รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มิถุนายน 2563
ข่าวเด่น
หลังจากที่รัฐบาลประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะ 3 จากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 บรรยากาศร้านค้า ร้านอาหาร ศูนย์การค้าต่างๆ รอบรั้วจุฬาฯ ดูจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง แต่ก็ไม่เหมือนเดิม เพราะไม่ว่าผู้ประกอบการ พนักงาน หรือลูกค้า ทุกคนต่างก็ต้องปรับตัวเข้าสู่วิถีความปกติใหม่ในการใช้บริการในพื้นที่สาธารณะ
ที่ผ่านมากว่า 2 เดือน ผู้ประกอบการร้านค้าปรับตัวกันอย่างไรในช่วงล็อกดาวน์ และตอนนี้พวกเขาเตรียมพร้อมอย่างไรบ้างสำหรับการเริ่มต้นใหม่ในยุค New Normal
หิรัตย์ อธิเกียรติ เจ้าของร้านอาหารที่ชั้น 2 ตลาดสามย่าน “ช่วงล็อกดาวน์ ทางร้านได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถมานั่งทานที่ร้านได้ ต้องลดจำนวนพนักงานลง เพิ่มช่องทางการขายทางออนไลน์และใช้สื่อโซเชียลมากขึ้น รวมถึงเพิ่มเมนูใหม่เป็นทางเลือกให้ลูกค้า และเปลี่ยนจากการขายอาหารปรุงสุกเป็นอาหารที่ลูกค้าซื้อกลับไปปรุงเองได้
สำหรับตอนนี้ ยุค New Normal ผมว่าที่ตั้งของร้านเป็นสถานที่เปิดโล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี เรามีมาตรการคัดกรองผู้เข้ามาใช้บริการตลาดสามย่าน เพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี”
นุชจรี บุรุษ Supervisor ร้านอาหารญี่ปุ่น ศูนย์การค้า I’m Park “ช่วงที่ร้านปิดให้บริการ พนักงานต้องหยุดงานและขาดรายได้ หลังจากเปิดให้บริการอีกครั้ง นอกจากจะดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยของภาครัฐแล้ว ทางร้านมีการทำความสะอาดโต๊ะเก้าอี้ทุกครั้งหลังลูกค้าใช้งานด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และทำความสะอาดภายในร้านอย่างสม่ำเสมอ การใช้ชีวิตหลังวิกฤตโควิด-19 ทำให้ใส่ใจดูแลสุขภาวะอนามัยของตนเองและคนรอบข้างมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเรียนรู้หาอาชีพเสริมเพื่อรองรับการทำงานหากเกิดภาวะวิกฤตที่ไม่คาดคิดขึ้นอีกในอนาคตด้วย”
วิศรุต เจริญชีพ ผู้ช่วยผู้จัดการร้านโทรศัพท์มือถือ ชั้น 4 ศูนย์การค้ามาบุญครอง “ช่วงเวลา 2 เดือนที่ทำงาน Work from Home เวลาออกไปไหนก็จะดูแลตัวเองด้วยการใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือบ่อยๆ พกเจลแอลกอฮอล์ติดตัว จนกลายเป็นความปกติใหม่ในชีวิตที่คุ้นเคยไปแล้ว ด้านการดูแลความปลอดภัยภายในร้าน เราใช้มาตรการที่ห้างสรรพสินค้าและทางร้านทำร่วมกัน มีการวัดอุณหภูมิหน้าร้าน จำกัดคนเข้าร้าน และมีบริการเจลแอลกอฮอล์วางไว้ตามจุดต่างๆ แต่การเว้นระยะห่างภายในร้านทำได้ค่อนข้างยากเพราะลูกค้ามักเข้ามาพร้อมกันเป็นกลุ่ม”
ธนพล ชาติน้ำเพ็ชร เจ้าของร้านอาหารในสวนหลวงสแควร์ “ทางร้านปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ของโควิด-19 ที่ลูกค้าออกจากบ้านน้อยลง โดยเพิ่มบริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า มีแอปพลิเคชันส่งอาหารพร้อมโปรโมชันส่งฟรี ต่อมาเมื่อเริ่มรับลูกค้าเข้ามานั่งทานอาหารภายในร้านได้ ทางร้านก็ปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลและสวนหลวงสแควร์ หวังว่าในอนาคตอันใกล้ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือนิสิตจุฬาฯ จะกลับมาเหมือนเดิม”
พิมจันทร์ สีตพันธ์ ผู้จัดการร้านกาแฟที่ Park @ Siam “ช่วงสถานการณ์โควิด-19 บรรยากาศในร้านเงียบมาก ทางร้านขอความร่วมมือให้ลูกค้าซื้อกลับไปทานที่บ้าน มีการตรวจวัดอุณหภูมิ และมีเจลแอลกอฮอล์ให้บริการ พนักงานทุกคนเข้มงวดเรื่องความสะอาดมาก ขยันล้างมือและทำความสะอาดร้านบ่อยๆ ตามมาตรการของรัฐบาลทุกขั้นตอน”
สุดารัตน์ ฟังธรรมมงคล พนักงานร้านทันตกรรมในสยามสแควร์ “ทางร้านมีการคัดกรองคนไข้ตั้งแต่โทรศัพท์เข้ามารับบริการ ทุกวันก่อนเปิดให้บริการจะทำความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ภายในร้านมีฉากกั้นระหว่างลูกค้าและพนักงาน มีการวางเก้าอี้ให้บริการใหม่ทั้งหมด โดยให้ลูกค้านั่งแยกเดี่ยว และเว้นระยะห่างจากกัน รวมทั้งมีการติดต่อกับลูกค้าผ่านสื่อออนไลน์ทั้ง Line และ Facebook”
ชนิกา แสงศิริวัฒนา ผู้จัดการร้านอาหารที่จามจุรีสแควร์ “ทางร้านกำหนดจุดยืนรอระหว่างการสั่งสินค้ากับการรับออเดอร์ ก่อนเข้างาน พนักงานจะล้างมือทำความสะอาดและวัดอุณหภูมิ พนักงานคนไหนอุณหภูมิเกินกำหนดก็จะให้กลับบ้านทันที ส่วนแคชเชียร์จะใส่หน้ากากอนามัยและ face shield นอกจากนี้พนักงานทุกคนจะใส่ถุงมือระหว่างการจัดเตรียมสินค้า เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าเสมอ”
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้