รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 พฤษภาคม 2563
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดบ้านต้อนรับผู้นำทางการศึกษาจากทั่วโลกที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนาทางไกล “The ASAIHL Online World Congress 2020” (AOWC-2020) จัดโดยสมาคมสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในหัวข้อ “COVID-19: the Global New Reality” ในงานดังกล่าวมีนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศนำเสนอมุมมองต่อผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกมิติ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือโลกในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงภายหลังสถานการณ์ COVID-19 ผ่านไป ในงานนี้จุฬาฯ ได้แสดงศักยภาพในการพัฒนาวัคซีนที่ล้ำหน้า และแสดงนวัตกรรมสู้ COVID-19 ที่โดดเด่นหลากหลาย
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า “จุฬาฯ ยินดีต้อนรับอาคันตุกะ ผู้นำทางวิชาการทั่วโลก และพร้อมทำหน้าที่แก้ปัญหาวิกฤต COVID-19 ด้วยผลงานวิจัยและนวัตกรรมของจุฬาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยศูนย์วิจัยวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับองค์กรพันธมิตร ซึ่งล่าสุดได้พัฒนาก้าวหน้าจนสามารถทดลองฉีดในลิงได้เป็นที่แรกในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีผลงานนวัตกรรมจากจุฬาฯ เพื่อสู้ COVID-19 มากมาย เช่น ‘Chula Baiya Strip Test’ ระบบตรวจคัดกรองเชื้อ COVID-19 เบื้องต้นแบบรวดเร็วที่สุดของไทย ‘หุ่นยนต์ปิ่นโต กระจก และนินจา’ ที่ช่วยดูแลผู้ป่วยได้หลากหลายรูปแบบ ลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการติดเชื้อ ‘ชีลด์พลัส โพรเทคติ้ง สเปรย์’ ที่ใช้ฉีดหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันเชื้อ COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งที่ขาดแคลนและมีราคาสูง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและลดความเสี่ยงแก่คนไทย”
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวัคซีน COVID-19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ วิทยากรในการประชุมสัมมนาทางไกลครั้งนี้ เผยถึงความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ว่า ทางศูนย์ฯ ได้เลือกใช้เทคโนโลยี mRNA ในการพัฒนาวัคซีน ซึ่งจากการทดลองในหนูพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ผลเป็นอย่างดี และล่าสุดได้เริ่มมีการทดลองวัคซีนในลิง ซึ่งคาดว่าปลายเดือนมิถุนายน น่าจะทราบผลเบื้องต้น ถือว่าเป็นการพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่ก้าวหน้าที่สุดในไทย
“ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวัคซีนและยาแก่สังคมไทยมายาวนาน ด้วยความเชื่อมั่นว่า ‘ประเทศไทยไม่ควรรอซื้ออย่างเดียว แต่ควรเป็นผู้ร่วมสร้างด้วย’ ครั้งนี้นับเป็นความสำเร็จอีกขั้นที่สามารถพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 จนถึงขั้นทดลองฉีดในลิงได้เป็นแห่งแรกในไทย ทั้งนี้เทคโนโลยีใหม่ที่ใช้พัฒนาวัคซีนเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กับมหาวิทยาลัยระดับโลกคือ University of Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา และองค์กรพันธมิตร โดยได้รับทุนวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อการสรรสร้างนวัตกรรมเพื่อดูแลสังคมไทยของเรา” ศ.นพ.เกียรติ กล่าว
สำหรับนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนาผลงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของประเทศนั้น ภญ.พุทธิมน ศรีบนฟ้า CEO และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท แนบโซลูท จำกัด บริษัทสตาร์ทอัพภายใต้การบ่มเพาะของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ (CU Innovation Hub) ซึ่งพัฒนานวัตกรรม “ชีลด์พลัส โพรเทคติ้ง สเปรย์” ใช้ฉีดหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันเชื้อ COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพกล่าวถึงนวัตกรรมดังกล่าวว่า ยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้ผลงานวิจัยของอาจารย์จุฬาฯ เกิดประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง ซึ่งความภูมิใจที่เกิดขึ้นมีค่ามากกว่าผลตอบแทนเป็นตัวเงิน
“การเป็นบริษัทสตาร์ทอัพทำให้เรามีความคล่องตัวในการดำเนินงาน สร้างประสิทธิภาพในการกระจายนวัตกรรมที่ช่วยบรรเทาปัญหาของสังคม นอกจากนั้นบริษัทยังให้น้องๆ นิสิตจุฬาฯ ได้มาเรียนรู้และทำงานวิจัยร่วมกัน ถือเป็นการบูรณาการความรู้ที่เรียนมากับชีวิตจริง และได้ปลูกฝังค่านิยมดูแลสังคมให้แก่นิสิตด้วย” ภญ.พุทธิมนกล่าว
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้