รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 กรกฎาคม 2563
ข่าวเด่น
สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในช่วงเวลาที่ผ่านมาซึ่งหลายคนต้องทำงาน Work from Home ส่งผลให้การเรียนรู้ทางออนไลน์เป็นที่นิยมเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับหลักสูตร CHULA MOOC ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ ซึ่งเปิดคอร์สเรียนออนไลน์ในวิชาต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2560 ก็ได้รับความสนใจจากประชาคมจุฬาฯ และผู้สนใจทั่วไปอย่างล้นหลามเช่นกัน หลายวิชาใน CHULA MOOC มีผู้สมัครเรียนเต็มจำนวนในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงในปัจจุบันก็ยังคงมีผู้สมัครเข้าเรียนออนไลน์ในวิชาต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ดร.ภัทรชาติ โกมลกิติ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เปิดเผยว่า CHULA MOOC เป็น Lifelong Learning สำหรับคนทั่วไป รวมไปถึงการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง ในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะในเดือนเมษายน มีการเปิดวิชาต่างๆ ใน CHULA MOOC ให้ผู้สนใจเรียนเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เคยเปิดเดือนละ 5 วิชา เปิดเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 5 วิชา รวมเป็น 25 วิชาในเดือนเมษายน ผลตอบรับที่ได้คือทุกวิชาในเดือนนั้น 5,000 ที่นั่งเต็มหมด หลังจากเริ่มคลาย Lockdown คนเริ่มกลับมาทำงานตามปกติ แต่วิชาต่างๆ ของ CHULA MOOC ก็ยังเป็นที่นิยมค่อนข้างสูงเนื่องจากคนเริ่มเปิดใจกับการเรียนออนไลน์มากขึ้น
“วิชาในหมวดภาษาจะเต็มเร็วมาก บางครั้งเปิดไป 3 ชั่วโมงก็เต็มแล้ว แม้จะเปิดรับผู้เรียนในหมวดวิชานี้เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ที่นั่ง ผู้เรียนก็ยังเต็มเหมือนเดิม เราเพิ่งปรับปรุงเว็บไซต์ CHULA MOOC ไปเมื่อเดือนมิถุนายน ซึ่งในเว็บไซต์ใหม่มีความสวยงาม ใช้งานง่ายขึ้น มีการแบ่งวิชาอย่างชัดเจนสำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไปและวิชาที่เปิดเป็นพิเศษสำหรับนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ในทุกๆ เดือนจะมีการเปิดวิชาใหม่โดยเฉลี่ยประมาณ 2 วิชา ดังนั้นจะมีวิชาใหม่ผสมวิชาเก่าที่เปิดให้เรียนออนไลน์ทุกเดือนๆ ละ 5 วิชา วิชาที่ได้รับความนิยมจะนำมาเปิดให้เรียนใหม่ทุกๆ 3-4 เดือน ปัจจุบันมีการเปิดวิชาต่างๆ ใน CHULA MOOC ไปแล้วมากกว่า 70 วิชา ซึ่งจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกประมาณ 30 วิชา เพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการสร้างคลังความรู้ดิจิตอลสำหรับประชาชนทั่วไป” ดร.ภัทรชาติ กล่าว
ในส่วนของหลักสูตร CHULA MOOC Achieve ดร.ภัทรชาติ เผยว่า เป็นหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนในภาคธุรกิจนำไปใช้ประกอบกิจการหรือทำงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรเพิ่มขึ้น มีการเปิดสอนด้วย Pathway ต่างๆ โดยในปี 2563 มีการเปิดตัว Pathway ที่มีชื่อว่า “Thinking Like a Programmer” เนื่องจากในโลกยุคดิจิทัลเช่นปัจจุบัน ทักษะเรื่อง Coding มีความสำคัญ จึงมีการพัฒนาเป็นวิชาเกี่ยวกับ Coding ผู้เรียนจะเริ่มต้นจากพื้นฐานการพัฒนาการเขียนโปรแกรม ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีพอสมควร
ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ ให้ข้อมูลว่า ทุกวันนี้การเรียนออนไลน์ มีทั้งการจัดการเรียนสอนออนไลน์ในรายวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ซึ่งศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้รับผิดชอบงานในส่วนนี้ด้วย นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนกระบวนการการจัดเรียนการสอนใหม่ อีกส่วนหนึ่งคือการให้ความรู้ผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งได้เริ่มรับความนิยมอย่างมาก จุดเด่นที่ชัดเจนของ CHULA MOOC ก็คือ การเป็น Platform มีการประเมินผลที่แตกต่าง นอกจากการเรียนแล้วยังมีกิจกรรมให้ทำ ผู้เรียนต้องตอบคำถาม ความรู้ จะเกิดขึ้นไม่ได้จากการรับฟังอย่างเดียวแต่ต้องลงมือปฏิบัติด้วย นอกจากนี้แต่ละบทเรียนย่อยของ CHULA MOOC เป็นบทเรียนที่ผ่านการออกแบบล่วงหน้าว่าจาก 1 ถึง 10 ผู้เรียนจะเดินตามเส้นทางที่ออกแบบไว้ โดยมีกรรมการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
“การเรียนออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ และน่าจะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ทั้ง ในแง่ของข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง รวมไปถึงวัฒนธรรมที่เริ่มปรับเปลี่ยน คนเริ่มเปิดใจกับการเรียนออนไลน์ มากขึ้น มหาวิทยาลัยส่งเสริมให้คณาจารย์นำเนื้อหาวิชาที่มีความจำเป็นในการตอบโจทย์กับสังคมไทยมาเปิดสอนใน CHULA MOOC ปัจจุบันจุฬาฯ มีเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวกับนวัตกรรมอยู่พอสมควร รวมทั้งมีจัดการเรียนการสอนแบบ Blended Learning คณาจารย์ผู้สอนสามารถนำ content มาพัฒนาเป็นรายวิชาที่เป็นออนไลน์ และนำมาปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัย สามารถเข้าถึง content ที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้” ดร.ภัทรชาติ กล่าวในที่สุด
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมการเปิดหลักสูตรต่างๆ ของ CHULA MOOC ได้ที่ https://mooc.chula.ac.th/
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้