รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 มิถุนายน 2563
ข่าวเด่น
“สยามสแควร์” ย่านการค้าใจกลางเมืองกับทัศนียภาพที่สวยงาม พร้อมความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง และบริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด ดำเนินการนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงใต้ดิน เพื่อทัศนียภาพอันสวยงาม โดยเริ่มนำร่องดำเนินการให้สยามสแควร์เป็นพื้นที่ไร้สายไฟฟ้าและสายสื่อสารอย่างแท้จริง ภายในปี 2563 จากนั้นจะเดินหน้าสานต่อขยายพื้นที่ไร้สายต่อเนื่องไปยังพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ภายใต้โครงการ CHULA SMART CITY
รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สิน และกายภาพ จุฬาฯ กล่าวถึงนโยบายที่เปิดให้พันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ (Chula Smart City) เพื่อร่วมกันศึกษา พัฒนารูปแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในพื้นที่การดูแลของจุฬาฯ และพัฒนาชุมชนเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้แก่
– การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมด้วยการติดตั้งโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสง Fiber Optic Cable (FOC) ฝังในระดับใต้ดิน เพื่อใช้ทดแทนสายสื่อสารเดิมทั้งหมด โดยบริษัท ทรู อินเตอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด
– นำร่องดำเนินการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่สยามสแควร์ บนเนื้อที่ 63 ไร่ประกอบด้วยอาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน ตึกสูง และร้านค้าจำนวนมาก สยามสแควร์ถือเป็นแลนมาร์คสำคัญด้านการท่องเที่ยวที่อยู่ใจกลางเมือง เป็นศูนย์กลางการ Shopping แหล่งรวมร้านค้าแฟชั่นที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก ในอนาคตจะมีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็น Walking Street ประกอบกับมีการออกแบบลวดลายบนฝาท่อ Fiber Optic Cable ของสยามสแควร์ และนำมาใช้จริงบนพื้นที่สยามสแควร์รวม 11 จุด ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการออกแบบลวดลายบนฝาท่อ ได้แก่ น.ส.ชัญญา ตั้งจิตวินัย นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
– ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาระบบจ่ายไฟฟ้า โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อรองรับโครงการเมืองจุฬาฯ อัจฉริยะ (Chula Smart City) โดยครอบคลุมทั้งพื้นที่การศึกษาและพื้นที่พาณิชย์ รวม 1,153 ไร่ ล้อมรอบไปด้วยถนนพระราม 4 – ถนนพระราม 1 – ถนนบรรทัดทอง – ถนนอังรีดูนังต์ โดยมีการพัฒนาโครงการต่างๆ ประกอบด้วย
– ปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าเป็นระบบไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เพียงพอ มั่นคง ปลอดภัย มีทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จุฬาฯ ให้สวยงามภายในปี 2562 และครอบคลุมทั้งพื้นที่จุฬาฯ ภายในปี 2564
-พัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ซึ่งในพื้นที่จุฬาฯ มีศักยภาพในการติดตั้ง Solar rooftop ประมาณ 20 เมกะวัตต์
-ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน (Energy storage System) ขนาด 1.2 เมกะวัตต์ชั่วโมง ที่สถานีไฟฟ้าย่อยปทุมวัน ภายในปี 2563
-พัฒนาระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) ภายในปี 2564 สามารถเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ซึ่งหัวใจสำคัญในการเชื่อมโยงและบริหารจัดการพลังงาน ในพื้นที่ Smart City
-พัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ภายในปี 2564 ควบคุมและแก้ไขระบบไฟฟ้าขัดข้องอย่างอัตโนมัติ อาทิคุณภาพไฟฟ้า เช่น แรงดันไฟฟ้า ให้อยู่ในมาตรฐานการให้บริการ และผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าได้ในปัจจุบัน
การพัฒนาพื้นที่ภายใต้โครงการ CHULA SMART CITY มีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่จุฬาฯ ให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ โดยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นย่านแห่งนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าแก่ชุมชนและสังคม ผสานคุณภาพชีวิตและธุรกิจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้