รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 มิถุนายน 2563
ข่าวเด่น
การสืบสานและอนุรักษ์ภาษาไทยไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของเราทุกคนซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีง่ายๆ โดยการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องในการติดต่อสื่อสาร
ณัฐวุฒิ จันทะลุน นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหนึ่งในเยาวชนไทยผู้มีใจรักในวิชาภาษาไทยมาตั้งแต่เด็กและใช้ความรู้ทางด้านภาษาไทยที่เขาชื่นชอบพิสูจน์ความสามารถให้ทุกคนเห็นเป็นที่ยอมรับ จนคว้ารางวัลทางด้านการพูดและการใช้ภาษาไทยในเวทีต่างๆ มาแล้วมากมาย เช่น รางวัลรองชนะเลิศการประกวดสุนทรพจน์เฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ ประจำปี 2562 รอบคัดเลือก กรุงเทพฯ จัดโดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ รางวัลนักโต้วาทีดีเด่น การแข่งขันโต้วาทีประเพณีน้องใหม่ ปีการศึกษา 2560 รางวัล MC of Chula รุ่นที่ 5 ภาคพิธีการ และรางวัลชมเชยเพชรยอดมงกุฎภาษาไทย ปี 2558 เป็นต้น
ณัฐวุฒิ กล่าวว่าการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องทำให้ผู้ที่รับสารมีความเข้าใจตรงกับสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารออกไป และช่วยลดอุปสรรคในการสื่อสาร เช่น ความสับสนหรือความกำกวมที่จะเกิดขึ้น การใช้ภาษาไทยในการแข่งขันด้านการพูด เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ จะเน้นการใช้ประโยคให้ถูกต้อง ใช้ภาษาที่สละสลวย เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว ไม่มีการตอบรับของผู้ฟัง และมีระยะเวลาในการพูดที่จำกัด จึงต้องเตรียมพร้อมในการพูดมาเป็นอย่างดี มีการเรียงลำดับเนื้อหาที่จะพูด ใช้คำศัพท์ให้โดนใจผู้ฟัง ที่สำคัญต้องระวังในเรื่องการใช้คำราชาศัพท์ ประโยคที่พูดออกไปต้องถูกต้อง ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับระดับของภาษา
“การใช้ภาษาไทยทุกวันนี้ต้องคำนึงถึงกาลเทศะและโอกาสที่ใช้ ยิ่งเป็นการพูดที่มีความเป็นทางการ เช่น การพูดหน้าชั้นเรียน การเขียนรายงาน ฯลฯ ควรคำนึงถึงการใช้ภาษาที่ตอบสนองกับบริบทนั้น ๆ สื่อความที่ชัดเจน ความเหมาะสมของคำศัพท์ที่ใช้ ฯลฯ ที่สำคัญที่สุดและทุกคนสามารถทำได้โดยง่ายก็คือการสะกดคำให้ถูกต้องซึ่งเป็นพื้นฐานของการใช้ภาษาไทย วิธีที่ง่ายที่สุดคือการตรวจสอบความถูกต้องของตัวสะกดและความหมายของคำที่ใช้จากราชบัณฑิตยฯ แอปพลิเคชัน” ณัฐวุฒิ ฝากข้อคิดทิ้งท้าย
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้