ข่าวสารจุฬาฯ

กลยุทธ์ปรับตัวของมหาวิทยาลัยในยุค “Anti-Globalization”

สถานการณ์ Anti-Globalization ที่เกิดจากโรคระบาด COVID-19 ทำให้มหาวิทยาลัยพึ่งพาภารกิจเกี่ยวกับต่างประเทศได้ไม่เต็มศักยภาพ ด้วยปัจจัยภายนอกหรือภายในที่ส่งผลกระทบ นำมาสู่ความเสี่ยงต่อการไม่สามารถรับผู้เรียนชาวต่างชาติได้ตามเป้าประสงค์ การขาดสภาพคล่องทางการเงิน รวมทั้งการปิดตัวลงของหลายมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวกับสถานการณ์ดังกล่าวโดยอาศัยกลยุทธ์ต่างๆ ซึ่งจะเป็นคำตอบเพื่อฝ่าวิกฤตในยุคที่ต้องพึ่งพาศักยภาพที่มีภายในประเทศ     

ศูนย์บริหารความเสี่ยง จุฬาฯได้นำเสนอ  5 กลยุทธ์ในการปรับตัวของมหาวิทยาลัยในยุค “Anti-Globalization” ดังนี้                                                                                                                           

1. ยกระดับมหาวิทยาลัยสู่แพลตฟอร์มนานาชาติ (Enhance toward International Platform)

เป็นโอกาสให้ประเทศจีนยกระดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศสู่แพลตฟอร์มทางการศึกษานานาชาติสำหรับนิสิตนักศึกษาภายในประเทศจีนเอง และสำหรับนักศึกษาจากประเทศกำลังพัฒนาด้วย ในฐานะตลาดอุดมศึกษาใหม่ที่มีศักยภาพสูง (Emerging Market) และความร่วมมือกับประเทศทั่วโลกที่เล็งเห็นว่าจีนมีศักยภาพ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทย เราอาจเห็นคนไทยไปศึกษาต่อในประเทศจีนมากยิ่งขึ้น หรือมหาวิทยาลัยจีนที่เข้ามาซื้อกิจการมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย จะใช้โอกาสนี้ในการขยายขีดความสามารถในการจัดการศึกษาระดับนานาชาติ

2. ย้ายไปสู่ดิจิตอลแพลตฟอร์ม (Shift to Digital Platform)

ดิจิตอลในที่นี้จึงมีความหมายกว้างกว่าการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ กล่าวคือการผสานระบบของการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และเทคโนโลยีสนับสนุนอื่นๆ ที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนทั่วโลกและเพิ่มคุณภาพในการจัดการศึกษา เพื่อช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถตัดสินใจและเข้าถึงกลุ่มผู้เรียนใหม่ๆได้มากยิ่งขึ้น

3. ใส่ใจตลาดในประเทศบนมาตรฐานระดับโลก (Go Glocalization)

มหาวิทยาลัยต้องให้ความสำคัญกับแนวคิด Glocalization ที่มหาวิทยาลัยในยุคนี้ต้องตอบสนองความต้องการและความเฉพาะเจาะจงของตลาดอุดมศึกษาภายในประเทศ บนเงื่อนไขของมาตรฐานและคุณภาพระดับโลก การปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์โดยใช้วิกฤตครั้งนี้ให้เป็นโอกาสสำคัญในการก้าวทะยานต่อไป แล้วที่สำคัญมหาวิทยาลัยเองต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของคนให้มีสมรรถนะความเป็นนานาชาติ มีระบบรองรับที่มีมาตรฐานและคุณภาพเป็นที่ยอมรับในสากลด้วย

4. สนับสนุนข้อมูลด้านการศึกษาต่อนานาชาติ (Support International Study Information)

สำหรับใช้เตรียมความพร้อมในการสมัครเข้าศึกษาต่อ ประกอบด้วย

  • ทุนการศึกษาและการสนับสนุนทางการเงิน
  • การเลือกจุดมุ่งหมายในการศึกษาต่อ เช่น สภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ข้อมูลของประเทศ ชีวิตความเป็นอยู่ สังคมและวัฒนธรรม และประสบการณ์เด่นที่จะได้รับ
  • การเตรียมตัวสอบเข้าศึกษาต่อ
  • การเขียน essay หรือการเขียนแนะนำตัวเองในการสมัคร
  • ข้อมูลหลักสูตรที่จะศึกษาต่อ
  • ทางเลือกอื่นๆสำหรับการศึกษาต่อ และข้อมูลที่ขาดไม่ได้คือมาตรการรับมือของมหาวิทยาลัยและมาตรการของประเทศ/รัฐเกี่ยวกับการระบาดของไวรัส COVID-19 ทั้งนี้เพื่อสร้างความสะดวกและความเชื่อมั่นว่ามหาวิทยาลัยมีความพร้อมในการรองรับผู้เรียนจากต่างประเทศ

5. รักษาช่องทางการสื่อสาร (Keep Communication Channel)

ที่มีต่อนักศึกษาชาวต่างชาติ ร่วมถึงกลยุทธ์ทางการตลาดหรือการกระจ่ายข่าวสารข้อมูลควรมีอย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางต่างๆ เพราะคาดการณ์ว่าภายหลังการระบาดสิ้นสุดลง มหาวิทยาลัยทุกแห่งต่างต้องแข่งขันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดอุดมศึกษานานาชาติซึ่งถือเป็นรายได้สำคัญของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก

อ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่ http://www.urm.chula.ac.th/anti-globalization/

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า