รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 สิงหาคม 2563
ข่าวเด่น
จากงานเสวนา “ปลดล็อก ‘น็อคเอ้าท์’ งานวิจัย : NEW NORMAL – NEW R&D” งานประชุมออนไลน์ PPC&PETROMAT SYMPOSIUM 2020 เพื่อถามหาทางออกให้นักวิจัยหลังวิกฤต โควิด-19 โดยมี ศ.ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) กล่าวเปิดงาน วิทยากรร่วมเสวนาได้แก่ ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ฝ่ายพัฒนาการตลาด ธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลาย ตัวแทนภาคเอกชนจาก พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด มหาชน ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ
ภาครัฐปล่อยหมัดเด็ด ปลดล็อกข้อจำกัดการทำวิจัยแบบเดิม
ดร.กิติพงค์ เสนอให้นักวิจัยทำงานอย่างมียุทธศาสตร์ กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนโดยลงรายละเอียดให้ได้ว่าในโครงการมีอะไรเป็น Product Champion ซึ่งต้องส่งผลดีต่อสังคม เศรษฐกิจ และภาพรวมต่ออุตสาหกรรมด้วย โดยขณะนี้ภาครัฐกำลังเตรียมร่างข้อบังคับเพื่อปลดล็อกระเบียบพัสดุที่เป็นอุปสรรค รวมถึงกำลังร่างระเบียบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดความร่วมมือในงานวิจัยระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนได้โดยตรง ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่มีมาก่อน นอกจากนี้ภาครัฐกำลังเตรียมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยกับผู้มีความเชี่ยวชาญในภาคธุรกิจ ให้มาช่วยกันคิดออกแบบโครงการแล้วตัดสินใจเลือกงานวิจัยที่มีศักยภาพไปทำต่อ ต่างจากการทำงานแบบเดิมที่ภาครัฐเปิดรับข้อเสนอโครงการเข้ามา แล้วให้กรรมการที่อาจมีความรู้ไม่ครบทุกด้านมาตัดสินใจเลือก
‘น็อคเอ้าท์’ งานวิจัยขึ้นหิ้ง: เอกชนแนะเคล็ดลับจับตลาดให้อยู่หมัด
ดร.เกรียงศักดิ์ แนะนำการทำงานแบบนักการตลาดซึ่งประยุกต์ใช้กับการทำวิจัยได้ ข้อแรก นักวิจัยต้องมองให้ขาดว่าผู้บริโภคต้องการอะไร แล้วจึงวางแผนสร้างและส่งมอบผลงานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ข้อสอง ต้องมีเป้าหมายชัดเจนในการสร้างผลงานนั้นออกมาให้สำเร็จ และข้อสุดท้าย ต้องปรับกระบวนการทำงานให้รวดเร็วเพื่อให้สามารถส่งมอบผลงานได้ทันเวลา ซึ่งยังเป็นที่ต้องการในตลาดตอนนั้น
NEW NORMAL ปรับตัวให้ทัน เปลี่ยนวิธีการทำงาน
ในวิกฤตย่อมมีโอกาส ดร.เกรียงศักดิ์ เล่าว่าวิกฤตโควิดทำให้สมดุลในโลกนี้เสียไป ตรงไหนที่มีการเปลี่ยนแปลง ตรงนั้นก็จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจใหม่ๆ แทรกตัวเข้ามาได้ ใครที่รู้จุดขายของงานตัวเอง ทำงานคล่องตัวกว่า และปรับตัวไวกว่าก็จะได้รับประโยชน์ โดยนักวิจัยต้องปรับวิธีคิดให้ทันต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น มิติด้านสังคมกำลังโดดเด่น ตลาดกำลังสนใจเรื่องวิธีเอาตัวรอดจากโควิด เช่น เจลแอลกอฮอล์ อุปกรณ์ป้องกัน ตลอดจนวัคซีน ซึ่งล้วนต้องอาศัยงานวิจัยในการพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์
ดร.กิติพงค์ กล่าวเสริมว่าเราต้องมีกระบวนการทำวิจัยแบบใหม่ด้วย เพราะนวัตกรรมไม่ได้มีแค่มิติของการวิจัยและพัฒนา แต่ยังเกี่ยวข้องกับธุรกิจ การเงินการลงทุน การตลาด การผลิต ฯลฯ ตอนนี้ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมความสามารถให้บุคลากรมหาวิทยาลัย โดยให้แต่ละมหาวิทยาลัยชูอัตลักษณ์และศักยภาพของตนเอง แล้วไปขอทุนเพื่อรับการสนับสนุนด้านอื่นๆ จากภาครัฐ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้งานวิจัยสามารถเกิดเป็นนวัตกรรมได้จริง และยังตอบโจทย์ความต้องการของประเทศอีกด้วย
