รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 กรกฎาคม 2563
ข่าวเด่น
การแข่งขัน “โต้วาทะเว้นระยะทางสังคม” เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่แสดงถึงความสามารถในการโต้วาทีของนิสิตจุฬาฯ ซึ่งชมรมวาทศิลป์และมนุษยสัมพันธ์ร่วมกับศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ (SHECU) จัดการแข่งขันทางออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2563 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เราทุกคนต้องปฏิบัติตามมาตรการ Social Distancing จากสถานการณ์โควิด-19 การแข่งขันเดินทางมาถึงโค้งสุดท้าย โดยการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจะจัดขึ้นในงานสัปดาห์ความปลอดภัย Chula Safety 2020 : New Normal สู่วัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืน” ในวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 ทางเพจของชมรมวาทศิลป์และมนุษยสัมพันธ์ และ SHECU
การแข่งขันโต้วาทีออนไลน์ในครั้งนี้มีที่มาและความพิเศษอย่างไร ต้นนัน ซง นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ประธานชมรมวาทศิลป์และมนุษยสัมพันธ์ จุฬาฯ ให้ข้อมูลว่า การแข่งขันโต้วาทีรายการนี้จัดขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดงานให้เป็น New Normal ด้วยการจัดการแข่งขันโต้วาทีแบบออนไลน์ซึ่งยังไม่เคยมีการจัดมาก่อน กิจกรรมนี้เป็นโอกาสให้สมาชิกในชมรมได้ทำกิจกรรมโต้วาทีร่วมกันอีกครั้ง ประกอบกับทาง SHECU ต้องการสร้างการรับรู้ให้นิสิตจุฬาฯ ในเรื่องความสำคัญของความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน จึงเกิดเป็นการโต้วาทีที่เป็น Chula Debate from Home
สำหรับญัตติในการแข่งขันจะเป็นประเด็นทางสังคมที่กำลังมีความสำคัญอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของความปลอดภัย เป็นญัตติที่สามารถโต้วาทีได้อย่างสนุกสนาน มีประเด็นให้ถกเถียงกันได้อย่างเปิดกว้าง ปัญหาหลักคือเรื่องระบบเสียง เนื่องจากต้องทำให้ทั้งฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านได้ยินสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งพูดได้อย่างชัดเจน ไม่ติดขัด โดยมีการปรับกติกาการแข่งขันให้มีความเหมาะสมกับการโต้วาทีแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น เช่น ลดระยะเวลาที่ใช้ในการโต้วาทีของหัวหน้าฝ่ายและผู้สนับสนุนแต่ละฝ่าย มีการปิดไมโครโฟนทันทีเมื่อครบเวลา เพื่อให้ผู้โต้วาทีมีสมาธิมากขึ้น
ประธานชมรมวาทศิลป์และมนุษยสัมพันธ์ จุฬาฯ เผยถึงประสบการณ์ที่ได้จากการจัดงานครั้งนี้คือ ทักษะการทำงานเป็นทีม ต้องมีการประสานงานกับคนจำนวนมาก ซึ่งในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถเจอหน้ากันได้เหมือนช่วงเวลาปกติ ดังนั้นทุกคนจะต้องรู้หน้าที่ของตัวเอง และทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้การแข่งขันดำเนินไปได้ด้วยความราบรื่น อีกสิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้คือทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งอาจเกิดปัญหาที่คาดไม่ถึงขึ้นได้
“การโต้วาทีเป็นการหยิบยกประเด็นต่างๆ มาโต้แย้งกันบนพื้นฐานของแนวคิดที่ว่าทุกคนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ เราสามารถยกเหตุผลและข้อเท็จจริงขึ้นมาโต้แย้งแนวคิดที่ต่างกันโดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องมีความขัดแย้งกัน ทำให้เกิดการตกผลึกองค์ความรู้ใหม่หรือความเข้าใจที่ดีขึ้น เป็นการเปิดมุมมองความคิดให้กว้างขึ้น ทำให้เราเข้าใจความคิดของคนอื่นๆ มากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการอยู่ร่วมกันในสังคม และอยู่ร่วมกับคนที่มีความเห็นต่างกันได้ การสนับสนุนให้มีการเปิดเผยมุมมองความคิดอย่างสร้างสรรค์จะเป็นการพัฒนาสังคมในรูปแบบประชาธิปไตยที่ดีครับ” ต้นนัน กล่าว
ติดตามชมการแข่งขันโต้วาทะเว้นระยะทางสังคมรอบชิงชนะเลิศ ระหว่างทีม “ลงโต้ไม่ลงใจ” และทีม”Power Puff Girls” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัปดาห์ความปลอดภัย Chula Safety 2020 ในวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา 12.30 – 14.15 น. รับชมการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook จุฬาฯ ชมรมวาทศิลป์และมนุษยสัมพันธ์ และ SHECU นอกจากนี้ยังสามารถรับชมการโต้วาทีในรอบต่างๆ ย้อนหลังได้อีกด้วย
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้