รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 สิงหาคม 2563
ข่าวเด่น
ดนตรีไทยเป็นศิลปะอันทรงคุณค่าที่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ทั้งชาติ ปัจจุบันมีเยาวชนคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่สนใจดนตรีไทย พร้อมทำหน้าที่สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยไม่ให้สูญหายไปกับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก พณฤทธิ์ โกมลสิงห์ และปฏิพล แซ่ลี้ สองนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาดนตรีศึกษา เป็นแบบอย่างของเยาวชนที่รักษ์ดนตรีไทย ทั้งคู่ได้รับรางวัลเยาวชนต้นแบบด้านดนตรีไทย ประจำปี 2563 ระดับชมเชย จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
พณฤทธิ์ โกมลสิงห์ เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับดนตรีไทยมาตั้งแต่เด็กจากการที่คุณปู่และคุณพ่อเป็นนักดนตรีไทย พณฤทธิ์มีความสามารถในการเล่นระนาดเอก และเล่นเครื่องดนตรีไทยได้ทุกชนิด ก่อนหน้านี้เขาเคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีไทย “ประลองเพลง ประเลงมโหรี” มาแล้ว
พณฤทธิ์กล่าวว่า “การเล่นดนตรีไทยทำให้เขาได้ใช้ฝีมือและความสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา รู้สึกตื่นเต้นทุกๆครั้งที่ได้เล่นดนตรีไทย อยากให้ทุกคนลองเปิดใจมาเรียนดนตรีไทยกันมากขึ้น” สำหรับเทคนิคการเล่นดนตรีไทยให้ประสบความสำเร็จนั้น พณฤทธิ์ยึดหลัก 4 ข้อ คือ 1.เรียนรู้ 2.ฝึกฝน 3.อดทน 4.พัฒนา ดนตรีไทยแตกต่างจากดนตรีสากลตรงที่ค่อนข้างเข้าถึงยากกว่า ต้องค่อยๆ ฝึกฝนเรียนรู้ไปเรื่อยๆ และต้องใช้ความอดทนสูง บางครั้งต้องผ่านการเล่นดนตรีไทยเป็นร้อยเป็นพันครั้งเพื่อที่จะออกมาแสดงเพียงครั้งเดียว
ปฏิพล แซ่ลี้ เยาวชนต้นแบบด้านดนตรีไทยอีกคนหนึ่ง เครื่องดนตรีที่เล่นเป็นหลักคือซอสามสาย เกียรติประวัติที่ผ่านมาเคยได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดทางด้านดนตรีไทยมาแล้วมากมาย เช่น รางวัลชนะเลิศซอสามสาย ประเภทมโหรี จัดโดยศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ รางวัลชนะเลิศซอด้วงการประกวดบรรเลงดนตรีไทย “ศรทอง” ของมูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ฯลฯ
ปฏิพลเล่าว่า “สนใจดนตรีไทยตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษา ซึ่งมีหลักสูตรอนุรักษ์ความเป็นไทย และเรียนดนตรีไทยด้วย พอเรียนไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกชอบและหลงใหลจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต เทคนิคการเล่นดนตรีไทยให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการฝึกซ้อมเป็นประจำ เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านดนตรีไทยอยู่เสมอ นอกจากจะขยันซ้อมแล้ว ลองหาต้นแบบที่เราสามารถดูเป็นตัวอย่างได้ ต้นแบบครูดนตรีไทยของผมคือคุณครูสมัยมัธยมหรือสมัยประถม ซึ่งทุกวันนี้ยังคงระลึกถึงและเรียนรู้การเล่นดนตรีไทยจากท่านอยู่เหมือนเดิม”
“อยากให้คนรุ่นใหม่สนใจดนตรีไทย นิยมฟังดนตรีไทยให้มากขึ้น” ปฏิพล กล่าวทิ้งท้าย
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้