รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 พฤษภาคม 2563
ข่าวเด่น
แม้จะไม่เป็นข่าวที่ครองพื้นที่สื่อเท่ากับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 แต่การเกิดไฟป่าในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมาก็เป็นภัยพิบัติร้ายแรงไม่แพ้กัน ไฟผลาญพื้นที่ป่าไปกว่า 2,500 ไร่ พืชพรรณไม้ถูกทำลาย สัตว์ป่าล้มตายและบาดเจ็บ หมอกควันและฝุ่นพิษ PM 2.5 ฟุ้งกระจาย ผืนดินแห้งแล้ง แหล่งน้ำเหือด ความเสียหายต่อระบบนิเวศเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้คนโดยถ้วนหน้า เป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนในสังคมควรตระหนักและร่วมกันแก้ไขและป้องกัน
“การรักษาป่าเป็นเรื่องของเราทุกคนและประเทศไทยต้องจริงจังกับเรื่องนี้เสียที” อ.ดร.กัลยา สุนทรวงศ์สกุล นักวิชาการจากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ กล่าว พร้อมเผยถึงภัยเงียบจากไฟป่าที่ยังไม่เป็นที่พูดถึงนัก “การเกิดไฟป่าเชื่อมโยงกับโอกาสในการเกิดโรคข้ามสายพันธุ์และโรคอุบัติใหม่ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย สัตว์ป่าบาดเจ็บและล้มตาย สัตว์ที่รอดไร้ที่อยู่อาศัยและอาหารจึงอพยพเข้ามายังเขตที่มนุษย์อาศัย อย่างที่พบสัตว์ เช่น งู เข้ามาในบ้านของประชาชนที่อยู่ใกล้แนวป่า สัตว์เลี้ยงในฟาร์มปศุสัตว์ที่อยู่ใกล้ขอบชายป่าก็อาจได้รับเชื้อจากสัตว์ป่าที่อพยพเข้ามาด้วย ซึ่งเมื่อมนุษย์บริโภคเนื้อสัตว์จากฟาร์มเหล่านั้นก็อาจจะได้รับเชื้อเข้าไป”
เมื่อเกิดไฟป่า สิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้คือฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และอนุภาคก๊าซอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองบนผิวหนัง และส่งผลต่อไฟเรือนยอดระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกับผู้ป่วย เด็กและผู้สูงอายุ และถึงแม้ไฟจะดับแล้ว ฝุ่นและก๊าซพิษเหล่านี้จะยังคงหมุนเวียนอยู่ในชั้นบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อสายส่งสัญญาณต่างๆ ได้ในอนาคต
อ. ดร. กัลยา กล่าวเสริมอีกว่า ไฟป่ายังส่งผลต่อแหล่งน้ำและอาหาร พื้นดินและอากาศบริเวณที่เกิดไฟป่ามีอุณหภูมิสูงขึ้น หน้าดินและธาตุอาหารถูกเผาทำลาย กลายเป็นขี้เถ้า เมื่อฝนตก ขี้เถ้าจะถูกกวาดลงไปอยู่ในแหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน ส่งผลต่อการเกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร ที่สำคัญ หากควบคุมไฟป่าได้ไม่ทันท่วงทีก็อาจทำให้ไฟลามเข้าพื้นที่การเกษตร สร้างความเสียหายต่อผลผลิตและบ้านเรือนประชาชนได้
ผลกระทบจากไฟป่าเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด แนวทางการจัดการปัญหาไฟป่าจึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคชุมชน (community-based participation) โดยประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้บริเวณเขตป่าร่วมมือทำพื้นที่แนวรอบขอบป่าให้เป็นแนวกันไฟ (greenbelt) อ. ดร. กัลยา เสนอ นอกจากนั้น รัฐบาลและองค์กรต่างๆ ใช้องค์ความรู้ข้ามศาสตร์ร่วมมือกัน ส่งเสริมการสร้างรายได้หรืออาชีพเสริมให้ชาวบ้านมีกำลังใจในการปกป้องป่า เช่น การสร้างเกษตรวิถีชุมชนเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน