รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยในปัจจุบันดูเหมือนจะคลี่คลายในระดับหนึ่ง อ้างอิงจากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศที่มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง มาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐออกมาคุมเข้ม ดูเหมือนจะใช้ได้ผลจริง แม้ว่าจะต้องแลกมาด้วยการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง
แต่คำถามหนึ่งที่คนไทยหลายคนคงมีอยู่ในใจตอนนี้คือ หากเปิดเมืองแล้วจะเป็นอย่างไร รัฐจะมีมาตรการอะไรออกมาเพื่อทำให้ประชาชนมั่นใจว่าโควิด-19 จะไม่กลับมาระบาดอีกครั้ง เราจะทำอย่างไรไม่ให้เรา “การ์ดตก” ตามคำเปรียบเปรยของ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ทั้งในด้านจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 และด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศ
คณาจารย์จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ ได้ศึกษาในเรื่องนี้โดยอาศัยข้อมูลของ O*NET หรือฐานข้อมูลที่ถูกจัดทำขึ้นจากการสนับสนุนของกระทรวงแรงงานประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทำการสำรวจลักษณะและรูปแบบการทำงานของอาชีพต่างๆ มากกว่า 900 อาชีพ โดยอาศัยสมมุติฐานที่ว่าโดยรวมแล้วการทำงานประเภทเดียวกันในประเทศต่างๆ จะมีลักษณะและรูปแบบการทำงานที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังพบว่ามีอาชีพจำนวนไม่น้อยที่การประยุกต์ใช้แนวคิดการเว้นระยะห่างทางสังคมในการทำงานอาจจะเป็นเรื่องยาก
อาชีพต่างๆ มีความจำเป็นในการเว้นระยะห่างทางสังคมที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ลักษณะกลุ่มอาชีพ บางอาชีพเป็นงานที่ต้องทำเป็นทีมและใช้การสื่อสารแบบซึ่งหน้าเป็นหลัก อาชีพเหล่านี้ก็จะเป็นอาชีพที่การเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นไปได้ยากกว่าโดยธรรมชาติของงานเอง ดังนั้นในการพิจารณาที่จะเปิดเมืองเพื่อที่จะนำไปสู่การเดินต่อของภาคธุรกิจ และเป็นการควบคุมการระบาดของ โควิด-19 ด้วยนั้น การคำนึงถึงลักษณะของอาชีพและความจำเป็นในการทำงานใกล้ชิดกับผู้อื่นมาเป็นส่วนประกอบในการวางนโยบายและมาตรการต่างๆในการเปิดเมือง อาจจะส่งผลไม่มากก็น้อยต่อการบริหารจัดการคลื่นลูกที่สองของการระบาดของโควิด-19 และการขับเคลื่อนของภาคธุรกิจต่อไป
คณาจารย์ศศินทร์ได้นำเสนอตัวอย่างนโยบายตามลักษณะกลุ่มอาชีพที่สามารถนำไปเป็นกรอบกำหนดนโยบายดังนี้
สรุปประเด็นสำคัญสองประการจากการศึกษาข้อมูล O*NET ที่ทางคณาจารย์ศศินทร์นำเสนอมีดังนี้
– มาตรการช่วยเหลือ: การเปิดเมืองคือการลดการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งถ้าหากรัฐให้ทุกอาชีพกลับไปทำงานตามปกติพร้อมๆกัน แม้ว่าจะมีการรณรงค์เรื่องสุขอนามัยก็ตาม อาชีพที่ยากในการเว้นระยะห่างทางสังคมก็จะมีความเสี่ยงสูงและอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นลูกที่สองของการระบาดของโควิด-19 ได้ อาชีพกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลในเชิงนโยบายเป็นกรณีพิเศษ อาทิ รัฐอาจจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาช่วยเหลือคนในอาชีพเหล่านี้ให้ปรับตัวและทำงานโดยให้มีระยะห่างทางสังคมให้มากที่สุด อาจจะมีมาตรการที่เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีการสื่อสาร อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคแพร่ระบาดที่เฉพาะสำหรับงานในอาชีพกลุ่มนี้ หรือการให้น้ำหนักกับการตรวจโควิด-19 ในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้อื่นสูงก่อน เช่น ทันตแพทย์
– มาตรการเยียวยา: หากรัฐเปิดเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาทิ ค่อยๆ ทยอยเปิดในบางจังหวัดที่มีความเสี่ยงน้อยก่อน และอาจจะไม่ให้ทุกอาชีพกลับไปทำงานตามปกติพร้อมๆกัน รัฐจำเป็นจะต้องมีการเยียวยาคนกลุ่มที่ยังไม่สามารถกลับไปทำงานได้อย่างเหมาะสม เพราะคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากเท่าไหร่ ก็จะต้อง“ดิ้นรน” เพื่อเอาชีวิตรอดจากพิษเศรษฐกิจมากขึ้นเท่านั้น จนอาจเกิดปัญหา เช่น ต้องเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัดเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้านในเมือง แอบทำงานถ้าหากรัฐให้คนในอาชีพเหล่านี้หยุดงานต่อ หรือกลายไปเป็นมิจฉาชีพ
ดังนั้นการเปิดเมือง รัฐจะต้องทำอย่างเป็นระบบเพื่อที่จะนำสังคมกลับไปสู่การปลอดเชื้อโควิด-19 หรืออย่างน้อย ต้องสามารถควบคุมการแพร่และการติดเชื้อโควิด-19 ในระดับที่ระบบสาธารณสุขของไทยสามารถบริหารจัดการได้ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและความเสี่ยงของประชาชนในการติดเชื้อโควิด-19 ควบคู่กันไป
ผู้สนใจสามารถติดตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.sasin.edu/content/insights/unlock_model_covid-19-social-distancing-and-the-new-normal
อ้างอิง:Koren, M. &Peto, R. (2020), “Business disruptions from social distancing”, Covid Economics, Issue 2, 8 April 2020.
บทความโดย ผศ.ดร.สบิณฑ์ ศรีวรรณบูรณ์, ผศ.ดร.ภัทเรก ศรโชติ, รศ.ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส, ผศ.ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์, ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน คณาจารย์สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management)
นิสิต BBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน Alberta International Business Competition 2024 ที่แคนาดา
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันแผนการตลาดระดับอุดมศึกษา J-MAT AWARD ครั้งที่ 33
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้