ข่าวสารจุฬาฯ

“เครื่องช่วยหายใจของภาคธุรกิจในภาวะวิกฤตโควิด-19” จากผลงานวิจัยของอาจารย์ศศินทร์ จุฬาฯ

การระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 เป็นต้นมา เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างหนัก ธุรกิจจำนวนมากมีโอกาสสูงที่จะประสบปัญหาทางการเงิน คณาจารย์จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาฯ ได้นำเสนอบทความเรื่อง “เครื่องช่วยหายใจของภาคธุรกิจในภาวะวิกฤตโควิด-19” เพื่อเสนอมุมมองและแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการล้มละลายและการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งอาจจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ซ้ำเติมและฉุดระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ หากกระบวนการนี้มิได้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

เมื่อพูดถึงคำว่า “ล้มละลาย” หลายคนมักจะนึกถึงกระบวนการจำหน่ายและการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ (liquidation) เพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม อีกกระบวนการหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ก่อนกระบวนการ liquidation และมีความสำคัญอย่างมากในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ก็คือกระบวนการฟื้นฟูกิจการ (reorganization) พระราชบัญญัติสำคัญฉบับหนึ่งที่ออกมาเพื่อช่วยลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคลในรูปแบบของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัดที่มีหนี้สินจำนวนมากคือ พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 หรือที่เรียกกันว่า Chapter 11 (ตามกฎหมายล้มละลายของประเทศสหรัฐอเมริกา) ซึ่งเป็นกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวแต่อยู่ในสภาวะที่สามารถฟื้นฟูได้ จะได้รับการพักชำระหนี้ (automatic stay) ในทันที และอาจจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อให้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการได้ พระราชบัญญัติฉบับนี้มีความสำคัญมากเพราะก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติฉบับนี้ ลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ต้องเลิกกิจการและไม่มีกระบวนการฟื้นฟูกิจการแต่อย่างใด

จากผลงานวิจัยของ รศ.ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ฯ หนึ่งในคณะผู้เขียนบทความ ได้ศึกษากระบวนการล้มละลายและกระบวนการฟื้นฟูกิจการ โดยได้เก็บข้อมูลของบริษัทในประเทศไทยที่ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหลังวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 คณะผู้วิจัยพบว่ากระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการที่สำคัญมากในการช่วยฟื้นฟูภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจในภาวะวิกฤต เพราะหากทุกบริษัทที่ประสบปัญหาทางการเงินในภาวะวิกฤตจะต้องจำหน่ายและแบ่งทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้และถูกฟ้องล้มละลายโดยทันที กระบวนการแบบนี้จะเป็นการฉุดภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจให้ลงเหวที่ลึกไปกว่าเดิม ในมุมหนึ่ง เราอาจจะกล่าวได้ว่าพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 หรือ Chapter 11 นั้นเปรียบเสมือนการให้ “เครื่องช่วยหายใจ” แก่บริษัทที่ประสบปัญหาทางการเงินในภาวะวิกฤต แต่ยังมีศักยภาพทางธุรกิจและสามารถจ่ายหนี้คืนได้ในอนาคต

ปัญหาหลักๆที่ทำให้กระบวนการฟื้นฟูกิจการไม่มีประสิทธิภาพ คือความล่าช้าในการบรรลุข้อตกลงในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ เพราะลูกหนี้และเจ้าหนี้ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ของบริษัทเลวร้ายไปกว่าเดิม ดังนั้นการบรรลุข้อตกลงในกระบวนการฟื้นฟูกิจการควรเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพ “หายใจต่อ” อย่างทันท่วงที

ผู้สนใจอ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่ https://sasin.edu/content/news/company-survival-in-the-covid-19-crisis?utm_source=Chula&utm_medium=website&utm_campaign=article

 

 

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า