าเชื้อบนหน้ากากอนามัยโดยตรง ถ้าหน้ากากอนามัยไม่มีการจัดวางที่ดีภายในตู้อบ อาจทำให้เกิดเงา ส่งผลให้ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้อย่างทั่วถึง หรือระยะทางระหว่างหน้ากากกับหลอดไฟมีระยะห่างเกินไปก็ลดประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อได้เช่นกัน รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ซึ่งมีผลในการทดสอบ เช่น ความหนาของหน้ากากอนามัย วัสดุที่ใช้ทำหน้ากาก ฯลฯ

 

“ในการทดสอบเพื่อหาค่ากลางที่ทำให้รู้ว่าเราต้องใช้หลอดไฟกี่วัตต์จึงจะส่งพลังงานไปถึงหน้ากาก หลอดที่ใช้จึงจำเป็นต้องมีความถี่สูงมาก ซึ่งหลอด UVC เป็นคลื่นความถี่ที่สายตาเรามองไม่เห็นและเป็นอันตรายต่อผู้ใช้เนื่องจากมีส่วนผสมของสารปรอท โดยค่าพลังงานส่วนใหญ่จะลดลงไป 1 ใน 3 ของการใช้งานจริง เช่น ถ้าซื้อหลอดไฟ UVC ขนาด 15 วัตต์ พลังงานที่ได้จะอยู่ที่ 4 วัตต์ ยิ่งวัตถุอยู่ไกลหลอดไฟ พลังงานก็ยิ่งลด เราจึงต้องนำหน้ากากไปวางไว้ใกล้ๆ หลอด UVC” รศ.ดร.บุญรัตน์ อธิบาย

ผลการทดสอบสรุปได้ว่า หลอดไฟกับหน้ากากควรวางห่างกัน 5-7 ซม. และไม่เกิน 10 ซม. การฆ่าเชื้อบนหน้ากากอนามัยในตู้ UVC ควรใช้เวลา 15 นาทีเป็นอย่างต่ำ สามารถฆ่าเชื้อบนหน้ากากชิ้นเดิมได้ทั้งหมด 8 ครั้ง ซึ่งหลอด UVC ที่ใช้ควรมีกำลังไฟ 15 วัตต์ขึ้นไป รวมถึงการจัดวางหน้ากากในตู้สำหรับหลอด UVC 1 หลอด สามารถเรียงหน้ากากห่างกันได้ 1 แถว

 

นอกจากการทำวิจัยเรื่องการหาค่าความเหมาะสมในการใช้ UVC เพื่อนำหน้ากากอนามัยกลับมาใช้ใหม่สำหรับบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังมีเรื่องของการตรวจสอบคุณภาพเส้นใยของหน้ากากอนามัยด้วย  รศ.ดร.บุญรัตน์ กล่าวว่าได้มีการทดสอบผลจากการอบหน้ากากต่อประสิทธิภาพการกรอง โดยนำหน้ากากมาตรวจคุณภาพของเส้นใยหลังอบเพื่อศึกษาว่าเราสามารถอบซ้ำสูงสุดได้กี่ครั้ง ซึ่งพบว่าหน้ากากมีความหนาอย่างน้อย 3-4 ชั้น และมี Finger Print (ลายเส้นใยเฉพาะ) ของหน้ากาก ซึ่งแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะมีลักษณะเส้นใยที่ต่างกัน เราสามารถนำตัวอย่างเหล่านี้มาเก็บเป็นฐานข้อมูล เมื่อมีหน้ากากล็อตใหม่ส่งมาก็สามารถวิเคราะห์ควบคู่กันได้ โดยการใช้เส้นใยเพื่อตรวจสอบได้ว่ามีคุณภาพเหมือนเดิมหรือเป็นของแท้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อศึกษาการอบหน้ากากอนามัยให้สามารถนำไปใช้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานที่ได้ศึกษาจริง

รศ.ดร.บุญรัตน์ได้ฝากข้อควรระวังในการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบของหลอด UVC ว่า “ UVC มีผลต่อผิวหนังทำให้เกิดอาการไหม้และเป็นมะเร็งผิวหนังได้ จึงไม่ควรให้หลอด UVC ใกล้กับผิวหนังของเราโดยตรง แสงสีม่วงที่เห็นอาจอยู่ในย่านความถี่อื่น เช่น UVA, UVB ซึ่งมีความสามารถในการฆ่าเชื้อไม่เท่ากัน ควรดูให้ดีว่าเป็น UVC จริงหรือไม่ด้วยวิธีการสังเกตง่ายๆ คือ หลอด UVC ที่ไม่แพงจะใช้สารปรอทเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นสารพิษที่มีอันตรายต่อสุขภาพ มีการประทับตราที่หลอดตามที่กฎหมายทั่วโลกบังคับไว้ เพื่อแสดงให้ผู้ใช้ทราบว่ามีสารปรอท โดยมีสัญลักษณ์ทางเคมี “Hg” แสดงอยู่บนหลอด โดยหลอด UVC ที่ใช้ฆ่าเชื้อได้อยู่ที่ 15 วัตต์ขึ้นไป”

 

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า