NEW R&D หาทุนง่ายในหลายช่องทาง
งบลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศมีมากมายและหลากหลาย ดร.กิติพงค์ กล่าวว่า งบวิจัยในปัจจุบันมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนกว่า 70% ส่วนภาครัฐลงทุนอีกประมาณ 22% งบในส่วนของภาครัฐ 46,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก งบวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม (ววน.) ซึ่งจัดสรรผ่านกองทุนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยส่วนแรก Fundamental Fund จัดสรรให้มหาวิทยาลัยทำงานวิจัยพื้นฐานเพื่อเสริมความแข็งแรงจากฐานราก และส่วนที่สอง Strategic Fund จัดสรรตามยุทธศาสตร์ให้โครงการวิจัยที่มีศักยภาพมาประกวดแข่งขันกัน งบจากภาครัฐส่วนที่สองประมาณ 21,000 ล้านบาท เป็นงบพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และงบส่วนที่สามอีกประมาณ 5,000 ล้านบาท คือ งบบูรณาการที่สนับสนุนให้สถาบันวิจัยทำงานร่วมกับภาคเอกชน
นอกจากนี้เรายังมีเงินนอกงบประมาณ เช่น กองทุน Competitiveness Fund ซึ่งให้ทุนสนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อทดลองตลาด รวมถึงในอนาคตจะมีกองทุน Innovation Fund ให้ผู้ประกอบการ SMEs นำไปสร้างนวัตกรรม และกองทุนอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัยให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ โดยรวมแล้วงบวิจัยจะมีมากมายหลากหลายขึ้น นักวิจัยเองก็จะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
“เหมือนกับกล่องของขวัญ โควิดมา กระดาษห่อข้างนอกก็ต้องเปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อมให้ทันสมัย และเปลี่ยนตามนโยบายจากคณะรัฐมนตรี แต่ว่าเนื้อข้างในกล่องที่เป็นแกนหลักต้องยังอยู่ ประเทศเรามีหน่วยงานอย่าง สอวช. ซึ่งมองทิศทางการวิจัยในระยะยาวด้วย โดยปักหมุดงานวิจัย 6 ด้าน ได้แก่ การขจัดความยากจน, BCG (Bio-Green-Circular Economy), Industry Transformation, SHA (Social Sciences, Humanities and Arts), Man and Brain Power รวมถึงการวางกฎระเบียบใหม่ในการบริหารจัดการงบ” ดร.กิติพงค์ กล่าวทิ้งท้ายให้ความมั่นใจแก่นักวิจัย
บทสรุปจากเวทีเสวนาครั้งนี้ให้ข้อคิดว่านักวิจัยต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของตลาดโดยเฉพาะหลังวิกฤตโควิด-19 รวมถึงต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัวแบบภาคเอกชน ซึ่งภาครัฐเองก็พร้อมสนับสนุนด้านเงินทุน ทั้งนี้ก็เพื่ออนาคตการวิจัยและพัฒนาของประเทศ โดยผู้สนใจสามารถดูคลิปวิดีโองานเสวนา “ปลดล็อก ‘น็อคเอ้าท์’ งานวิจัย : NEW NORMAL – NEW R&D” ย้อนหลังได้ทาง Facebook Live ในเพจ PETROMAT
Siam Square Countdown 2025 ณ สยามสแควร์ ถนนแห่งความสุขที่เปิดโอกาสให้ทุกคน
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) คนใหม่
อธิการบดีจุฬาฯ สวัสดีปีใหม่ 2025
จุฬาฯ-NTU ร่วมมือซ่อมฝายชะลอน้ำในจังหวัดน่าน พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
พิธีเปิดงาน SIAM SQUARE CHRISTMAS & HAPPY NEW YEAR 2025 ส่งความสุขปีใหม่สุดประทับใจ ณ สยามสแควร์
ของขวัญปีใหม่ 2568 สุดพิเศษแด่สังคมจากจุฬาฯ โดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้