ข่าวสารจุฬาฯ

เสวนา “ฬ. จุฬาฯ นิติมิติ” นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญกฎหมายวิเคราะห์ “การฟ้องคดีอาญาโดยรัฐกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน”

จากงานเสวนาทางวิชาการ “ฬ. จุฬาฯ นิติมิติ” เรื่อง “การฟ้องคดีอาญาโดยรัฐกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน” ซึ่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 4 สิงหาคม 2563 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดในประเด็นปัญหาจากมุมมองของทุกภาคส่วน เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายอาญา และวิธีพิจารณาความอาญา จากกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญานายวรยุทธ  อยู่วิทยา ในทุกข้อกล่าวหา และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไม่แย้งคำสั่งของพนักงานอัยการ มีผลให้คดีสิ้นสุดตามกระบวนการทางกฎหมาย และพนักงานสอบสวนได้ขออนุมัติศาลเพิกถอนหมายจับในคดีนี้ ตามที่ปรากฏในสื่อต่างๆ อย่างแพร่หลาย นักวิชาการด้านกฎหมายและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้อย่างน่าสนใจ ดำเนินรายการโดย อ.ดร.ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

ศ.ดร.คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด กล่าวว่า การทำงานของอัยการกับตำรวจ ไม่ใช่แค่การตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน แต่มิติที่ถูกต้องคือการทำงานร่วมกัน กฎหมายเราดี แต่เราไม่เข้าใจระบบที่ถูกต้องก็เลยปฏิบัติกับแบบผิดๆ ถูกๆ จึงสร้างความเสียหายให้กับบ้านเมือง  อย่างไรก็ตามสังคมไทยกับต่างประเทศต่างกันมาก ในประเทศไม่มีการตรวจสอบโดยภาคประชาชน แต่ในกรณีที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องราวที่ใหญ่โตทำให้คนสนใจกันมากขึ้น จึงทำให้ผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมต้องทำงานด้วยความระมัดระวัง พยายามทำงานให้มีหลักมีเกณฑ์ ซี่งในต่างประเทศกระบวนการยุติธรรมของเขาเข้มแข็งมาก สถาบันการศึกษาน่าจะต้องเอาจริงเอาจังในเรื่องของกระบวนการยุติธรรม เพราะตอนที่ตนเป็นอัยการสูงสุดได้ตั้งสถาบันกฎหมายอาญา เพราะเห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายของบ้านเราอ่อนมาก  อยากฝากสถาบันการศึกษาหันมาสนใจในเรื่องกระบวนการยุติธรรมกันให้มากขึ้น เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมนั้นถูกกฎหมาย

ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าข้อเท็จจริงในคดีนี้เราคงต้องติดตามกันต่อไป แต่สิ่งที่เราได้จากคดีนี้คือโอกาสในการที่จะนำกระบวนการยุติธรรมทางอาญาขึ้นมาพิจารณากันจริงๆ ว่าสมควรที่จะมีการแก้ไขพัฒนาปรับปรุงในจุดไหนบ้าง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้สร้างคำถามและกระทบความรู้สึกของสังคมเมื่ออัยการสั่งไม่ฟ้อง ทำให้เราได้เห็นความเคลื่อนไหว การตื่นรู้ตื่นตัวของภาคประชาชนที่จะเข้ามามีส่วนในกระบวนการยุติธรรมซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก  แสดงให้เห็นว่าประชาชนก้าวหน้ามาถึงจุดที่พร้อมจะมีส่วนร่วมกับภาครัฐ และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรด้านความยุติธรรมเข้มแข็ง

ผศ.ดร.ปารีณากล่าวต่อไปว่า คงต้องแยกกันระหว่างการที่ประชาชนออกมาเรียกร้อง กับเรื่องของคดี เพราะผลของคดีเป็นเรื่องของกระบวนตามกฎหมาย เรายังบอกไม่ได้ว่าคำสั่งไม่ฟ้องสะท้อนอะไรบ้าง แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสที่ทำให้เราได้หันกลับมามองว่ากระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มต้นที่พนักงานสอบสวน มาถึงการส่งคดี ระหว่างทางนั้นอาจมีข้อบกพร้อมในแง่ของกฎหมาย ระบบ และการบังคับใช้กฎหมายหรือไม่  เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้ในการปรับปรุงและพัฒนา สถาบันการศึกษามีหน้าที่ผลิตนักกฎหมายเพื่อออกไปรับใช้สังคม  แต่ส่วนสำคัญที่เป็นหัวใจของความเป็นนิติศาสตร์ก็คือความยุติธรรม  ถึงเวลาที่จะต้องเน้นย้ำในเรื่องนี้แก่นิสิต นักศึกษาให้มากขึ้น เพราะเราสถาบันการศึกษาที่เป็นต้นทางของการผลิตนักยุติธรรมให้กับสังคม

พ.ต.อ.ดร.มานะ เผาะช่วย เลขาธิการสมาคมพนักงานสอบสวน กล่าวถึงมุมมองที่สังคมเรียกร้องให้มีการตรวจสอบคดีนี้ใหม่ว่า เป็นเรื่องที่ดีที่สาธารณชนและสื่อมวลชนเอาใจใส่ มิฉะนั้นอาจทำให้เรื่องเงียบได้ เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ออกมาแถลงข่าวให้สาธารณชนได้รับรู้แม้จะเป็นคดีที่น่าสนใจ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดีนี้จะต้องทุ่มเทอย่างหนักเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการยุติธรรม ส่วนรูปคดีก็ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่มีอยู่ในสำนวนแล้ว สำหรับความเป็นไปได้ในการที่จะพบพยานหลักฐานใหม่ที่จะนำไปสู่กระบวนการสั่งฟ้องได้หรือไม่นั้น  ความเห็นส่วนตัวที่ทำคดีมานาน คดีรถชนคนตายบนถนน โอกาสพบพยานหลักฐานใหม่ถึงขั้นเข้าองค์ประกอบกฎหมายคงเป็นไปได้ยาก การที่จะหาพยานหลักฐานใหม่ที่สำคัญและจะสั่งลงโทษนั้นคงยาก 

นายนิติธร แก้วโต ทนายความ กล่าวถึงบทเรียนของคดีที่เกิดขึ้นกับเรื่องของกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทยว่า เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ประชาชนตื่นตัวให้มีการเรียกร้องความยุติธรรม ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถทำได้ตั้งแต่ชั้นตำรวจไปจนถึงระดับพนักงานอัยการสูงสุด เพื่อให้มีการกลั่นกรองพิจารณาหรือพิจารณาสำนวน ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนทั่วไปที่อาจจะโดนกลั่นแกล้ง ตกเป็นแพะรับบาปสามารถร้องเรียนในส่วนของคดีที่เป็นผู้เสียหาย ในอีกมุมหนึ่งก็จะเห็นความผิดปกติหลายๆ อย่าง เช่น การร้องเรียนขอความเป็นธรรมทำให้ระยะเวลายืดยาวมากจนเกิดเป็นคำถามว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งผู้ที่ตอบได้ดีที่สุดคือตำรวจและพนักงานอัยการ

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า