รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 มิถุนายน 2563
ข่าวเด่น
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา บราซิล รัสเซีย และอินเดีย จำนวนผู้ติดเชื้อยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นได้อีก ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดในระดับโลกอีกครั้งเป็นรอบที่สอง
ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน ผศ.ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ ผศ.ดร.สบิณฑ์ ศรีวรรณบูรณ์ ผศ.ดร.ภัทเรก ศรโชติ และ รศ.ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส คณาจารย์สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ในมิติของสังคมสูงวัยซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่เข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัยแล้ว เช่น ประเทศญี่ปุ่น และหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งประเทศไทย
ผลกระทบทางสังคมและทางเศรษฐกิจ ประการแรกคือ ผลกระทบต่อตลาดแรงงานและความสามารถในการผลิตในส่วนของแรงงานสูงวัย
เป็นที่ทราบกันดีว่ามาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดแรงงานและความสามารถในการผลิต แม้ว่าหลายประเทศได้เริ่มลดระดับมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมไปบ้างแล้ว แต่กลุ่มแรงงานสูงวัยก็มักจะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าไปทำงาน ทั้งจากความสมัครใจของผู้สูงวัยเอง หรือจากนโยบายของรัฐ (อาทิ กรณีที่ผู้ว่ารัฐนิวยอร์ก ได้แนะนำให้เริ่มต้นการเปิดเมืองโดยเริ่มจากแรงงานวัยหนุ่มสาวก่อน) เพราะกลุ่มแรงงานสูงวัยมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่สูงกว่าประชากรในวัยอื่น ดังนั้น แรงงานสูงวัยอาจจะต้องรอจนถึงวันที่การผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายถึงจะสามารถกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อีกครั้งก็เป็นได้
หากอ้างอิงข้อมูลจาก The Census Population Survey ของประเทศสหรัฐอเมริกา จะพบว่าในปี 2562 แรงงานที่มีอายุมากกว่า 55 ปีนั้นมีมากกว่า 36 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 23 เปอร์เซ็นต์ และกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2541 มาจากการจ้างงานในกลุ่มประชากรสูงวัยทั้งสิ้น ดังนั้นประชากรสูงวัยที่ยังมีสุขภาพดี มีการศึกษาดี และมีประสิทธิผลในการทำงานสูง ก็ยังถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต นอกจากนี้ งานวิจัยชั้นนำทางเศรษฐศาสตร์หลายชิ้นยังพบว่า การตกงานเป็นเวลานานของผู้สูงวัยจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ “Unemployment Scarring” หรือ ปรากฏการณ์แผลเป็นจากการตกงาน ซึ่งเกิดจากการที่แรงงานสูงวัยได้สูญเสียทักษะที่สำคัญในการทำงานไปเนื่องจากการตกงานเป็นระยะเวลานาน และอาจจะทำให้แรงงานเหล่านี้ไม่สามารถกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อีกเลย ทั้งนี้ ก่อนวิกฤตโควิด-19 หลายประเทศทั่วโลกมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงวัยกลับเข้าร่วมในตลาดแรงงานเพื่อลดผลกระทบจากการขาดรายได้ของผู้สูงวัยและลดภาระของรัฐสำหรับค่าใช้จ่ายจากสวัสดิการต่างๆของผู้สูงวัย แต่การแยกผู้สูงวัยออกจากภาคเศรษฐกิจนั้นจะทำให้มาตรการส่งเสริมผู้สูงวัยในตลาดแรงงานไม่สามารถทำได้
สำหรับผลกระทบทางสังคมและทางเศรษฐกิจประการที่สองคือ ปัญหาหนี้สาธารณะจากการรับมือกับวิกฤตโควิด-19 ประเทศที่มีสัดส่วนประชากรสูงวัยในระดับที่สูงก็มักจะมีค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นจากสวัสดิการสำหรับผู้สูงวัยในระดับที่สูงอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการรับมือวิกฤตโควิด-19 อาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและหนี้สาธารณะสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัว เพราะประเทศที่มีสัดส่วนประชากรสูงวัยในระดับสูงจะมีอัตราการเสียชีวิตหรือการป่วยในขั้นวิกฤตของประชากรจากโรคโควิด-19 ในระดับที่สูงมากเช่นกัน อ้างอิงรายงานของเว็บไซต์ worldometers ซึ่งรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก พบว่า ประเทศอิตาลีและประเทศสเปนมีอัตราการเสียชีวิตของประชากรจากโรคโควิด-19 ในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 10 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศเหล่านี้จะต้องใช้ทรัพยากรและงบประมาณทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาชีวิตพวกเขาไว้ได้ก็ตาม
ส่วนผลกระทบทางสังคมและทางเศรษฐกิจประการที่สามคือ ปัญหาสุขภาพจิตใจของผู้สูงวัยจากการถูกแยกออกจากภาคเศรษฐกิจและสังคม โดยสาเหตุสำคัญที่จะต้องแยกผู้สูงวัยเป็นเพราะผู้สูงวัยมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มากกว่าประชากรในวัยอื่น โดยงานวิจัยของ Armitage และ Nellums (2020) พบว่า การที่ผู้สูงวัยถูกแยกออกจากภาคเศรษฐกิจและสังคม โดยให้อยู่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะทำให้ผู้สูงวัยมีสุขภาวะทางจิตที่แย่กว่าและมีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้าได้สูง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคที่อาจจะตามมาอีกหลายประการ นอกจากนี้ผู้สูงวัยจำนวนไม่น้อยที่ “ไม่มีลูกหลาน” คอยดูแลทั้งทางด้านการเงินและทางด้านจิตใจ
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้