รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 พฤษภาคม 2563
ข่าวเด่น
ก่อนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเปิดให้บุคลากรบางส่วนเข้ามาปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยระยะแรกตั้งแต่วันที่ 4 – 21 มิถุนายน 2563 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีแนวปฏิบัติให้บุคลากรทุกคนต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงทางระบบออนไลน์ก่อน ซึ่งผู้ที่ได้รับผลการประเมินว่าเป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเร็ว จะสามารถทำนัดเพื่อเข้าได้รับการตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ Chula Baiya COVID-19 Strip Test ควบคู่ไปกับการตรวจแบบ RT–PCR ที่ศูนย์บริการสุขภาพฯ
ทั้งนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่าวิธีการตรวจโดย Chula Baiya COVID-19 Strip Test เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อ COVID-19 จากตัวอย่างเลือด (ทราบผลทันที) ในขณะที่การตรวจแบบ RT-PCR เป็นการตรวจเพื่อหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากสารคัดหลั่งหลังโพรงจมูกและคอหอย (ทราบผลในวันถัดไป) ในกรณีที่ผลการตรวจด้วบชุดตรวจ Chula Baiya COVID-19 Strip Test ออกมาเป็นบวก (Positive) ก็ยังไม่สามารถระบุแน่นอนได้ว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ป่วยโรค CIVID-19 แต่มีโอกาสเป็นไปได้ว่าร่างกาย“เคย” ได้สัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ หรือมีภูมิต้านทานเชื้ออยู่ในร่างกายแล้ว ซึ่งต้องรอผลการตรวจแบบ RT-PCR ในวันถัดไปเพื่อยืนยัน ระหว่างนี้แพทย์จะแนะนำให้กักตัวแยกจากบุคคลอื่นเป็นเวลา 7 วัน แล้วให้กลับมาตรวจซ้ำอีกครั้ง นอกจากนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 จากศูนย์บริการสุขภาพฯ พบว่ายังไม่มีบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการคัดกรองมีผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR เป็นบวกแม้แต่รายเดียว
ในตารางสรุปการแปรผลการตรวจด้านล่างนี้ เป็นการสรุปผลการตรวจโดย Chula Baiya COVID-19 Strip Test และการตรวจแบบ RT–PCR พร้อมทั้งแนวทางการปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันและลดความตื่นตระหนกหลังทราบผลการตรวจ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์สายด่วน COVID-19 ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ โทร. 08-0441-9041 (เวลา 08.00-20.00 น.) โทร. 0-2218-0568 (เวลา 08.00-15.00 น.)
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมฟังการบรรยายพิเศษและการเสวนา ในงานครบรอบวัน อรุณ สรเทศน์ รำลึก ประจำปี 2568
22 มกราคม 2568 เวลา 08.30 น.
หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์
Chula Thailand Presidents Summit 2025” ครั้งแรกของการรวมตัวของสุดยอดผู้นำองค์กร เปิดวิสัยทัศน์ขับเคลื่อนประเทศ 3 กุมภาพันธ์ 2568 หอประชุมจุฬาฯ
3 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 9.00 - 15.30 น.
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้