ข่าวสารจุฬาฯ

“ครูผู้สร้างพลเมืองกับการออกแบบและจัดการเรียนรู้ใหม่ในสถานการณ์ COVID-19”

จากงาน Redesigned Symposium เวทีการนำเสนอและแลกเปลี่ยนบทเรียนการทำงานของครู คณาจารย์ และนักการศึกษาในเครือข่าย Thai Civic education ในหัวข้อ “ครูผู้สร้างพลเมืองกับการออกแบบและจัดการเรียนรู้ใหม่ในสถานการณ์ COVID-19″ ซึ่งศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับโครงการ Learning Redesigned in the New Normal และเครือข่าย Thai Civic Education จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2563  มีงานเสวนาย่อย 3 หัวข้อ  โดยคุณวรเชษฐ แซ่เจีย ผู้ช่วยวิจัยประจำศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้สรุปสาระสำคัญของงานเสวนาดังนี้

 – Remote and Online Learning ออนไลน์? ทางไกล? ไหวไม่ไหว ยังไงต้องไหว
คุณครู 7 ท่านจาก 6 โรงเรียน และหลากหลายภูมิภาคได้แลกเปลี่ยนแนวทางการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ทั้งในระหว่างการทดลองเรียนทางไกลช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา และการวางแผนเตรียมการจัดการเรียนรู้ช่วงเปิดเรียน พบว่าทุกโรงเรียนจะเริ่มต้นด้วยการสำรวจข้อมูลความพร้อมของทางบ้านก่อน จากนั้นจึงมีการทบทวนแนวการจัดการเรียนรู้​ ออกแบบการเรียนรู้ใหม่ที่สามารถส่งเสริมการเรียนตนเอง​ และการสร้างปฏิสัมพันธ์แบบช่องทางออนไลน์​ โดยตัดสินใจเลือกแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์บริบทของผู้เรียน​ และเลือกเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านโลกออนไลน์ที่เหมาะสมกับบทเรียนที่ออกแบบใหม่ และเมื่อโรงเรียนจะเปิดเรียนในภาคเรียนที่ 1 ในเดือนกรกฎาคมนี้ ก็ได้มีแผนการดำเนินงานรองรับไว้แล้ว โดยบางโรงเรียนจัดให้เรียนแบบสลับวันประกอบการการจัดตารางเรียนแบบเหลื่อมเวลา บางโรงเรียนก็จัดให้เรียนแบบสลับเวลา รวมถึงการวางแผนการสนับสนุนการสอนด้วยการจับบัดดี้ครูช่วยกันสอน​ โดยแผนงานทั้งหมดคำนึงถึงข้อจำกัดด้านสาธารณสุขและข้อมูลความพร้อมของนักเรียนทุกคนแล้ว

– Learning Package for Offline Mode ถึงมือ ถึงบ้าน ใบงานและชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ยังมีโรงเรียนในอีกหลายบริบทที่ไม่พร้อมที่จะเรียนออนไลน์แบบเต็มรูปแบบ คุณครูและศึกษานิเทศก์ได้บอกเล่าถึงความท้าทายของการจัดการเรียนรู้ทางไกลในช่วงที่ผ่านมาในบริบทสังคมที่แตกต่างกัน ทั้งเศรษฐสถานะ ความพร้อมในการเรียนรู้ ความคิดความเชื่อที่มีต่อการศึกษา เป็นต้น ทำให้ครูต้องปรับตัวและออกแบบการเรียนรู้ออฟไลน์​ ในลักษณะใบงาน​ และชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง​ โดยสำรวจ​ ออกแบบ​ และนำส่งถึงมือผู้เรียน​ โดยคำนึงถึงกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสมกับระดับความสามารถตามช่วงวัย​ ความพร้อมของนักเรียน​ และผู้ปกครองในการสนับสนุนผู้เรียนเป็นรายบุคคล นอกจากครูยังมีบทบาทในการเป็นสื่อกลางสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือกับระหว่างโรงเรียน ชุมชน และครอบครัวที่มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน

 – Adapt, Connect and Collaborate บทบาทใหม่ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยในภาวะ New Normal
ไม่เพียงแต่การศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนเท่านั้น แม้แต่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาก็ได้รับผลกระทบจากการต้องย้ายการเรียนรู้แทบทั้งหมดขึ้นไปอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์และช่องทางสื่อสารทางไกลเช่นกัน โดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและวิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้มาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างกะทันหัน การวางแผนการจัดการเรียนรู้ในปีการศึกษาใหม่ท่ามกลางแนววิถีใหม่ การเตรียมความพร้อมให้นิสิตที่จะฝึกสอนและนิสิตที่เข้าโครงการครูคืนถิ่น นอกจากนี้ ยังมีการบอกเล่าประสบการณ์การทำงานกับชุมชนทั้งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียน และกิจกรรมที่จัดให้นักศึกษาเป็นอาสาสมัครการศึกษา เพื่อช่วยเหลือการเรียนรู้ทางไกลของเด็กในชุมชนใกล้บ้านด้วย

ในช่วงท้ายมีข้อคำถามชวนคิดที่น่าสนใจจากผู้เข้าร่วมงานถึงบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการในการช่วยเหลือคุณครู เช่น อยากให้บุคลากรทางการศึกษาในทุกภาคส่วนมีอิสระในการออกแบบการบริหารจัดการมากขึ้นและไม่ถูกจำกัดด้วยระเบียบที่เกินจำเป็น ส่วนกลางไม่ควรมุ่งเน้นข้อมูลที่สะท้อนภาพความสำเร็จของมาตรการหรือการจัดการของโรงเรียน แต่ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาแนวปฏิบัติที่จะช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างรอบด้าน

ผู้สนใจติดตามข้อมูลโดยละเอียดจากการนำเสนอและเสวนาในแต่ละหัวข้อได้ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ และชมวิดีโอบันทึกการถ่ายทอดสดได้ที่ 

(https://www.facebook.com/watch/live/?v=326336305025855&ref=watch_permalink)

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า