รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 มิถุนายน 2563
ข่าวเด่น
นโยบายการล็อกดาวน์ที่ประเทศต่างๆ นำมาใช้ต่อสู้วิกฤตโควิด-19 มีผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจทั่วโลก นโยบายนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสายการบินที่ต้องหยุดให้บริการลง และเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้ลูกหนี้พักชำระหนี้ทั้งหมด พร้อมทั้งได้รับความช่วยเหลือทางการเงินอย่างทันท่วงทีจากผู้ถือหุ้นใหม่ หรือจากเจ้าหนี้ในการแปลงหนี้เป็นทุน เพื่อให้มีโอกาสที่จะฟื้นฟูกิจการและกลับมามีรายได้และทำกำไรได้อีกครั้ง โดยยังคงสามารถรักษาทรัพย์สินเดิมของบริษัทได้ โดยไม่ถูกขายทอดตลาดเพื่อมาชำระหนี้ในระหว่างที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู
กรณีของบริษัทการบินไทย ซึ่งผลการดำเนินงานมีปัญหาขาดทุนสะสมและมีหนี้สินจำนวนมหาศาลตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 วิกฤตในครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนตัวเร่งที่สะท้อนให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังในอดีต ศ.ดร.ศิริมล ตรีพงษ์กรุณา University of Western Australia ศ.ดร.ภรศิษฐ์ จิราภรณ์ Pennsylvania State University รศ.ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส จากสถาบันบัณฑิตธุรกิจ ศศินทร์ฯ ได้นำเสนอบทความเรื่อง “โอกาสในวิกฤตโควิด-19” โดยกล่าวถึงสายการบินไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจว่าประสบปัญหาไม่แตกต่างจากสายการบินแห่งชาติอื่น ๆ และยังมีความสอดคล้องกับต้นทุนในการบริหารองค์กรของรัฐหรือค่าใช้จ่ายระบบราชการ โครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อน มีระดับผู้บริหารและระดับผู้จัดการที่มากเกินความจำเป็น ระบบการตัดสินใจล่าช้าอันเนื่องมาจากรายละเอียดของงานมีความยุ่งยาก ส่งผลให้กระบวนการตัดสินใจทำได้ยากและช้ากว่าคู่แข่ง มีกฎระเบียบและข้อบังคับมากเกินไป ทำให้ขาดความเป็นอิสระ เป็นต้น
วิกฤตโควิด-19 คือโอกาสที่ให้สายการบินแห่งชาติเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการหรือที่เรียกกันว่า Chapter 11 เร็วขึ้น และมีโอกาสที่จะมีการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่สะสมมาช้านานอย่างเป็นรูปธรรม เปิดโอกาสให้มีการปรับโครงสร้างหนี้กว่า 350,000 ล้านบาท และปรับโครงสร้างองค์กรใหม่โดยผ่านระบบของศาลล้มละลาย แต่ประเด็นสำคัญที่ควรจับตามองคือ
– ผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการให้กับสายการบินแห่งชาติแห่งนี้เป็นที่ยอมรับจากเจ้าหนี้และลูกหนี้หรือไม่
– ตัวแผนฟื้นฟูกิจการจะเป็นที่ยอมรับจากเจ้าหนี้ ลูกหนี้ สหภาพการบินไทย ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ มากน้อยเพียงใด จะสามารถประนีประนอมเพื่อหาข้อยุติเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่ายภายใต้เงื่อนไขที่การบินไทยจะต้องกลับมาสร้างรายได้และทำกำไรได้อีกครั้ง
– ผู้บริหารแผนเป็นส่วนสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นแรงผลักที่จะช่วยให้บริษัทการบินไทยสามารถผ่านกระบวนการฟื้นฟูนี้ได้สำเร็จ
กระบวนการฟื้นฟูกิจการไม่ได้ง่ายและรวดเร็วอย่างที่ทุกฝ่ายต้องการ ดังนั้น อนาคตของบริษัทการบินไทยโดยผ่านกระบวนการนี้จะเป็นไปในทิศทางใด บริษัทจะสามารถผ่านกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ได้สำเร็จหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้