รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 เมษายน 2563
การเตรียม “ปอด” ให้แข็งแรงในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคนี้ รวมถึงกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดทำคลิปบริหารปอดแบบง่ายๆ ทำตามได้แม้อยู่ในช่วง กักตัวที่บ้านเพื่อฟื้นฟูปอดสู้ภัย COVID-19
“เนื่องจากเชื้อโรคตัวนี้แพร่กระจายได้ง่ายมาก ทางฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟูจึงได้จัดทำวิดีโอสาธิตวิธีการฟื้นฟูปอด ฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน และเชิญชวนให้มาออกกำลังกาย ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อและแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงหรือผู้ป่วยติดเชื้อแต่ไม่มีอาการก็สามารถออกกำลังหรือฟื้นฟูกายภาพได้ตามคลิปวิดีโอ ซึ่งมีความปลอดภัย แต่เมื่อใดก็ตามที่ทำกายภาพแล้วรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ เจ็บแน่นหน้าอก เวียนหัว หน้ามืด จะเป็นลม หรือมีอาการผิดปกติก็ให้รีบมาโรงพยาบาล อย่าชะล่าใจ” อ.พญ.ฑิมภ์พร วิทูรพงศ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แนะนำ
คลิปวีดีโอฟื้นฟูปอดมี 3 ตอน โดยเรียงลำดับจากการหายใจง่ายๆ จนถึงการออกกำลังกายทั้งตัวเพื่อกระตุ้นให้ปอดทำงานสร้างภูมิคุ้มกัน โดยมีการแบ่งระดับจากผู้ป่วยหลังการพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการ และประชาชนทั่วไปที่กักตัวอยู่ที่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการฝึกระบายเสมหะที่ถูกต้อง ช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้การหายใจดีขึ้น
“สำหรับผู้ป่วย COVID-19 จำเป็นต้องฟื้นฟูปอดเนื่องจากเนื้อปอดถูกทำลายทำให้การหายใจไม่ดีเหมือนปกติ วิธีฟื้นฟูปอดโดยการหายใจให้ถูกต้องจะทำให้การหายใจดีขึ้น สำหรับคนไข้ที่มีเสมหะก็มีการสอนวิธีขับเสมหะที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถขับเสมหะได้ดีขึ้น บางทีการไอไม่แรงพอก็ไม่สามารถขับเสมหะได้ หากมาพบนักกายภาพบำบัดอาจจะมีเทคนิคอื่นๆ อีก การทำตามคลิปวิดีโอเป็นวิธีการปฏิบัติอย่างง่ายและเป็นวิธีเบื้องต้นที่จะช่วยบรรเทาอาการได้” ผศ.พญ.สริสสา แรงกล้า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริม
เชื้อไวรัส COVID-19 สามารถติดต่อได้ในระบบทางเดินหายใจจากการสูดละอองไอ-จามของผู้ติดเชื้อ รวมทั้งการสัมผัสและการใกล้ชิดผู้ป่วย เชื้อโรคที่เข้าไปสู่ปอดจะทำลายเนื้อปอด ส่งผลต่อการหายใจของผู้ติดเชื้อทำให้หายใจหอบถี่ เหนื่อยง่าย ซึ่งความเสียหายของปอดขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงในการติดเชื้อของแต่ละคน อีกทั้งมีหลายปัจจัยที่ทำให้อาการแย่ลง เช่น สายพันธุ์ของเชื้อไวรัส โรคประจำตัว และสภาพร่างกายของผู้ติดเชื้อ ซึ่งไม่สามารถระบุได้ด้วยการสังเกตว่าอาการมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด แต่สามารถตรวจได้จากการ X-ray หรือการทำ CT Scan เพื่อดูระดับความรุนแรงที่เกิดจากการทำลายของเชื้อไวรัส ทั้งในกลุ่มที่ไม่แสดงอาการ รวมถึงกลุ่มที่มีความรุนแรงสูง
สามารถติดตามคลิปการฟื้นฟูปอดจากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทั้ง 3 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ให้ลองฝึกหายใจเพื่อช่วยขยายปอด สู้โควิด19
https://youtu.be/9qWEiO38fDA
ตอนที่ 2 ให้ลองออกท่าบริหารเพื่อฟื้นฟูร่างกาย สู้โควิด19
https://youtu.be/t3BH1HH2_Yo
ตอนที่ 3 ให้ลองกระตุ้นภูมิสู้โควิด19 ด้วยการออกกำลังกายแบบ Aerobic Exercise https://youtu.be/D8B8SGm5-Xo
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้