หาพื้นที่ว่างส่งเสริมการปลูกพืชท้องถิ่นเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์และบริโภค ส่งเสริมการสร้างแหล่งน้ำชุมชน ชาวบ้านจะต้องมีผู้นำให้ความรู้เพื่อปลูกฝังการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ปัจจุบัน นอกจากแนวทางการดับไฟป่าที่ใช้สารเคมีและการบรรทุกน้ำไปทิ้งในจุดที่มีการลุกไหม้ หรือการป้องกันแบบทำแนวกันไฟและการวางนโยบายเพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าแล้ว จุฬาฯ โดยทีมวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็ได้วิจัยสร้างนวัตกรรมลดการเกิดไฟป่า โดยใช้พื้นที่ทั่วทั้งจังหวัดน่านเป็นจังหวัดศึกษานำร่องและกำหนดนโยบายด้านอัคคีภัย ดำเนินโครงการติดตั้งเซ็นเซอร์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 พัฒนาระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์และระบบภูมิสารสนเทศที่ได้จากข้อมูลดาวเทียม เพื่อติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์หมอกควันจากจุดเผาไหม้ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากเว็บไซต์ cusense.net
ธวัช งามศรีตระกูล นิสิตปริญญาโทหลักสูตรวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เล่าถึงรูปแบบของไฟป่าที่เกิดในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทยว่า “ไฟป่ามีสองรูปแบบ คือ ไฟเรือนยอด เป็นไฟที่ลุกไหม้ด้านบนลำต้น มีความรุนแรงค่อนข้างสูง ถ้ามีกระแสลมอาจทำให้เกิดสะเก็ดไฟลุกไหม้ในบริเวณใกล้เคียงได้ อีกแบบคือไฟผิวดิน เป็นไฟที่ลุกไหม้ตามเศษใบไม้ที่อยู่บนพื้นดิน
“วิธีการดับไฟป่าโดยใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ เช่น หุ่นยนต์หรือโดรนจะมีประสิทธิภาพดีกับไฟที่เกิดบนผิวดินเท่านั้น ส่วน AI (Artificial Intelligence) สามารถใช้กับงานไฟป่าได้ แต่ต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพราะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีความสลับซับซ้อนค่อนข้างสูง เรายังมีข้อมูลไม่เพียงพอ ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงของแต่ละพื้นที่ตามสภาพอากาศ และพฤติกรรมมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก” ธวัช กล่าว พร้อมเล่าถึงตัวแบบจำลองไฟป่า ซึ่งอยู่ในขั้นตอนศึกษาวิจัยพัฒนา
“เราทำตัวแบบจำลองไฟป่าขึ้นเพื่อดูลักษณะการแพร่กระจายของไฟในพื้นที่ว่ามีความรวดเร็วแค่ไหนในสภาพทางอุตุนิยมวิทยา หรือในแต่ละช่วงฤดูกาล เพื่อคาดการณ์ให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดับไฟป่าเข้าไปดับไฟล่วงหน้าเป็นเวลากี่นาที รวมไปถึงการกำหนดกลยุทธ์ในการปฏิบัติในพื้นที่อื่นๆ”
ที่สุดแล้ว การแก้ปัญหาไฟป่าที่ดีที่สุดคือป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า “ทุกคนในสังคมควรตระหนักถึงผลกระทบของไฟป่าที่มีต่อชีวิตและสุขภาพ แล้วให้ความร่วมมือและยึดแนวทางการใช้ชีวิตที่ไม่ก่อให้เกิดไฟป่า โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้บริเวณเขตป่า ร่วมมือกันกับชุมชนอื่นๆ และหน่วยงานปกครองในพื้นที่นั้นๆ จัดชุดลาดตระเวนเข้าไปสำรวจพื้นที่ป่า และจัดการกับเศษใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมในเขตพื้นที่ของตนเป็นประจำ” ธวัช กล่าวทิ้งท้าย
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้