รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
ทุกวันนี้คนไทยจำนวนมากหลงใหลอาหารรสจัด โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเค็ม เช่น ขนมกรุปกรอบที่มากับรสชาติแปลกใหม่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหลากรส น้ำซุปและน้ำจิ้มเข้มข้นในเมนูชาบูและหมูกระทะ พฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มในชีวิตประจำวันจะส่งผลทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา
รสเค็มในอาหารมาจากเกลือ หรือที่เรียกว่า “โซเดียม” ซึ่งเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ช่วยรักษาความสมดุลของน้ำในร่างกายและความดันโลหิต ในหนึ่งวัน ร่างกายของคนเราต้องการโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับน้ำปลา 2 ช้อนชา เกลือ 1 ช้อนชาเท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่าคนไทยบริโภคโซเดียมเกินความจำเป็นต่อร่างกายถึง 2 เท่า
รศ.นพ.ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “โซเดียมมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มการบริโภคโซเดียมมากเกินไปในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจมาจากความชอบกินอาหารเค็ม หรือจากความไม่รู้ว่าอาหารประเภทนั้นๆ มีโซเดียมแฝงอยู่ การกินเค็มมากเกินไปเป็นระยะเวลานานส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไตเรื้อรัง เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียและน้ำออกนอกร่างกาย ดังนั้นเมื่อมีโซเดียมในร่างกายสูง ไตก็จะทำงานหนัก และเสื่อมเร็วขึ้น จากสถิติที่ผ่านมาคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังถึง 17.5% หรือประมาณ 8 ล้านคนต่อประชากรของประเทศ และประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยฟอกไตสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่งผลให้ต้องสูญเสียเงินไปกับผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตระยะสุดท้ายประมาณ 8.5 พันล้านบาทต่อปี
“ขอให้เราตระหนักถึงโทษในการบริโภคโซเดียมที่เกินความจำเป็นอยู่เสมอ หากไม่อยากป่วยด้วยโรคที่มากับความเค็ม สิ่งที่ดีที่สุดคือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมติดเค็มของเรา” รศ.นพ.ณัฐชัย กล่าวแนะนำ
การทานเค็มก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ดังนี้ 1.ความดันโลหิตสูงขึ้น 2.การดำเนินของโรคไตเรื้อรังเร็วมากขึ้น 3.โรคหัวใจ 4.เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
วิธีเลี่ยงโซเดียมเกินจำเป็น 1.ปรุงอาหารกินเองที่บ้าน 2.หลีกเลี่ยงการกินน้ำซุป หรือกินน้อยลง เพราะน้ำซุปมีปริมาณโซเดียมสูงมากจากเครื่องปรุงรสหรือซุปก้อน 3.หลีกเลียงการกินอาหารรสจัดด้วยการหันมากินอาหารรสจืดแทน 4.ชิมก่อนปรุง และไม่เพิ่มรสชาติอาหารด้วยการเติมเครื่องปรุงรสทุกอย่าง รวมถึงน้ำจิ้ม หรือซอสต่างๆ 5.ลดการกินอาหารแปรรูป เพราะในอาหารประเภทนี้มีปริมาณโซเดียมเพิ่มขึ้นหลายเท่าเพื่อยืดอายุในการเก็บรักษาอาหาร 6.อ่านสลากโภชนาการทุกครั้ง เพื่อดูปริมาณโซเดียมของอาหารในแต่ละประเภท
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้