ข่าวสารจุฬาฯ

“สาธารณสุขไทย” อีกหนึ่งทางรอดของประเทศไทย ภายหลังสถานการณ์โควิด-19

สภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทั่วโลกบวกกับปัญหาการเมืองทั้งในและนอกประเทศที่เกิดขึ้นในหลายปีที่ผ่านมาส่งผลให้หลายธุรกิจมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ธุรกิจที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการดูแลสุขภาพกลับมีอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้น  มีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับบริษัทในอนาคต มีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

          สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ ได้นำเสนอบทความเรื่อง “สาธารณสุขไทย… อีกหนึ่งทางรอดของประเทศไทย” โดยได้ให้ข้อมูลว่าประเทศไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติในเรื่องของการสาธารณสุข เพราะมีบุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานระดับโลก มีบริการที่ดีและทันสมัย ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีเม็ดเงินจำนวนมหาศาลลงทุนในกลุ่มโรงพยาบาล และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการด้านสุขภาพอื่นๆ อีกทั้งยังมีการสนับสนุนจากภาครัฐตามแผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับปัจจุบันที่เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2559 – 2568 มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เข้ามารับบริการเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งมีโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์สมัยใหม่และการแพทย์ครบวงจรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor, EEC) ภายใต้เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ในอาเซียนที่ภาครัฐให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากในปี 2562  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI) ได้รับคำยื่นขอการส่งเสริมการลงทุนในด้านอุตสาหกรรมการแพทย์กว่า 26 โครงการ คิดเป็นเม็ดเงินราว 8,147 ล้านบาท (ที่มา: BOI) 

        ในส่วนของตลาดทุนพบว่า ปัจจุบันมีบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในกลุ่มธุรกิจการแพทย์รวม 23 บริษัท คิดเป็นมูลค่าทางตลาด 640,000 ล้านบาท หรือ 4.66% ของมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักในกลุ่มนี้คือกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาล กลุ่มธุรกิจนี้มีการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากรูปที่ 1 ที่แสดงจำนวนโรงพยาบาลและเตียงผู้ป่วยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

        สถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจการแพทย์ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เนื่องจากจำนวนคนไข้ที่ลดลงตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา คนไทยส่วนมากหลีกเลี่ยงการเดินทางไปโรงพยาบาลถ้าไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงมากนัก ในขณะที่ผู้ป่วยต่างขาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ ทำให้รายได้ของกลุ่มโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่มีอัตราลดลง ในทางตรงกันข้าม กลุ่มโรงพยาบาลที่มีขนาดเล็กกลับมีรายได้เพิ่มขึ้นจากระบบประกันสังคมอันเนื่องมาจากฐานสมาชิกประกันสังคมที่ใหญ่ขึ้นและมีการปรับเพิ่มอัตราค่าบริการทางการแพทย์ในปี 2563 ให้แก่สถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคม เป็น 3,959 บาท/คน/ปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม  2563 และยังได้รับอานิสงค์จาก “ประกันสังคม” เพิ่มสิทธิรักษาผู้ประกันตนกลุ่มเสี่ยง-ป่วยโควิด-19 โดยคณะกรรมการประกันสังคม มีมติเห็นชอบเรื่องหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2563 ที่จะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาลในกลุ่มประกันสังคม ด้วยเหตุนี้ รายได้ของกลุ่มโรงพยาบาลที่มีขนาดเล็กในตลาด จดทะเบียนมีอัตราเติบโตสูงขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2562  โดยรวมกลุ่มธุรกิจการแพทย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จึงมีรายได้ที่คงที่ 

          ปัจจุบันสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยดีขึ้นมาก มีการคลายล็อคดาวน์ ผู้ป่วยในประเทศได้มีการกลับมารักษาตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 60-70% และมีความเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยจากต่างประเทศจะกลับเข้ามาทันทีหลังจากที่รัฐบาลไทยประกาศเปิดประเทศให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาได้ เนื่องจากประเทศไทยมีความสามารถในการจัดการกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดีเยี่ยมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก สาธารณสุขไทยเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในสายตาของชาวโลก

         อีกหนึ่งประเด็นที่น่าจับตามองที่ส่งผลให้ธุรกิจในกลุ่มการแพทย์สามารถเพิ่มศักยภาพในการยกระดับทางด้านการปฎิบัติงาน คือ การปรับตัวในยุค Technology Disruption เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพสู่มิติใหม่ๆ แก้ปัญหาข้อจำกัดด้านความเพียงพอและการกระจุกตัวของบุคลากร ธุรกิจในกลุ่มการแพทย์จำเป็นต้องศึกษาและพัฒนาระบบบริการสุขภาพทางไกล(อาทิ Telemedicine หรือ Teleconsultant เป็นต้น) เพื่อเพิ่มการได้เปรียบในการเป็นผู้นำทางการตลาด MediTech ต่อไป ดังนั้นการที่รัฐบาลไทยกำหนดให้อุตสาหกรรมการแพทย์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ของประเทศ จึงส่งผลดีทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทย และอาจจะช่วยต่อลมหายใจให้กับประเทศไทยในยุคโควิด-19  ดั่งแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ไปต่อได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

            สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ โทร.0-2218-3853

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า