รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 กรกฎาคม 2563
ข่าวเด่น
ในโลกยุคดิจิทัลที่การเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเข้าถึง Social Media เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน การพบปะพูดคุยสื่อสารกันผ่าน Smartphone, Tablet, PC และ Laptop กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตที่หลายคนไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยที่เราไม่รู้ตัว หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่ต้องการทราบถึงผลกระทบจากการใช้งานสมาร์ทโฟนต่อสุขภาพของคุณ SmartUHealth แอปพลิเคชันประเมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการใช้งานสมาร์ทโฟนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสามารถช่วยคุณได้
รศ.ดร.วัฒนสิทธิ์ ศิริวงศ์ รองคณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ เปิดเผยถึงที่มาของการพัฒนาแอปพลิเคชัน SmartUHealth (Smart User Health) ว่า ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนในกลุ่มอายุ 18 – 24 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุด โดยเฉลี่ยใช้งานสมาร์ทโฟน 6 ชั่วโมงต่อวัน จากการสำรวจผลกระทบของสมาร์ทโฟนต่อสุขภาพ ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อายุ 18 -24 ปี จำนวน 500 คน ด้วยการส่งแบบสอบถามและลงพื้นที่สัมภาษณ์ด้วยตัวเอง ผลที่ได้น่ากังวลและห่วงใยว่าผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากการใช้งานเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการพัฒนาแอปพลิเคชัน SmartUHealth จะช่วยตอบโจทย์ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนให้เข้าถึงการประเมินความเสี่ยงสุขภาพของตนเองได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถประเมินความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตนในการใช้งานสมาร์ทโฟน รวมถึงประเมินความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นทางกาย ใจ และสังคม ที่เกิดจากการใช้งานสมาร์ทโฟนได้ด้วยตนเองและสามารถทราบผลได้ทันที นอกจากนี้แอปพลิเคชันนี้ยังมีส่วนสำคัญในการแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับการใช้งานสมาร์ทโฟน เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้นได้
รศ.ดร.วัฒนสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า แอปพลิเคชัน Smart U Health เป็นแอปแรกของประเทศไทยที่ทำกับกลุ่มนิสิต นักศึกษา เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีจำนวนชั่วโมงในการใช้โทรศัพท์ในแต่ละวันสูง เพื่อประเมินผลกระทบได้ด้วยตนเองว่าผลกระทบต่อสุขภาพอยู่ในระดับใด และจะมีคำแนะนำประกอบการประเมินว่าผลกระทบทางกายจะเป็นอย่างไร และต้องทำอย่างไรเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีการทดสอบความรู้ในการใช้โทรศัพท์มือถือด้วยว่าผู้ใช้งานมีความรู้ความเข้าใจในการใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กโทรนิกส์อื่นๆ อย่างปลอดภัยหรือไม่ รวมถึงทัศนคติของการใช้งานว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อมีการใช้โทรศัพท์มือถือ และประเมินการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ทำให้เกิดการตระหนักต่อการใช้โทรศัพท์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
“แอปพลิเคชันนี้ถูกออกแบบให้เป็น Friendly Application เหมาะกับผู้ใช้งานในกลุ่มบุคคลทั่วไป เริ่มต้นจากผู้ใช้งานสามารถตั้งชื่อ เลือกรูปโปรไฟล์การ์ตูนแทนตัวเองได้ จะมีตัวการ์ตูนเจ้าเหมียวเป็นตัวดำเนินเรื่อง ทำให้การใช้งานแอปพลิเคชันนี้ไม่น่าเบื่อ การตอบแบบประเมินแต่ละส่วนจะทำให้เจ้าเหมียวทำภารกิจนั้นๆ ได้สำเร็จ เมื่อผู้ใช้งานตอบแบบประเมินแต่ละส่วนเรียบร้อยแล้วผู้ใช้งานจะมีสิทธิ์ดาวน์โหลดวอลเปเปอร์ลายน่ารักๆ ที่เราออกแบบไว้ไปใช้งานได้ ทั้งนี้ในหน้าจอที่แสดงผลการประเมินนั้นจะทำให้ผู้ประเมินเห็นระดับความเสี่ยงของตัวเองได้อย่างชัดเจน” รศ.ดร.วัฒนสิทธิ์ กล่าวเสริม
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.วัฒนสิทธิ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงสิ่งที่จะต่อยอดต่อไปในแอปพลิเคชันนี้ว่า จะทำเป็นโปรแกรมเทรนนิ่งออนไลน์ ให้ผู้ประเมินได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในการใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น ระหว่างวันควรใช้โทรศัพท์มือถือไม่เกิน 20 นาที พักสายตา 20 วินาที หรือถ้ามีอาการนิ้วล็อกควรทำอย่างไร จะมีการเตือนว่าเมื่อใช้โทรศัพท์ไปได้เท่าใดควรหยุดพักเพื่อทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง จะเป็นการเทรนนิ่งไปเรื่อยๆ จนครบ 1 เดือน ทำให้ผู้ใช้เกิดความชินและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่างๆ ที่แอปพลิเคชันส่งไปอัตโนมัติให้กับผู้ใช้ และมีการตอบกลับว่าทำได้อย่างคำแนะนำหรือไม่ ซึ่งน่าจะทำให้สุขภาวะของผู้งานดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนิสิตนักศึกษา แอปพลิเคชันนี้จะช่วยลดปัญหาต่างๆ จากการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
“อยากให้ดาวน์โหลดมาใช้กัน เพื่อประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพจากการใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งบางครั้งเราคิดว่าเป็นปัญหาเล็กๆ แต่พอมองลึกลงไปแล้ว มันไม่ใช่แค่ปัญหาสุขภาพร่างกาย แต่อาจส่งผลกระทบทางด้านจิตใจและลามไปถึงสังคมได้อีกด้วย ปัญหาเล็กๆ ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาใหญ่ขึ้นได้ ไม่มีใครที่จะรู้ตัวเองได้ดีเท่ากับตัวเรา ซึ่งเมื่อเรารู้ตัวเองก็จะสามารถดูแลป้องกันเพื่อไม่เกิดปัญหาขึ้นกับตัวเราได้” รศ.ดร.วัฒนสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย
แอปพลิเคชัน SmartUHealth เปิดให้ดาว์นโหลดฟรีแล้ว ทั้งโทรศัพท์สมาร์ทโฟนระบบ IOS และ ANDROID
IOS DOWNLOAD: https://apps.apple.com/us/app/smart-u-health/id1513492948?l=th&ls=1
ANDROID DOWNLOAD: https://play.google.com/store/apps/details?id=th.co.progaming.smartuhealth
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้