ข่าวสารจุฬาฯ

Agile University มหาวิทยาลัยปรับตัวในยุคเกินคาดการณ์

ในยุคที่การศึกษาระดับอุดมศึกษาเผชิญความท้าทาย การเปลี่ยนแปลงที่เกินคาดการณ์เข้ามากระทบและทำให้รูปแบบของมหาวิทยาลัยทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป ทั้งการดำเนินภารกิจหลักและการบริหารจัดการภายในองค์กร ซึ่งแน่นอนว่าหลายสิ่งที่เปลี่ยนไปแล้วเหล่านั้นจะเป็นความปกติใหม่ (New normal)

ศูนย์บริหารความเสี่ยง จุฬาฯ นำเสนอบทความ “มหาวิทยาลัยปรับตัวในยุคเกินคาดการณ์ รวมไปถึงการระบาดของไวรัส   COVID-19” เพื่อรองรับการดำเนินพันธกิจและการทำงานของมหาวิทยาลัยที่จำเป็นต้องรวดเร็วและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น  ดังหลักการที่เรียกว่า “Agile” ซึ่งในยุคที่มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องยึดหลักสำคัญ 4 ประการ คือ

1 สร้างความเชื่อมั่นในทีมงานและปฏิสัมพันธ์ (Individuals and Interactions) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้ความเชื่อมั่น (Trust) แก่ทีมงานและบุคลากรในองค์กร และจำเป็นต้องมอบอำนาจในการตัดสินใจแก่ทีมมากยิ่งขึ้น ลดลำดับขั้นตอนการทำงานลงและเครื่องมือตามระเบียบ

2 ร่วมมือกับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Customer & Stakeholder Collaboration) การพัฒนาผลลัพธ์ใหม่ของมหาวิทยาลัยต้องเกิดจากความเข้าใจความต้องการและปัญหาที่ลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพบ อาทิ นิสิตนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่า ผู้ประกอบการ ผู้สนับสนุนทุนวิจัย พันธมิตรหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ในอดีตอาจไม่เพียงพอต่อการณ์สร้างผลผลิตที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

3 ให้ความสำคัญกับผลงานที่นำไปใช้งานได้จริง (Working Works) รูปแบบทำงานของมหาวิทยาลัยต้องไม่เน้นเพียงแค่การดูเอกสารหรือข้อมูลอ้างอิงที่สมบูรณ์แบบเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาถึงตัวอย่างผลงาน (Demo) ที่เป็นสิ่งการันตีของทีมงานว่าจะสามารถดำเนินงานนั้นๆให้เกิดขึ้นจริงได้

4 ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง (Responding to Changes) การวางแผนระยะยาวเกินไปมีความเสี่ยงต่อมหาวิทยาลัยเมื่อเวลาและสถานการณ์เปลี่ยนไป หากพบว่าลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเปลี่ยนแปลงความต้องการไป มหาวิทยาลัยควรปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ก้าวทันและเพิ่มคุณค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง/ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบและทำตามแผนงานเดิมที่กำหนดไว้

การที่มหาวิทยาลัยนำหลักการของ Agile มาใช้ในการสร้างคุณค่า พัฒนาประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพของมหาวิทยาลัยทั้งภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยนั้น ก็เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ทำตามแผนปฏิบัติการอีกต่อไป ติดตามอ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่ http://www.urm.chula.ac.th/agileuniversity/

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า