ข่าวสารจุฬาฯ

“Soft loan ใครเอื้อมถึง?” แนวคิดของนักวิชาการศศินทร์

จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างรุนแรง การปิดประเทศ ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ฉุกเฉิน ตามมาด้วย พ.ร.ก. ประกาศเคอร์ฟิว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้กิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจทั้งหมดหยุดชะงักชั่วคราว ผู้ประกอบการและบริษัทต่างๆ ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้ดังเดิม รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการเสริมสภาพคล่องที่เรียกว่า “สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ” หรือ Soft loan ด้วยเม็ดเงินมหาศาลถึง 6.5 แสนล้านบาท เพื่ออัดฉีดกระแสเงินสดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจประเทศผ่านธนาคารแห่งประเทศไทย

            บทความ “Soft loan ใครเอื้อมถึง?” โดย ศ.ดร.ศิริมล ตรีพงษ์กรุณา  University of Western Australia  ศ.ดร.ภรศิษฐ์ จิราภรณ์  Pennsylvania State University รศ.ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส  สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ นายศรัณยู อึ๊งภากรณ์ และนางสาวนพรัตน์  วงศ์สินหิรัญ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการสนับสนุนสินเชื่อ Soft loan ว่าเป็นมาตรการที่ภาคเอกชนได้ตั้งความคาดหวังไว้อย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ SMEs ที่มีเงินทุนหมุนเวียนอย่างจำกัด มาตรการนี้มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมาก รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการดังกล่าวตามที่สรุปไว้ในตาราง

            ประเด็นเฉพาะหน้าที่สำคัญในขณะนี้ คือ ผู้ประกอบการ SMEs จะสามารถเข้าถึงสินเชื่อ Soft loan ได้หรือไม่ อย่างไร คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่จะขอรับความช่วยเหลือที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

            จากผลการสำรวจเบื้องต้นของนิสิตปริญญาเอกของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯได้ทำการสุ่มตัวอย่างและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ SMEs ทั่วประเทศไทย พบว่าในขณะนี้มีผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากร้องเรียนผ่านสื่อต่างๆ เพื่อถามหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่รัฐบาลนำมาใช้ช่วยเสริมสภาพคล่อง แต่ไม่สามารถหาคำตอบได้ ส่วนผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อแบบด่วนและรวดเร็วนั้น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ที่มีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นและคุ้นเคยกันมาก่อน หรือมีข้อตกลงระหว่างกันในการซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินควบคู่กับการได้รับสินเชื่อ Soft loan นี้ เช่น การทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อเต็มวงเงิน เป็นต้น มาตรการนี้ยังมีช่องโหว่ในทางปฏิบัติอีกมากมายที่ควรจับตามอง เช่น

  • การที่ธนาคารพาณิชย์ได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารของรัฐและนำเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำนี้ไปปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในอัตราที่สูงขึ้น
  • เงินกู้ Soft loan ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามหลักการที่ถูกต้อง ไม่ควรคิดค่าธรรมเนียมใดๆ แต่ Soft loan ที่มาจากธนาคารพาณิชย์บางแห่ง อาจมีการคิดค่าธรรมเนียมที่ยากจะตรวจสอบ และทำให้ดอกเบี้ยดังกล่าวสูงกว่าดอกเบี้ยในสภาวะปกติ
  • เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ อาจจะกลายเป็นช่องทางของผู้ประกอบการ SMEs บางกลุ่มที่ได้รับเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์และนำเงินดังกล่าวมาหาประโยชน์ส่วนตัว โดยการปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่ไม่สามารถกู้โดยตรงได้จากธนาคารพาณิชย์

            ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องเฝ้าระวังคือ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติอนุมัติพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังสามารถกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนวงเงิน 1.9 ล้านล้านบาทแล้วนั้น การจัดสรรเงินงบประมาณก้อนโตนี้มีธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และมีมาตรการตรวจสอบที่ชัดเจนเพื่อให้วงเงินนี้ไปผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้หรือไม่ อย่างไร ธนาคารพาณิชย์จะสามารถปฏิบัติตามได้มากน้อยเพียงใด แบงก์ชาติมีมาตรการตรวจสอบและติดตามผลของการดำเนินการอนุมัติปล่อยเงินนี้ไปถึงกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ และมีการคิดค่าธรรมเนียมการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อหรือไม่  และทำไมผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากถึงเอื้อมไม่ถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำนี้

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า