ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ จิตอาสา ฉีดวัคซีนทำหมันสุนัขและแมวจรจัด ดูแลสวัสดิภาพสัตว์ในรั้วจุฬาฯ

ปัญหาสุนัขและแมวจรจัดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลทำให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้าซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การฉีดวัคซีนและการทำหมันสุนัขและแมวจรจัดเพื่อลดจำนวนประชากรสุนัขและแมว จึงเป็นมาตรการหนึ่งในการเพิ่มสวัสดิภาพแก่สัตว์และลดผลกระทบจากปัญหาต่างๆ ที่ตามมาเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน กลุ่มนิสิตสัตวแพทย์จุฬาฯ เพื่อสวัสดิภาพสัตว์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นการรวมตัวกันของนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ที่มีจิตอาสาซึ่งได้นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้จริงโดยได้ดำเนินการฉีดวัคซีนทำหมันสุนัขและแมวจรจัดในพื้นที่คณะสัตวแพทยศาสตร์และ บริเวณใกล้เคียง มาตั้งแต่ปี 2559 สำหรับปีนี้เป็นการจัดโครงการเป็นปีที่ 5 ภายใต้ชื่อโครงการ “สัตวแพทย์ จุฬาฯ เพื่อสวัสดิภาพสัตว์ในรั้วจุฬาฯ” ซึ่งเป็นโครงการร่วมกับฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลสัตว์เล็กจุฬาฯ โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำทะเบียนข้อมูลประวัติสุนัขและแมวจรและขยายพื้นที่การดูแลสัตว์จรจัดให้มากขึ้น ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นไป

            พงษ์ศิริ นาคผดุงสุข นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประธานกลุ่มนิสิตสัตวแพทย์จุฬาฯ เพื่อสวัสดิภาพสัตว์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯเปิดเผยถึงที่มาของกลุ่มว่าเริ่มจากเมื่อ  5  ปีที่แล้วมีกลุ่มนิสิตสัตวแพทย์ที่มีความเป็นห่วงในความเป็นอยู่และสวัสดิภาพของสัตว์ที่ถูกทอดทิ้งและสัตว์จรจัดทั้งในคณะและบริเวณโดยรอบ จึงได้เริ่มทำโครงการและจัดกลุ่มขึ้นมาเพื่อเข้ามาดูแลสัตว์เล่านี้โดยในปีนี้ทางกลุ่มจะได้รับการจัดตั้งเป็นชมรมสมาชิกกลุ่มเป็นนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยกิจกรรมของกลุ่มที่ผ่านมานอกจากจะเข้าไปช่วยดูแลสัตว์จรจัดแล้ว ยังมีการจัดWorkshop ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพสัตว์เบื้องต้น การให้ความรู้ทางเพจFacebookของชมรมในเรื่องการดูแลสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์ และประชาสัมพันธ์   หาบ้านสัตว์ กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตสัตว์อาทิ การทำของเล่น การฉีดวัคซีน การถ่ายพยาธิ การหยดยากำจัดเห็บหมัดและพาสัตว์ในโครงการไปเดินเล่น เป็นต้น

            โครงการช่วยเหลือสุนัขและแมวจรจัดในรั้วจุฬาฯ ในระยะแรกเริ่มจากสุนัขและแมวจรจัดในคณะสัตวแพทยศาสตร์ จากนั้นจึงขยายไปยังพื้นที่โดยรอบ  ขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มจากการสำรวจพื้นที่ว่ามีสุนัขและแมวจำนวนเท่าใด จากนั้นจึงให้ความช่วยเหลือด้วยการฉีดวัคซีน ทำหมัน การทำข้อมูลประวัติสุนัขและแมวจรเหล่านั้นให้บริการความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ารวมทั้งการดูแลสัตว์อย่างถูกต้องซึ่งนิสิตในกลุ่มฯ มีการแบ่งหน้าที่กันทำงานในฝ่ายต่างๆ เช่นฝ่ายประสานงานฝ่ายดูแลสุขภาพสุนัขและแมว ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯลฯ

“สมาชิกชมรมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปีปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 50 คน ไม่รวมนิสิตปี 1 โดยมี อ.สพ.ญ.ดร.จุฑามาส เบ็ญจนิรัตน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ปีที่ผ่านมาเราสามารถทำหมันสุนัขจรจัดบริเวณอาคารสถาบัน 2 ได้เกือบ 100% โดยใช้วิธีการ TNR (Trap Neuter Release) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยมูลนิธิ SOS สานสายใยชีวิตเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ และโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีการหาบ้านให้ลูกสุนัขเพิ่งเกิด นำไปฉีดวัคซีน และคัดกรองผู้ที่สนใจจะนำลูกสุนัขไปเลี้ยงว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน” พงษ์ศิริ กล่าว

            พงษ์ศิริเล่าถึงโครงการในปีนี้ว่าเน้นการลงพื้นที่สำรวจประชากรสุนัขและแมวจรจัดโดยเพิ่มพื้นที่ สำรวจในคณะเภสัชศาสตร์คณะทันตแพทยศาสตร์ หอพักนิสิตจุฬาฯสำนักงานวิทยทรัพยากรอาคารสถาบัน 2 อาคารสถาบัน 3 หลังจากนั้นจะประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะเพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของสุนัขและแมวในจุฬาฯ  ดียิ่งขึ้น

            “ประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานในโครงการนี้ ทำให้ได้รับความรู้ในเรื่องการควบคุมประชากรสัตว์ได้เรียนรู้การเข้าหาสัตว์ ได้ฝึกทักษะในการจับบังคับสุนัขและแมว การป้อนยา การทำแผล ที่สำคัญคือรู้สึกดีใจที่ได้หาบ้านให้น้องหมาน้องแมว อยากให้คนที่สนใจจะเลี้ยงสัตว์ขอให้ดูความพร้อม หาข้อมูลหรือปรึกษาสัตวแพทย์ก่อน ควรรับผิดชอบชีวิตเขาให้เต็มที่ การรับเลี้ยงสุนัขและแมวจรจัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งจะเปลี่ยนชีวิตเราให้มีความรับผิดชอบในการดูแลสัตว์และช่วยให้สัตว์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย”พงษ์ศิริกล่าวแนะนำ

          ผู้สนใจสามารถติดตามกิจกรรมต่างๆของกลุ่มนิสิตสัตวแพทย์จุฬาฯ เพื่อสวัสดิภาพสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ที่ Facebook : Johnjud

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า