รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 กรกฎาคม 2563
ข่าวเด่น
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนและสถานศึกษาที่นักเรียนจะต้องปรับตัวกับการเรียนการสอนในชีวิตปกติใหม่ (New Normal) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคดิจิทัล เช่นเดียวกับบทบาทของครูอาจารย์ต้องปรับตัว รับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อต่างๆ ที่เหมาะสมกับการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนในชั้นเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง
“สื่อการเรียนรู้” (instructional media) มีบทบาทสำคัญมากในการจัดการการเรียนรู้ คุณสมบัติสำคัญของสื่อเปรียบได้กับการสื่อสาร การเรียนรู้ในชั้นเรียน ผู้สอนจะถ่ายทอดเนื้อหาต่างๆ ไปยังผู้เรียนโดยผ่าน“สื่อการเรียนรู้” ไปยังผู้เรียน
ผศ.ดร.พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการใช้สื่อให้เหมาะสมกับเด็กนักเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุค New Normal ว่า ในการออกแบบสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอนอาศัยหลักการ ASSURE Model หรือการใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบโดยใช้แบบจำลอง ประกอบด้วย การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน การกำหนดวัตถุประสงค์ การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อใหม่ การใช้สื่อ การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน และการประเมินผล ซึ่งในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้ใช้โมเดลนี้เพื่อช่วยให้ผู้สอนออกแบบวางแผนสื่อการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
ผศ.ดร.พรสุข อธิบายเพิ่มเติมถึงองค์ประกอบในการออกแบบสื่อ เริ่มจากการวิเคราะห์ผู้เรียนว่ามีคุณลักษณะอย่างไร มีข้อจำกัดในตัวผู้เรียนหรือตัวเนื้อหาหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถออกแบบบทเรียนได้สอดคล้องกับบุคลิกของผู้เรียนได้มากขึ้น จากนั้นจึงวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ว่าสื่อที่ผลิตขึ้นมานั้นจะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้เรื่องอะไร เลือก ดัดแปลงหรือว่าออกแบบใหม่ ในการใช้สื่อต้องคำนึงว่าเราจะนำสื่อมาใช้เพื่ออะไร จากนั้นจึงตรวจสอบว่าจะให้ผู้เรียนตอบสนองอย่างไร บางครั้งการแสดงเนื้อหาอย่างเดียวโดยไม่ได้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมก็อาจจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายได้ สุดท้ายคือการประเมินผล
“สำหรับคุณครูหลายท่านที่อาจจะไม่ถนัดในเรื่องของการผลิตสื่อหรือผลิตองค์ประกอบการเรียนรู้ว่าทำอย่างไร จุฬาฯ เราก็มี Chula Mooc ให้ศึกษาเพิ่มเติม หลายบทเรียนเป็นบทเรียนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอน รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน หรือจะเป็นสื่ออื่นๆ เช่น YouTube ก็สามารถทำให้เป็นองค์ความรู้หรือนำมาประยุกต์ใช้กับห้องเรียนได้ ในเว็บไซต์ต่างๆ ก็มีสอนการผลิตสื่อ มีเพจที่เกี่ยวกับแบ่งปันตั้งแต่แผนการสอน รูปแบบการสอน หรือสื่อการสอน เราก็จะสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมได้ค่ะ” ผศ.ดร.พรสุข กล่าว
อ.ดร.ปิยานี จิตร์เจริญ อาจารย์โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ (ฝ่ายประถม) กล่าวถึงความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ว่า สื่อที่เราเห็นส่วนใหญ่เป็นสื่อที่จับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ หนังสือเรียน รวมถึงสื่อที่เป็นตัวบุคคล เช่น ครู ผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังหมายถึงอาคารต่างๆ รวมไปถึงกิจกรรมซึ่งสามารถช่วยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อในโรงเรียนที่สอนเด็กประถมจะมีความสัมพันธ์กับเด็กอย่างมาก นอกจากจะทำให้เด็กมีความสนใจกับบทเรียนแล้ว ยังทำให้เด็กเกิดการรับรู้ ไม่ว่าจะผ่านการสัมผัสของจริงหรือการมองเป็นภาพ เด็กเล็กจะมีช่วงความสนใจที่ต่างไปจากเด็กโต ดังนั้นครูผู้ใช้สื่อควรนำสื่อมาใช้ให้เหมาะกับวิชาและโอกาส ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน ทำให้สิ่งที่ซับซ้อนเข้าใจได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเห็นภาพ ที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติและความเป็นจริงได้มากที่สุด
,สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แก่นักเรียน ซึ่งสื่อที่ใช้มีทั้งประเภทสื่อทำมือ และสื่อออนไลน์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่โพสต์ไว้ในแพลตฟอร์มต่างๆ ของโรงเรียนจะช่วยให้เด็กติดตามบทเรียนได้อย่างไม่ขาดตอน นอกจากนี้สื่อที่โรงเรียนจัดทำขึ้นต้องทำให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจด้วย ทั้งนี้ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ได้นำแพลตฟอร์มในการเรียนออนไลน์ในรูปของแอปพลิเคชัน CUD Smart School มาใช้ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ Tablet หรือว่าโทรศัพท์ แอปพลิเคชันนี้จะบรรจุสิ่งต่างๆ ที่คล้ายเป็นห้องเรียนเสมือนจริงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรายวิชาที่เด็กๆ จะต้องเข้าไปเรียน ตารางเรียน ไฟล์วีดีโอ แบบฝึกหัดหรือเอกสารเพื่อให้นักเรียนดาวน์โหลดนำไปใช้งาน ทำให้เด็กๆ มีความต่อเนื่องในการเรียน” ดร.ปิยานี กล่าว
ปัจจุบัน โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ (ฝ่ายประถม) ได้กลับมาเปิดการเรียนการสอนเป็นปกติแบบ 100% ในห้องเรียน โดยมีนโยบายการจัดการเกี่ยวกับระยะห่างทางกายภาพให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อาทิ มีการจัดห้องเรียนรูปแบบใหม่ การคัดกรองด้วยเครื่อง thermal scan ก่อนเข้าสู่โรงเรียน รวมถึงขอความร่วมมือจากเด็กๆ ในการเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันให้มีระยะห่างมากขึ้น
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคสมทบกองทุนเพื่อการวิจัยด้านศัลยศาสตร์ สนับสนุนการพัฒนาและนวัตกรรมทางการแพทย์
เชิญชวนบุคลากรจุฬาฯ ร่วมกิจกรรม “เฮลท์ตี้…Young? เติมพลังชาวจุฬาฯ” รุ่นที่ 2
จุฬาฯ จับมือ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต มอบความคุ้มครองให้บุคลากร ปีที่ 2 พร้อมลงนามสัญญายกระดับให้บริการทันตกรรม
บทความพิเศษ ศศินทร์ จุฬาฯ: ส่องการศึกษาไทยในยุคที่เด็กเกิดน้อย
จุฬาฯ – สสว. ส่งเสริม SMEs ไทยสู่ความมั่นคงและยั่งยืนด้วยนวัตกรรม AI รายงาน Carbon Footprint
อธิการบดีจุฬาฯ ชี้อนาคตการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องปรับบทบาทใหม่
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้