รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 กรกฎาคม 2563
ข่าวเด่น
นับตั้งแต่ประเทศไทยประสบปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานอย่างหนักและมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ การสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ทันสมัยเพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เพิ่มความปลอดภัยในการรักษาผู้ติดเชื้อจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ไม้ไฑ ดะห์ลัน นิสิตปริญญาโทภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และผู้ช่วยนักวิจัยประจำภาควิชาฯ เป็นหนึ่งในทีมพัฒนา “หุ่นยนต์” ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในช่วง COVID-19 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์และนิสิตปริญญาโทและปริญญาเอกที่เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาหุ่นยนต์ประเภทต่างๆ โดยไม้ไฑได้ร่วมพัฒนา “นินจา” หุ่นยนต์สื่อสารทางไกล (Telepresent Robot) ที่ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อของแพทย์และพยาบาล เนื่องจากสามารถควบคุมการทำงานและสื่อสารกับผู้ป่วยจากระยะไกลโดยไม่ต้องสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง และยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพ เช่น ความดัน คลื่นหัวใจ และอุณหภูมิได้อีกด้วย
“ในช่วงต้นปีที่ COVID-19 กำลังระบาดในประเทศไทย หุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยเป็นที่ต้องการอย่างมาก เมื่อได้รับการติดต่อขอความช่วยเหลือเข้ามา ทีมงานที่พัฒนาหุ่นยนต์จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จึงได้ทำการดัดแปลงหุ่นยนต์เดิมที่มีอยู่ส่งไปช่วยเหลือแพทย์ผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ดังกล่าว รู้สึกดีใจมากที่หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมานั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์และช่วยเหลือคุณหมอได้จริง” ไม้ไฑเผยถึงที่มาและความรู้สึกที่ได้มีส่วนร่วมพัฒนาหุ่นยนต์ในครั้งนี้
ไม้ไฑกล่าวเพิ่มเติมว่าเมื่อ COVID-19ผ่านไป หุ่นยนต์ดังกล่าวก็ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามจุดประสงค์เดิม เช่น หุ่นยนต์ Desktop ที่มีฟังก์ชั่นในการทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบ Video Conference สามารถนำไปช่วยแพทย์ในการติดต่อสื่อสารกับคนไข้ได้ หรือหุ่นยนต์ที่มีฟังก์ชันในการวัดและบันทึกสัญญาณชีพก็อำนวยความสะดวกให้แพทย์ในการวัดความดัน วัดคลื่นหัวใจ วัดปริมาณออกซิเจนในเลือดได้
ไม้ไฑเป็นนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ ที่มีผลงานโดดเด่นตั้งแต่เป็นนิสิตปริญญาตรี โดยได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 (RDC 2015) และรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2559 ผลงานวิชาการของไม้ไฑได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่างประเทศและได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการประชุมวิชาการในระดับนานาชาติมาแล้ว ปัจจุบันไม้ไฑสำเร็จการศึกษาปริญญาโทและจะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในเดือนตุลาคมนี้ โดยผลงานวิทยานิพนธ์ของเขาเป็นการศึกษาเรื่อง “ระบบควบคุมแบบปรับตัวได้พร้อมการควบคุมแรงฉุดลากสำหรับหุ่นยนต์ขับเคลื่อนสองล้อ” และกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกในภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
แม้จะประสบผลสำเร็จทั้งในด้านการศึกษาและคว้ารางวัลด้านการพัฒนาหุ่นยนต์มาแล้ว แต่ไม้ไฑก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ต่อไปเพื่อให้การทำงานของหุ่นยนต์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่สามารถหลบหลีกผู้คนได้ เดินขึ้นบันไดเองได้ หุ่นยนต์สำหรับยกของได้ เป็นต้น
ติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหุ่นยนต์ทางการแพทย์ของจุฬาฯ ได้ที่ LINE: @curobocovid หรือ Facebook : CU-RoboCovid https://bit.ly/2UIgcsb
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้