รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 มิถุนายน 2563
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นเป้าหมายสำคัญของ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management) เสมอมา สอดคล้องกับพันธกิจในการสร้างความยั่งยืนผ่านแนวคิดของผู้ประกอบการ ที่ศศินทร์ได้เน้นย้ำความความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการสร้างความยั่งยืนทั้งด้านธุรกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคมซึ่ง ทั้งหมดนี้ ศศินทร์ได้ใช้เป็นแกนหลักของหลักสูตรบริหารธุรกิจและการพัฒนาต่อยอดการสร้าง “ผลกระทบ” เชิงบวกจากกิจกรรมต่างๆของสถาบันฯ ต่อสังคมเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน
ในปี 2562 ศศินทร์ ได้ตั้งตำแหน่ง “Chief Impact Officer” ขึ้นในสถาบันฯ และในเดือนธันวาคม 2562 ศศินทร์ ได้รับการรับรองมาตรฐาน The Business School Impact System (BSIS) จาก European Foundation for Management Development (EFMD) เป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
The Business School Impact System (BSIS) ถือเป็นเกณฑ์การประเมินผลด้าน Impact สำหรับสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจระบบแรกของโลก เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2557 มีมุมมองด้านการวัด impact ทั้งหมด 7 ด้านเพื่อประเมินการสร้างผลกระทบของสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจในด้านการเรียนการสอน การพัฒนาธุรกิจ การเงิน สังคม และภาพลักษณ์ของสภาพแวดล้อมท้องถิ่น กระบวนการของ BSIS ช่วยสะท้อนให้เห็นผลกระทบของการดำเนินงานจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ซึ่งสถาบันการศึกษานำมาสู่สังคมและชุมชน
ศาสตราจารย์ ดร.เอียน เฟนวิค ผู้อำนวยการศศินทร์ กล่าวว่า “ทุกคนที่ศศินทร์ภูมิใจที่ได้ชื่อว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่ผ่านการรับรอง BSIS การวัดผลความสำเร็จของสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจที่ดีหรือสถาบันการศึกษาใดๆ ก็ตามนั้น อยู่ที่ impact หรือ ผลกระทบที่สถาบันแห่งนั้นก่อให้เกิดขึ้นกับผู้คนและองค์กรต่างๆในสังคม การที่ศศินทร์ได้ผ่านกระบวนการนี้ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่เราทำในทุกระดับ – ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การพัฒนาธุรกิจ และส่งเสริมสังคม”
นิกม์ พิศลยบุตร รองผู้อำนวยการศศินทร์ ด้าน Strategy, Innovation and Impact กล่าวว่า “การได้รับการรับรอง BSIS สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของศศินทร์ คือการเน้นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกสิ่งที่เราทำ การผ่านกระบวนการ BSIS ทำให้เราได้ต่อยอดแนวทางการสร้างความยั่งยืนด้วยแนวคิดผู้ประกอบการ และการได้รับการรับรองนี้ จะยิ่งเป็นแรงผลักดันให้ศศินทร์ก้าวไปข้างหน้า สร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคม เพื่อโลกที่ดีขึ้นและยั่งยืนมากขึ้น ตาม strategy ใหม่ของเรา”
Sasin School of Management เป็นสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจระดับสากล จาก Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) ของสหรัฐอเมริกา และ EQUIS อันเป็นมาตรฐานสูงสุดจาก European Foundation for Management Development (EFMD) ของยุโรป ศศินทร์เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นความเป็นสากล ผ่านการสร้างความร่วมมือกับสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายแห่งเพื่อให้นิสิตมีแพลตฟอร์มระหว่างประเทศสำหรับการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ แบบลงมือปฏิบัติจริง
EFMD เป็นเครือข่ายระหว่างประเทศชั้นนำของยุโรปด้านการพัฒนาการจัดการที่มีสมาชิกมากกว่า 930 สถาบัน ใน 91 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม และมีสำนักงานในเจนีวา ฮ่องกง ไมอามีและปราก มีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการกว่า 30,000 คน จากแวดวงการศึกษา ธุรกิจ องค์กรสาธารณะและองค์กรที่ปรึกษา มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาทั่วโลก มีการจัดฟอรั่มสำหรับข้อมูลการวิจัย เครือข่าย และการอภิปรายเกี่ยวกับนวัตกรรม ฯลฯ
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้