รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 พฤษภาคม 2563
ข่าวเด่น
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) หนึ่งในศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง เสนอแนวคิดการออกแบบพื้นที่แหล่งอาหารของเมือง รองรับมาตรการผ่อนปรนของภาครัฐในกลุ่มกิจการด้านอาหาร ในฐานะองค์ประกอบพื้นฐานในการดำรงชีพของคน ทุกกลุ่ม และเป็นกิจกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของเมือง โดย ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง นำทีมสถาปนิกผังเมืองและนักวิจัยเมือง ดำเนินการออกแบบพื้นที่แหล่งอาหารของเมือง หลังรัฐบาลโดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. มีมติเห็นชอบมาตรการผ่อนปรนกิจการบางประเภท รวมทั้งกิจการตลาดและร้านจำหน่ายอาหารใช้ความรู้และประสบการณ์ด้านการวางผังออกแบบเมือง ดำเนินการออกแบบพื้นที่แหล่งอาหารของเมือง ภายใต้กระบวนการร่วมหารือกับผู้ประกอบกิจการด้านอาหารหลายรูปแบบ มุ่งหวังช่วยบรรเทาผลกระทบในกลุ่มผู้ประกอบกิจการอาหาร ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย และแรงงานนอกระบบ ตลอดจนเสริมสร้างสุขอนามัยของเมืองท่ามกลางวิกฤตโควิด-19
แนวคิดการออกแบบพื้นที่แหล่งอาหารดังกล่าว เป็นไปตามมาตรฐานของ ศบค. และกรุงเทพมหานคร ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสาธารณสุข สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งหัวใจสำคัญของการออกแบบวางผังจำเป็นต้องยึดมาตรการทางสาธารณสุขและมาตรการของรัฐ พร้อมกับคำนึงถึงความหนาแน่น (density) การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (social distancing) การวางระบบโซน (zoning) ระบบการหมุนเวียนภายในร้าน (circulation) ระบบถ่ายเทอากาศ (ventilation) และการลดการสัมผัส (contactless) เพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยจำแนกตามพื้นที่ 4 รูปแบบ ได้แก่ ตลาดอาหาร ศูนย์อาหาร ร้านค้าขนาดเล็กภายในอาคารแถว และร้านค้าแผงลอย ซึ่งมีพื้นฐานทางกายภาพและการจัดการที่แตกต่างกันออกไป พร้อมข้อเสนอเพิ่มเติมในการส่งเสริมระบบในการบริหารจัดการที่ดีที่ช่วยลดการสัมผัสอันก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด
ผู้สนใจสามารถศึกษาแนวคิดการออกแบบพื้นที่แหล่งอาหารของเมืองเพิ่มเติมได้ในบทความ “FOOD PLACE : Please mind the gap between you and me ร้านอาหาร : พื้นที่ระหว่างเรา ที่อาจจะเปลี่ยนไป” ทางเว็บไซต์ The Urbanis by UDDC : https://theurbanis.com/public-realm/29/04/2020/1227
นิทรรศการ “ปฐมกาล ผ่านสายตาสยามและเปอร์เซีย” ณ พิพิธภัณฑ์จุฬาฯ เล่าตำนานจากการตีความผ่านภาพวาดของสองศิลปินจากประเทศไทยและอิหร่าน
ศศินทร์จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ EFMD Social Impact 2025
“จุฬาลงกรณ์ x โนโว นอร์ดิสค์” ยกระดับการจัดการโรคอ้วนด้วยนวัตกรรม
จุฬาฯ จัดงานแสดงความยินดีบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้จุฬาฯ ประจำปี 2567
จุฬาฯ จัดงาน “สงกรานต์รวมใจ วิถีไทย จุฬาฯ สืบสานประเพณี”
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ระบบทวิภาค
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้