รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 มีนาคม 2563
ข่าวเด่น
สื่อชั้นนำอย่าง Los Angeles Times รายงานข่าวชื่นชมการทำงานของกลุ่มอาสาสมัครศิลปะบำบัด จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่เดินทางไปทำกิจกรรมเยียวยารักษาจิตใจให้ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์กราดยิงในห้างสรรพสินค้า จ.นครราชสีมา ด้วยศิลปะบำบัด
แม้ว่าคนไทยจะเคยผ่านเหตุการณ์รัฐประหาร การประท้วง และภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ แต่ไม่เคยพบเหตุการณ์กราดยิงอย่างอุกอาจในห้างสรรพสินค้าอย่างที่เกิดขึ้นใน จ.นครราชสีมา มาก่อน รวมไปถึงภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ การที่ผู้ก่อเหตุออกมาพูดถ่ายทอดสดหลังก่อเหตุ ปรากฎบนสื่อโซเชียล และสื่อมวลชนมากมายต่างกระหายไปทำข่าว แต่ภายหลังจากเหตุการณ์กราดยิง กลับไม่มีการพูดถึงเรื่องการดูแลสภาพจิตใจของผู้รอดชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น ซึ่งสิ่งนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ของคนไทย
สื่อชั้นนำของต่างประเทศอย่าง Los Angeles Times รายงานข่าวว่า กลุ่มอาสาสมัครที่ศึกษาเกี่ยวกับศิลปะบำบัด จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เดินทางเข้าไปพูดคุยทำกิจกรรมเยียวยาสภาพจิตใจให้ผู้รอดชีวิต ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รวมระยะเวลา 2 วัน ซึ่งมีผู้สนใจหลายสิบคนเข้าร่วมทำกิจกรรมวาดภาพ และดนตรีบำบัด ด้วยการตีกลอง
“ตอนแรกเราคิดว่า คนอื่นจะพูดว่า มันแปลกนะ แต่กลับมีคนสนใจมาเข้าร่วมมากมายจนเราต้องทำงานเป็นสองเท่า” ศาสตราจารย์ ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้นำจัดกิจกรรมกล่าว
จากการทำกิจกรรมดังกล่าวพบว่า ผู้รอดชีวิตพยายามจะเพิกเฉยกับอาการความรู้สึกที่เกิดขึ้น ไม่แสดงความรู้สึกออกมา โดยคิดว่ามันเป็นแค่ฝันร้าย ซึ่งคงจะหายไปสักวัน และพวกเขาก็ไม่รู้วิธีการรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกที่เข้ามากระทบกระเทือนจิตใจ จนอาจทำให้กลายเป็นรอยแผลในจิตใจ ดังนั้น การที่พวกเขามาร่วมพูดคุยทำกิจกรรม พวกเขาจะได้รับความช่วยเหลือ ได้แสดงออกถึงความรู้สึก โดยไม่ต้องเก็บเอาไว้คนเดียว
ศาสตราจารย์ ดร.บุษกร เป็นที่รู้จักในฐานะนักดนตรีบำบัดและได้ทำงานร่วมกับ ศาสตราจารย์ ราเชล เลฟ วีเซล มหาวิทยาลัยไฮฟา เพื่อจัดทำหลักสูตรอบรมศิลปะบำบัดและตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย ในปีหน้านี้ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะเปิดหลักสูตรปริญญาโททางด้านศิลปะบำบัด ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาโทหลักสูตรแรกในประเทศไทย
ขอบคุณภาพและข่าวจาก https://www.latimes.com/world-nation/story/2020-03-16/mass-shooting-thailand-therapy
เชิญร่วมฟังสัมมนาหัวข้อ “Key Issues in Contemporary Corporate Sustainability Practices: Climate Risk, Human Rights Risk, and ESG Disclosures”
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันกีต้าร์กีตาร์คลาสสิกระดับนานาชาติ
Chula-SI HUB บ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม Young Sustainability Practitioner รุ่นที่ 4
“ตลาดนัดของมือสองสภาพดี” โครงการ CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 3
29 พ.ย. 67
อาคารสรรพศาสตร์วิจัย และอาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
นิสิตศศินทร์ ผู้ประกอบการ Gen ใหม่ สร้างงานท้องถิ่นด้วยแนวคิดความยั่งยืน
ผู้บริหารจุฬาฯ เยือนมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เข้าพบเลขาธิการพรรคฯ ประจำมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และอธิการบดี ร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้