ข่าวสารจุฬาฯ

8 Checklist เตรียมมหาวิทยาลัยทรานฟอร์มการทำงานหลัง Unlockdown

ศูนย์บริหารความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอบทความ “8 Checklist เตรียมมหาวิทยาลัยทรานฟอร์มการทำงานหลัง Unlockdown” สำหรับใช้เป็นเครื่องมือให้ผู้บริหารและคนทำงานได้ตรวจสอบดูว่ามหาวิทยาลัยและองค์กรพร้อมหรือยัง ที่จะปรับรูปแบบการทำงานภายหลังจากพ้นจากมาตรการล็อกดาวน์ โดยมีรายการที่ควรตรวจสอบ (Checklist) ดังนี้

  1. กำหนดกลยุทธ์เพื่อช่วยให้บุคลากรยังคงรู้สึกเชื่อมโยงการทำงาน มีความผูกพันกับองค์กร และมีประสิทธิภาพภายใต้รูปแบบใหม่ของการทำงาน
  2. ประเมินความต้องการความช่วยเหลือและดูแลเพิ่มเติมของบุคลากรเกี่ยวกับการทำงานรูปแบบใหม่
  3. ตรวจสอบระบบโครงสร้างพื้นฐานและวางแผนความสามารถของมหาวิทยาลัยเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถสนับสนุนการทำงานรูปแบบใหม่ได้ เช่น Remote Working, Virtual Meeting, Digital Platform เป็นต้น
  4. จัดโปรแกรมเพิ่มสมรรถนะบุคลากรในการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีดิจิตอล เช่น ความรู้ ทักษะ/ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  5. วางแผนงานและรูปแบบสนับสนุนการทำงานรูปแบบใหม่เพื่อรองรับกรณีเกิดเหตุขัดข้องหรือชะงักในการทำงาน เช่น คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ขัดข้อง ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รวมถึงการปรับตัวกับสภาวะการทำงานใหม่ของมหาวิทยาลัย (Onboarding) หรือการถ่ายโอนความรู้และทักษะการทำงานจากบุคลากรคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งหากมีการลาออกเกิดขึ้น (Offboarding) เป็นต้น
  6. สร้างระบบรักษาความปลอดภัย (Security) ของรูปแบบการทำงานใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานรูปแบบใหม่มีความปลอดภัยทางด้านข้อมูลและโจรกรรมออนไลน์
  7. ลงทุนวิเคราะห์ลักษณะของผู้ใช้งาน (User Persona) เพื่อเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อภารกิจของมหาวิทยาลัย และทำความเข้าใจความต้องการสนับสนุนและความสามารถให้ดียิ่งขึ้น
  8. สร้างแผนภาพของกระบวนการทำงานสำคัญของมหาวิทยาลัย (Journey Mapping) เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานรูปแบบใหม่ที่กำหนดไว้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจริง

สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารและคนทำงานในมหาวิทยาลัยควรคำนึงควบคู่กับรูปแบบการทำงานหรือระบบงานที่เป็นส่วนสนับสนุนประสิทธิภาพประสิทธิผลแล้ว คือคำตอบที่ว่า “Next Value” หรือคุณค่าในช่วงต่อไปของมหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไร จะส่งมอบอะไรให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคมต่อจากนี้ไป ทั้งนี้เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถยืดหยัดฝ่ามรสุมต่างๆ และปรับตัวอย่างต่อเนื่องได้ทันการณ์

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: http://www.urm.chula.ac.th/8checklist/

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า