ข่าวสารจุฬาฯ

หุ่นเต้านมจำลองสำหรับใช้ฝึกตรวจมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นด้วยตนเอง นวัตกรรมจากอาจารย์คณะวิศวฯ จุฬาฯ

อาจารย์วิศวฯ จุฬาฯ พัฒนาหุ่นเต้านมจำลองสำหรับสตรีใช้ฝึกตรวจมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นด้วยตนเอง ราคาถูก มีประสิทธิภาพ ทดแทนหุ่นอาจารย์ใหญ่ที่กำลังขาดแคลน ส่งมอบให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

ศ.ดร.ศราวุธ ริมดุสิต ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะหัวหน้าโครงการผลิตชิ้นงาน “หุ่นเต้านมจำลองสำหรับใช้ฝึกตรวจมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นด้วยตนเอง” เปิดเผยถึงที่มาโครงการนี้ว่าเนื่องจากปัจจุบันหุ่นอาจารย์ใหญ่ที่ใช้ในการตรวจมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นมีความขาดแคลน โดยได้รับการติดต่อจากอาจารย์คณะแพทยศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์ที่ต้องการใช้หุ่นเต้านมจำลองแทนหุ่นของอาจารย์ใหญ่หรือร่างกายของมนุษย์ที่ได้รับบริจาคก่อนที่จะเสียชีวิตซึ่งมีจำนวนน้อยลง นอกจากนี้หุ่นเต้านมจำลองที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูง จึงได้มีการตั้งเป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยจุฬาฯ (Research Unit) เรียกว่าหน่วยปฏิบัติการวิจัยวัสดุพอลิเมอร์สำหรับวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อพัฒนาหุ่นเต้านมจำลองดังกล่าว

ศ.ดร.ศราวุธ กล่าวว่า หุ่นเต้านมจำลองนี้ทำจากวัสดุพอลิเมอร์ นำมาหล่อขึ้นรูป และเสริมด้วยใยไหม เติมวัสดุเพื่อเพิ่มความแข็งแรงเข้าไป เหมาะสำหรับใช้ในการฝึกตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น โดยจะมีการฝังก้อนมะเร็งขนาดและรูปร่างต่างๆ  กันลงไปในหลายๆ ระดับความลึก เพื่อใช้สอนฝึกคลำหามะเร็งเต้านมได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากการเป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้นไม่สามารถตรวจหาเจอได้ง่ายๆ จำเป็นต้องใช้หุ่นจำลองเต้านมในการฝึกตรวจ พอลิเมอร์ที่ใช้เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผิวหนังร่างกายของมนุษย์ จึงเหมาะสมกว่าร่างอาจารย์ใหญ่ที่มีความแข็งเกินไป

อย่างไรก็ตาม การผลิตชิ้นงานหุ่นเต้านมจำลองสำหรับใช้ฝึกตรวจมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นด้วยตนเอง เป็นการทำในระดับ Research Unit จึงสามารถทำได้เพียง 400 – 500 ร้อยชิ้น และแจกจ่ายให้กับหน่วยงานที่จำเป็นต้องนำไปใช้สอนและให้คำแนะนำแก่ประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเต้านม เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียนแพทย์ พยาบาลในมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อใช้ในการสอนนักศึกษา รวมถึงโรงพยาบาลตามต่างจังหวัด ซึ่งขณะนี้กำลังทยอยจัดส่งให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่แจ้งความประสงค์มา

“นวัตกรรมนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างนิสิตเก่า อาจารย์ นักวิจัยหลายท่านจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยเริ่มแรกใช้งบประมาณส่วนตัว และได้รับความอนุเคราะห์ยางซิลิโคนแบบแข็งสำหรับทำชิ้นงานจากบริษัท ไทยพีเจ้น จำกัด ขณะนี้เราได้รับทุนสนับสนุนจาก Research unit ของจุฬาฯ ในอนาคตน่าจะมีการผลิตชิ้นงานได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีการจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว” ศ.ดร.ศราวุธ กล่าวเพิ่มเติม

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า