รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 กรกฎาคม 2563
ข่าวเด่น
จุฬาฯ ภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนของคนไทยขึ้นสู่ Top 100 ของโลกด้านชื่อเสียงทางวิชาการ จากการจัดอันดับโดย QS World University Rankings 2021ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาร่วมการจัดอันดับกว่า 1,600 แห่งจากทั่วโลก สะท้อนการทำงานหนักของชาวจุฬาฯ ที่เป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกโดยไม่ทอดทิ้งสังคมไทยไว้ข้างหลัง ภายใต้แนวคิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาฯ อีกวาระหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เปิดเผยว่า “จุฬาฯ มุ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับโลก แต่จุฬาฯ จะไม่ทอดทิ้งสังคมไทย ไม่ทิ้งปัญหาของคนไทย โดยจุฬาฯ มุ่งเน้นการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน การที่จุฬาฯ ได้ก้าวสู่อันดับที่ 96 ของโลกในด้านมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางวิชาการ (Academic Reputation) จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย Quacquarelli Symonds (QS) World University Rankings 2021 เป็นสิ่งสะท้อนถึงการพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยอย่างไม่หยุดนิ่งโดยประชาคมจุฬาฯ เพื่อพัฒนาคน พร้อมกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะช่วยนำพาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน ทำให้วันนี้ จุฬาฯ เป็นต้นแบบมหาวิทยาลัยที่สรรสร้างนวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อสังคม ซึ่งสามแกนหลักที่จุฬาฯ มุ่งผลักดันพัฒนาให้ถึงขีดสุด คือ “การพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบสูง และมุ่งความยั่งยืนทางสังคม”
“การพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต บัณฑิตจุฬาฯ ต้องเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของประเทศและโลก ดังนั้น จุฬาฯ จึงสร้างบัณฑิตให้มีทักษะทันสมัยของศตวรรษที่ 21 โดยมีหลักสำคัญสามประการ ได้แก่ มีความรู้พื้นฐานเชิงวิชาการ (Fundamental literacy) มีสมรรถนะในการแข่งขันแก้ปัญหาของสังคมโลกที่ซับซ้อน และต้องรู้จักคิด สงสัย หลอมรวม และกล้าที่จะท้าทายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งผมคิดว่า ทักษะเหล่านี้ควรมีอยู่ในระบบการศึกษาทุกระดับของไทยด้วย” ศ.ดร.บัณฑิต กล่าว
ในด้านการการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบสูง อธิการบดีจุฬาฯ เผยว่า “นวัตกรรมของจุฬาฯ เกิดขึ้นจากความคิดที่ต้องการใช้นวัตกรรมมาช่วยแก้ปัญหาของสังคมไทย ในวันที่สังคมไทยมีปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จุฬาฯ ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เรานำองค์ความรู้มาสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่การป้องกัน – ตรวจสอบ – และแก้ไข กล่าวคือ จุฬาฯ ได้ผลิตนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ได้แก่ สเปรย์ฉีดเพิ่มประสิทธิภาพหน้ากากอนามัย หน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield) ดีไซน์ใหม่ที่เบาเป็นพิเศษ และเครื่องพ่นละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ส่วนนวัตกรรมการตรวจสอบโควิด-19 ได้แก่ Chula COVID-19 Strip Test ตู้ความดันลบ และเครื่องตรวจโควิด-19 อัตโนมัติที่รู้ผลเร็ว และแม่นยำถึง 99% นอกจากนี้ในแง่การแก้ไขผลกระทบจากโควิด-19 จุฬาฯ ไม่เพียงเป็นผู้นำการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA และวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบยาสูบแห่งแรกของประเทศไทย แต่จุฬาฯ ยังมองไกลถึงผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมซึ่งทำให้คนว่างงานเป็นจำนวนมาก จุฬาฯ จึงเปิดคอร์สเรียนออนไลน์ฟรีแก่คนทั่วไป ได้แก่ Chula MOOC, Quick MBA และ Coursera เพื่อเพิ่มทักษะคนอย่างรอบด้าน เพื่อให้พวกเขาแข็งแรงและกลับมาเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศได้อีกครั้ง”
นอกจากนี้ ในแง่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ศ.ดร.บัณฑิต กล่าวว่า จุฬาฯ กำหนดให้ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) เป็นหลักคิดในการดำเนินนโยบายของมหาวิทยาลัยตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา จุฬาฯ ได้เริ่มต้นการพัฒนาอย่างยั่นยืนด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และได้ขยายขอบเขตการทำงานไปสู่การยกระดับงานวิจัยให้สอดคล้องกับหลัก SDGs อีกทั้งยังทำงานในเชิงโครงสร้างนโยบายของมหาวิทยาลัยด้วย จนทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นที่หนึ่งของประเทศไทย และที่ 45 ของโลกด้านบทบาทในการพัฒนาระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน ในการประกาศผลการจัดอันดับของ The Times Higher Education University Impact Rankings 2020 (THE University Impact Rankings 2020) ซึ่งเป็นการประเมินบทบาทและคุณูปการของมหาวิทยาลัยตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ
อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมขอเป็นตัวแทนชาวจุฬาฯ ขอบคุณทุก ๆ คน ที่มีส่วนร่วมอย่างสำคัญทำให้จุฬาฯ ได้รับเกียรติเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการครองตำแหน่ง Top100 ของโลกในด้านมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางวิชาการ (Academic Reputation) จากการจัดอันดับโดย QS World University Rankings 2021 ผมขอย้ำว่า จุฬาฯ จะเป็นมหาวิทยาลัยอันดับโลกของคนไทยทุกคน เราพร้อมนำนวัตกรรมมายกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมไทยและโลกให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน”
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้