ข่าวสารจุฬาฯ

ความเสี่ยงคนอ้วนกับโควิด-19

ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ หัวหน้าสาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงความเสี่ยงของผู้สูงอายุและคนอ้วนกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ว่า  ผู้สูงอายุวัย 65 ขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น รวมถึงผู้ที่โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ  หลอดเลือด หรือแม้แต่โรคมะเร็ง และคนที่กินยากดภูมิก็มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19ได้ง่าย ซึ่งเมื่อติดเชื้อแล้วจะทำให้โรคมีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่าย

จากการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการติดเชื้อโควิด-19 เกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง รองลงมาเป็นโรคหัวใจหลอดเลือด ส่วนความอ้วนเป็นสาเหตุอันดับ 3  แต่ในกลุ่มที่อยู่วัยทำงาน อายุระหว่าง 18 – 49 ปี โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1  ผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ขึ้นไป โดยเฉพาะคนที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี มีโอกาสที่จะป่วยเพิ่มมากขึ้น 2 – 3 เท่า นอกจากนี้ผลการศึกษาของชาวเมืองนิวยอร์คกว่า 7,000 คน พบว่าคนอ้วนป่วยเป็นโควิด-19  ถึง 40% และเป็นโรคเบาหวาน 34% ส่วนที่ประเทศจีน โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว และมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 มีโอกาสเสียชีวิต 88%  แต่ถ้าดัชนีมวลกายไม่ถึง 25 มีโอกาสเสียชีวิตแค่ 12% โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วตรวจพบว่ามีไขมันพอกตับด้วยก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสความรุนแรงของโรคได้มากขึ้น

ผศ.นพ.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า คนอ้วนเมื่อได้รับเชื้อโควิด -19  เชื้อจะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในร่างกาย ซึ่งในคนอ้วน เซลล์ไขมันในร่างกายจะมีตัวรับเชื้อโควิด-19 มากกว่าในปอด นอกจากนี้ความอ้วนถือเป็นการอักเสบเรื้อรัง หากเกิดการอักเสบเฉียบพลันจากโควิด-19 หรือปอดอักเสบก็จะรุนแรงกว่าคนอื่น ซึ่งเกี่ยวพันกับการเป็นโรคเบาหวาน ความดัน และหัวใจด้วย

“ถ้ามีทั้งโรคอ้วนและเบาหวาน ความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้น ส่วนความดันโลหิตสูงกับเบาหวานมีความสัมพันธ์กันทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรงจากโควิด-19 ได้ถึง 1.8 – 2.3 เท่า เชื้อโควิดจะเป็นตัวกระตุ้นให้การอักเสบรุนแรงมากขึ้นจนลามไปยังอวัยวะต่างๆ  เช่น ไตวาย หัวใจล้มเหลว ปอดล้มเหลว และสุดท้ายอาจทำให้เสียชีวิตได้” ผศ.นพ.สมเกียรติ กล่าว

 ผศ.นพ.สมเกียรติ แนะนำในเรื่องภาวะโรคอ้วนว่าให้คำนวณจากดัชนีมวลกาย โดยการเอาส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง x 25 ตัวเลขที่ออกมาจะเป็นน้ำหนัก ถ้าเกิน 25 กก./ตรม. ถือว่าอ้วน หรือใช้สายวัดรอบเอวตรงสะดือ หายใจตามปกติ ถ้าเกิน 85 เซนติเมตรในผู้หญิง หรือเกิน 90 เซนติเมตรในผู้ชาย ก็ถือว่าอ้วน ซึ่งอาจส่งผลต่อการติดเชื้อและเพิ่มความรุนแรงของโรคโควิด-19 ได้ โดยเฉพาะในรายที่มีไขมันพอกตับร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม หากรู้ว่าอ้วนแล้วขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งรีบไปออกกำลังกายแบบหนักๆ ควรเริ่มจากการเดินก่อน ไม่ต้องเดินเร็ว จะช่วยให้ภูมิต้านทานโรคต่างๆ จะดีขึ้นและช่วยคลายเครียด อีกส่วนหนึ่งคือ การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น พริกซึ่งมีสารช่วยป้องกันการอักเสบ ผักผลไม้ ปลา ถั่วงา การอดอาหารโดยเฉพาะมื้อเย็นช่วยทำให้ภูมิต้านทานของเราดีขึ้น ตามสูตรที่ว่า “2 มื้อ หมื่นก้าว ซาวน่า เจริญเมตตา สมาธิ”  เป็นการดูแลทั้งกายและใจป้องกันได้ทั้งโรคโควิด -19 รวมถึงเบาหวาน ความดัน หัวใจ ไขมัน

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า