ข่าวสารจุฬาฯ

“หมายเลข 60” ชุดความรู้ใหม่ของนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยสู่นิทรรศการผลงานของ พิเชษฐ กลั่นชื่น ศิลปินระดับโลก

สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญทำความรู้จักกับนาฏศิลป์ไทยแบบใกล้ตัวมากขึ้นในนิทรรศการ “สาธิต หมายเลข 60”  ของพิเชษฐ กลั่นชื่น ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จัดแสดงตั้งแต่บัดนี้  –  25 สิงหาคม  2563 ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 09.30 – 16.30 น. (จำกัดผู้เข้าชมสูงสุด 25 ท่านในพื้นที่)

‘หมายเลข 60’ เป็นชุดความรู้ที่มีที่มาจากการถอดรื้อท่ารำแม่บทใหญ่ 59 ท่า และแสดงออกมาในรูปของไดอะแกรมมีองค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบ กว่าจะมาเป็นหมายเลข 60 พิเชษฐ กลั่นชื่น ได้เริ่มกระบวนการ “ถอดความเทพประนม” หรือรื้อโครงสร้างท่ารำแม่บท ซึ่งใช้เวลากว่า 15 ปีจึงเขียนภาพทั้งหมดเสร็จ จากนั้นเขาได้ทดลองนำองค์ความรู้นี้ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงชื่อว่า “Dancing with  Death” world premier ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2559 ซึ่งการแสดงครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ  เขาไม่รับงานเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อค้นหาว่าอะไรคือองค์ความรู้นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยที่เขาตามหา

จากปี 2559 จนถึงปี 2562 พิเชษฐได้ค้นหาและพัฒนาจนมาเป็นองค์ความรู้ นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย “หมายเลข 60”  โดยได้สร้างผลงานการแสดง ชุด ‘No. 60’ world premiere ไปแล้วเมื่อต้นปี 2563 ที่ประเทศญี่ปุ่น และจะจัดแสดงอีกหลายเทศกาลระดับนานาชาติจนถึงปี 2564

นิทรรศการ “สาธิต หมายเลข 60”  จึงเป็นนิทรรศการที่จะพาผู้เข้าชมเข้าสู่โลกนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยที่ศิลปินใช้เวลาคิดค้นและทดลองปฏิบัติมากว่า 20 ปี ประกอบด้วยภาพวาดไดอะแกรมถอดชุดองค์ความรู้จากท่ารำแม่บทใหญ่ควบคู่กับภาพท่ารำ 59 ท่าแบบดั้งเดิม และบันทึกการแสดงการสาธิตพร้อมการบรรยายโดยศิลปิน นิทรรศการนี้จะช่วยให้ผู้ชมเข้าใจโลกของนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยในแบบพิเชษฐ กลั่นชื่อ นาฏศิลปินที่บุกเบิกกรุยทางร่วมสมัยจนก้าวสู่การเป็นศิลปินระดับโลก

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Chula Museum  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2218 3645

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า