ข่าวสารจุฬาฯ

“มหกรรมงานวิจัย 2563”จุฬาฯ รับเกียรติบัตรรับรองวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย

“มหกรรมงานวิจัย 2563”จุฬาฯ รับเกียรติบัตรรับรองวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวรายงานการจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020)”
ทั้งนี้ พิธีเปิดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐา
ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดงานในวันที่ 4 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 น.

รศ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดงานภาคการประชุมและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง “พลังขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” พร้อมมอบโล่และประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (National Ethics Committee Accreditation System of Thailand : NECAST) และพิธีมอบเกียรติบัตรรับรองเป็น “วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (Training for the trainers) โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี เป็นตัวแทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการรับมอบเกียรติบัตร และในการเสวนาภาคบ่าย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ  เป็นวิทยากรร่วมเสวนาในหัวข้อเรื่อง “พลิกวิกฤต  โควิด-19 ด้วยนวัตกรรมการแพทย์ (วิศวกรรมชีวเวชและปัญญาประดิษฐ์)

“มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563” จัดขึ้นระหว่าง 2-6 สิงหาคม 2563 เป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมระดับชาติ ซึ่งจัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15 ปี เพื่อเชื่อมโยงบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติเชิงนโยบาย วิชาการ สังคม/ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรม ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายวิจัยทั่วประเทศ โดยปี 2563 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” มี Mascot ประจำปี ได้แก่ น้องแกล้งดิน โดยภายในงานจัดแบ่งการนำเสนอเป็น 5 กลุ่มงานวิจัย ได้แก่ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม  งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขัน  งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG Economy Model

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมภาคการประชุมอื่นๆ เช่น กิจกรรม Highlight Stage, กิจกรรม Thailand Research Symposium 2020, กิจกรรมประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา 2563, กิจกรรม Thailand Research Expo 2020 Award, กิจกรรม Research Clinic และการแสดง/จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากภาคเอกชนและภูมิภาคท้องถิ่น ทั้งนี้ผลงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดแสดงในนิทรรศการ Research University Network Thailand: RUN ได้แก่ คลัสเตอร์โรโบติกส์ คลัสเตอร์อาเซียน คลัสเตอร์สุขภาพ และผลงานวิจัยเด่น: สเปรย์เพิ่มประสิทธิภาพหน้ากากผ้า

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงมีมาตรการคัดกรองผู้เข้าร่วมนิทรรศการอย่างเข้มงวดตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข จัดให้มีการเข้าร่วมงาน 2 รูปแบบ ได้แก่  Onsite และ Online โดยรักษาระยะห่าง จำกัดผู้เข้าชมนิทรรศการ และสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าตลอดการร่วมงาน ตามนโยบายเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และงดการลงทะเบียนหน้างาน หรือ Walk in ทุกกรณี

“มหกรรมงานวิจัย 2563”จุฬาฯ รับเกียรติบัตรรับรองวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย

“มหกรรมงานวิจัย 2563”จุฬาฯ รับเกียรติบัตรรับรองวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย

“มหกรรมงานวิจัย 2563”จุฬาฯ รับเกียรติบัตรรับรองวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย

“มหกรรมงานวิจัย 2563”จุฬาฯ รับเกียรติบัตรรับรองวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย

“มหกรรมงานวิจัย 2563”จุฬาฯ รับเกียรติบัตรรับรองวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย

“มหกรรมงานวิจัย 2563”จุฬาฯ รับเกียรติบัตรรับรองวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย

“มหกรรมงานวิจัย 2563”จุฬาฯ รับเกียรติบัตรรับรองวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย

“มหกรรมงานวิจัย 2563”จุฬาฯ รับเกียรติบัตรรับรองวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย

“มหกรรมงานวิจัย 2563”จุฬาฯ รับเกียรติบัตรรับรองวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย

“มหกรรมงานวิจัย 2563”จุฬาฯ รับเกียรติบัตรรับรองวิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า