ข่าวสารจุฬาฯ

บริหารความเสี่ยงอย่างไร ให้มหาวิทยาลัยรอดภายหลังสถานการณ์ COVID-19

ศูนย์บริหารความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอรายงานที่น่าสนใจจาก Deloitte ที่ต้องการแบ่งปันให้ผู้บริหารและคนทำงานในมหาวิทยาลัย ในประเด็นการบริหารความเสี่ยงอย่างไร ให้มหาวิทยาลัยรอดภายหลังสถานการณ์ COVID-19 เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบจากการระบาดของ โรคนี้ เป็นการพลิกวิกฤตสู่โอกาส และเพิ่มศักยภาพให้มหาวิทยาลัยอยู่รอดได้หลังสถานการณ์ COVID-19 โดยแบ่งออกเป็น 10 เทคนิค ดังนี้

1. วางแผนความเสี่ยงและแผนฟื้นฟูมหาวิทยาลัย (Plan for enterprise risk and resiliency)

เพื่อให้ยังคงสามารถสร้างโอกาสเชิงบวกและลดกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งประกอบด้วยทีมผู้นำที่มีความเข้มแข็งและกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change management) รวมทั้งทบทวนห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยเฉพาะความสัมพันธ์กับบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก

2. ทบทวนโมเดลดั้งเดิมในมหาวิทยาลัย (Rethink conventional models)

และโครงสร้างทางวิชาการของมหาวิทยาลัยใหม่ภายหลังวิกฤติ อาทิ การลงทุนด้านการศึกษา วิจัย หรือภารกิจอื่นๆของมหาวิทยาลัย รวมไปถึงปฏิทินการศึกษาแบบดั้งเดิมของมหาวิทยาลัย

3. ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลและกระบวนการวิเคราะห์ (Drive decisions using data and analytics)

เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและครอบคลุมรอบด้านมากยิ่งขึ้นที่จะเป็นการสร้างคุณค่าที่สูงขึ้น รวมทั้งแสดงข้อมูลที่ชัดเจนในเชิงปริมาณที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารความเสี่ยง

4. ทบทวนกระบวนการบริหารและดำเนินงาน (Rethink administration and operations)

ประเมินกลไกการบริหารเพื่อกำหนดว่าอะไรคือวิกฤติ แล้วแสวงหาโอกาสเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานในช่วงหลังวิกฤติ

5. ประเมินสุขภาพทางการเงิน (Assess financial health)

กระตุ้นให้เกิดการหารือเกี่ยวกับสภาวะทางการเงินของมหาวิทยาลัยทั้งในระยะกลางและระยะยาว ซึ่งหากพบว่าเกิดปัญหาเกี่ยวกับความยั่งยืนทางการเงิน มหาวิทยาลัยต้องเตรียมการรับมือให้ทันเวลา

6. ดูแลประสบการณ์ของนิสิตนักศึกษา (Curate the student experience)

ควรประเมินวิธีการรักษาหรือปรับกระบวนการให้เหมาะสมกับประสบการณ์ของนิสิตนักศึกษา การสร้างความรู้สึกให้พวกเขาเป็นสมาชิกคนสำคัญของมหาวิทยาลัย

7. ลงทุนแปลงระบบวิชาการสู่ดิจิตอล (Invest in academic digitization)

ปรับตัวสู่การเรียนการสอนบนโลกเสมือน (Virtual) มีผลกระทบต่อประสบการณ์ทางการศึกษาในรูปแบบที่เปลี่ยนไป ดังนั้นจึงเป็นโอกาสให้มหาวิทยาลัยกำหนดหรือออกแบบโมเดลทางการศึกษาใหม่ๆ

8. ปรับรูปแบบแฟ้มสะสมผลงานทางวิชาการใหม่ (Revisit the academic portfolio)

ความรู้สึกต่อคุณค่าของใบปริญญาในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากทักษะทางวิชาการเชิงเทคนิคและเกี่ยวกับการประกอบอาชีพที่มีประโยชน์มากกว่าเพื่อเปรียบเทียบกับองค์ความรู้ที่เน้นวิชาการแบบเก่า เพื่อสนับสนุนความต้องการใหม่ๆที่เกิดขึ้นในโลกของการศึกษาและการทำงาน

9. ให้ความสำคัญประเด็นความหลากหลายและการมีส่วนร่วม (Prioritize diversity and inclusion)

รวบรวมข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับอุปสรรคและความสามารถในการเข้าถึงซึ่งอาจเป็นตัวกำหนดตลาดเป้าหมายของมหาวิทยาลัย

10. เสริมความสัมพันธ์กับภาคส่วนภายนอก (Bolster relationships with external sector)

จัดเรียงความคาดหวังที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ บทบาทหน้าที่ และทักษะของแรงงาน กับความต้องการที่แปรเปลี่ยนไปตลอดเวลาของผู้เรียนและสังคมภายนอก

อ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่ http://www.urm.chula.ac.th/postcovid19response/

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า