ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ประกาศนโยบาย “10 Plus” ลดค่าเล่าเรียนนิสิตร้อยละ 10 ทุกระดับการศึกษา ทุกสาขาวิชา พร้อมมอบทุนทุกประเภทกว่า 5,000 ทุน และความช่วยเหลืออื่น ๆ แก่นิสิตที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

จุฬาฯ ประกาศนโยบาย “10 Plus” ลดค่าเล่าเรียนนิสิตร้อยละ 10 ทุกระดับการศึกษา ทุกสาขาวิชา พร้อมมอบทุนทุกประเภทกว่า 5,000 ทุน และความช่วยเหลืออื่น ๆ แก่นิสิตที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกาศลดค่าเล่าเรียนปีการศึกษา 2563 แก่นิสิตทุกระดับการศึกษา ทุกสาขาวิชาร้อยละ 10 พร้อมให้การสนับสนุนทุนทุกประเภทกว่า 5,000 ทุน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมกว่า 500 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือนิสิตและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิตจุฬาฯ ย้ำว่า “หลักการที่จุฬาฯ ยึดถือมาตลอด คือ “จะต้องไม่มีนิสิตจุฬาฯ คนใดที่ต้องออกจากจุฬาฯ เพราะไม่มีเงินเรียน” เฉพาะปีการศึกษา 2562 จุฬาฯ ได้พิจารณามอบทุนอุดหนุนการศึกษา และทุนสงเคราะห์สวัสดิภาพนิสิตไปแล้วกว่า 4,022 ทุน มูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมีความเห็นใจและเข้าใจความเดือนร้อนของนิสิตและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทางจุฬาฯ จึงได้พิจารณาการช่วยเหลือแก่นิสิตทุกระดับการศึกษา และทุกสาขาวิชาด้วยการดำเนินนโยบาย “10 Plus” คือ ลดค่าเล่าเรียนการศึกษาร้อยละ 10 โดยคณะและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถพิจารณาลดค่าธรรมเนียมการศึกษาที่นอกเหนือจากค่าเล่าเรียนได้อีก พร้อมสนับสนุนทุนการศึกษา และการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่นิสิต” โดยมีรายละเอียดในแต่ละด้าน ดังนี้  

การลดค่าเล่าเรียน

จุฬาฯ มีนโยบายลดค่าเล่าเรียนร้อยละ 10 แก่นิสิตในทุกระดับการศึกษาในปีการศึกษา 2563 ในทุกสาขาวิชา  ทั้งนี้ในแต่ละคณะ /หน่วยงานมีสิทธิพิจารณาลดการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับหลักสูตรพิเศษ และหลักสูตรที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมที่นอกเหนือจากค่าเล่าเรียนปกติได้อีก

การสนับสนุนทุนการศึกษา

แบ่งเป็นทุนประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  1. ทุนอุดหนุนการศึกษาสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี โดยยกเว้นค่าเล่าเรียนและช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตและค่าใช้จ่ายในการศึกษาในปีการศึกษาหน้า โดยเพิ่มทุนอุดหนุนการศึกษาจากเดิม ปีละประมาณ 3,000 ทุน เพิ่มเป็น 4,500 ทุน เป็นจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ประมาณ 120 ล้านบาท
  2. ทุนยกเว้นค่าเล่าเรียนสำหรับนิสิตปริญญาโท/เอก จัดสรรเพิ่มเติมจากเดิม 142 ทุน รวมเป็นเงินประมาณ 6 ล้านบาท

การช่วยเหลือค่าใช้จ่าย

แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  1. ทุนสงเคราะห์สวัสดิภาพนิสิต วงเงิน 30 ล้านบาท เป็นการให้ทุนช่วยเหลือนิสิตทุกระดับการศึกษาทั้งปริญญาตรี โท เอก และครอบครัวของนิสิตที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19  เช่น ถูกเลิกจ้าง ถูกลดเงินเดือน มีรายได้สุทธิต่อครัวเรือนไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป โดยจะสนับสนุนให้นิสิตคนละไม่เกิน 10,000 บาท ในขั้นแรกมีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือนิสิต 4,000 คน และอาจขยายจำนวนและวงเงินได้อีกตามความเดือดร้อนจำเป็น
  2. ทุนนิสิตช่วยงาน เพิ่มจากเดิมที่ใช้อยู่อีก 1.6 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการจ้างนิสิตให้มีงานทำในมหาวิทยาลัย โดนเน้นงานที่ทำออนไลน์ ได้ค่าจ้างชั่วโมงละ 100 บาท ไม่เกิน 500 บาทต่อวัน เริ่มตั้งแต่ 20 เมษายน 2563 เป็นต้นไป
  3. สวัสดิการนิสิตหอพัก ในปีการศึกษา 2562 ได้ดำเนินการเยียวยานิสิตหอพักกว่า 750 คนที่กลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 โดยจ่ายเงินค่าหอพักคืน 50% สำหรับนิสิตหอพักประเภทรายเทอม และยกเว้นเก็บค่าหอพัก 2 เดือน (เมษายน – พฤษภาคม) สำหรับนิสิตหอพักที่จ่ายแบบรายเดือน รวมเป็นเงินประมาณ 3.5 ล้านบาท และสำหรับค่าหอพักในปีการศึกษา 2563 ได้พิจารณาลดค่าหอพัก ร้อยละ 50-100 สำหรับนิสิตหอพักประเภทรายเทอม และลดค่าหอพัก ร้อยละ 25-50 สำหรับนิสิตหอพักประเภทรายเดือน โดยให้นิสิตที่มีความเดือดร้อนจำเป็นสมัครขอรับการช่วยเหลือมาได้
  4. การสนับสนุน SIM Card สำหรับการเรียนออนไลน์ให้นิสิต เพื่อให้นิสิตสามารถเรียนออนไลน์จากที่พักอาศัยได้อย่างสะดวก ตามประกาศจุฬาฯ เรื่องสนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ตั้งแต่ 23 มีนาคม – ธันวาคม 2563 รวมจำนวน SIM Card ที่มอบให้นิสิตประมาณ 5,000 ซิม ตามความเดือดร้อนจำเป็นและการร้องขอของนิสิต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ กล่าวทิ้งท้ายว่า “จุฬาฯ มีเกณฑ์พิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่นิสิตที่มีจำเป็นความเดือดร้อนเป็นอันดับแรก ขอให้นิสิตแจ้งความประสงค์เข้ามาผ่านระบบ CU NEX เรามีทุนการศึกษา พร้อมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายแก่นิสิต  และเร็ว ๆ นี้มหาวิทยาลัยจะมีการพิจารณาจัดสรรเงินและมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก เช่น การยืดเวลาการชำระค่าเล่าเรียน การให้การสนับสนุนอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ เป็นต้น เพื่อช่วยเหลือนิสิตให้ครอบคลุมทุกด้าน ขอให้นิสิตติดตามข่าวของจุฬาฯ ที่จะมีการประกาศต่อไป”

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า