รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผลิต “เครื่อง Ultra We: กล่องห่วงใย ไร้เชื้อด้วยยูวี” ส่งมอบให้โรงพยาบาลสำหรับใช้ฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 และเชื้อโรคต่างๆ บนอุปกรณ์และเครื่องมือของบุคลากรทางการแพทย์ โดยนำร่องมอบให้โรงพยาบาลราชวิถีเป็นแห่งแรก
เครื่อง Ultra We: กล่องห่วงใย ไร้เชื้อด้วยยูวี มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคบนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น หน้ากากอนามัย เครื่องมือเครื่องใช้ส่วนตัว ฯลฯ รูปทรงของเครื่อง Ultra We เป็นกระติกขนาดความจุ 20 ลิตร พร้อมหูหิ้ว พกพาได้สะดวก ภายในกล่องมีหลอดกำเนิดรังสี UVC ที่ผ่านการทดสอบแล้ว ให้ความเข้มรังสี 26 ไมโครวัตต์ต่อตารางเซนติเมตรจำนวน 2 หลอด ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคชนิดต่างๆ รวมทั้งเชื้อไวรัสได้ โดยใช้ระยะเวลา 30 นาที ส่วนด้านนอกมีสวิตช์เปิดปิดและนาฬิกาตั้งเวลาทำงานได้สูงสุด 90 นาที พร้อมระบบความปลอดภัยที่ควบคุมให้เครื่องทำงานเมื่อฝากล่องปิดสนิทแล้วเท่านั้น โดยได้รับการรับรองประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวด้วยรังสียูวี ตามมาตรฐาน AS 1807.23–2000 จากบริษัท เมกกะฟิล จำกัด
PETROMAT ซึ่งมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแกนนำ ได้ร่วมกับ ผศ.ดร.เมธี สายศรีหยุด และ ผศ.ดร.ชลิดา เนียมนุ้ย ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมด้วยมหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการผลิต Ultra We: กล่องห่วงใย ไร้เชื้อด้วยยูวี ทั้งนี้ รศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี ปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ส่งมอบเครื่องมือดังกล่าวแก่ ผศ.นพ.สุเพชร ทุ้ยแป ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี และคณะฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อขอบคุณในความทุ่มเทและความเสียสละของบุคลากรด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นตัวอย่างของการนำความรู้จากต่างสาขาวิชามาร่วมกันพัฒนาเป็นนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในขณะนี้
ทั้งนี้โรงพยาบาลที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) โทร.08-5366-8935 Email: Rittidej.V@chula.ac.th
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้