รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 สิงหาคม 2563
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ประชาคมจุฬาฯ ทุกระดับมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (SHECU) เป็นหน่วยงานหลักของจุฬาฯ ที่ดำเนินภารกิจในเรื่องนี้ ล่าสุดได้มีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2563จำนวน 4 ฉบับซึ่งเกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของจุฬาฯ และแนวปฏิบัติฯ ทางด้านเคมี ด้านรังสี และด้านชีวภาพ
ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ เปิดเผยว่าระบบความปลอดภัยในจุฬาฯ แต่เดิมมีลักษณะต่างคณะและหน่วยงานทำตามความเข้าใจ มาตรฐานจึงไม่ตรงกัน มหาวิทยาลัยจึงได้ตั้งศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนนโยบายความปลอดภัยของจุฬาฯ และผลักดันให้สู่การนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 จุฬาฯ จะต้องจัดให้มีระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานและดำเนินการให้เป็นไปตามระบบ ซึ่งประกอบด้วย นโยบาย โครงสร้างการรับผิดชอบ แผนการดำเนินการ การประเมินทบทวนแผนและนำมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีเอกสารข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงได้
ด้วยเหตุผลดังกล่าว มหาวิทยาลัยจึงได้ออกประกาศจุฬาฯ 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาแวดล้อมในการทำงาน 2.แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมด้านเคมี 3.แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมด้านรังสี และ 4.แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย ทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อให้ทุกส่วนงานมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนมีการทำให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติดังกล่าว
ศ.ดร.ธีรยุทธ กล่าวถึงประโยชน์ที่ประชาคมจุฬาฯ จะได้รับจากการที่มหาวิทยาลัยออกประกาศทั้ง 4 ฉบับนี้ว่า จะทำให้ประชาคมจุฬาฯ มีความปลอดภัยมากขึ้นจากการมีแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ชัดเจน อันที่จริงแล้วเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องของจิตสำนึกมากกว่ากฎระเบียบหรือแนวปฏิบัติ การที่จะทำให้จุฬามีความปลอดภัยอย่างยั่งยืนทุกคนต้องเห็นความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการทำให้ความปลอดภัยเป็นวัฒนธรรมของจุฬาฯ อย่างไรก็ตามการปลูกฝังให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยขึ้นในจุฬาฯ ต้องใช้เวลา ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน สิ่งที่ทำได้ในระยะเริ่มต้นคือการสร้างแนวปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และ SHECU จะประสานงานให้คณะและหน่วยงานต่าง ๆ มีการดำเนินการตามแนวปฏิบัติเหล่านี้ โดย SHECU จะเข้าไปช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการจัดทำแผนและให้คำแนะนำต่าง ๆ โดยตั้งเป้าหมายว่าภายในปีงบประมาณ 2564 ทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัยจะมีผู้รับผิดชอบและมีระบบจัดการเรื่องความปลอดภัยด้านชีวอนามัยฯ ในด้านการทำงานและมีการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติได้ครบ 100% และเป้าหมายในระยะยาวคือการทำให้ประชาคมจุฬาไม่เพียงแต่ปฏิบัติตามกฎจนเป็นนิสัยเท่านั้น แต่ยังต้องมีความตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยและมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดความปลอดภัยอย่างยั่งยืนจนกลายเป็นวัฒนธรรมในที่สุด
“เรื่องความปลอดภัยไม่ใช้กฎระเบียบที่จะทำให้ชีวิตเรายุ่งยากมากขึ้น แต่เป็นสิ่งที่เราต้องทำกันมานานแล้ว เพียงแต่เราไม่ได้ทำ SHECU ได้สร้างระบบและเครื่องมือขึ้นมารองรับ รวมถึงมีการจัดอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ เป้าหมายสูงสุดในการดำเนินงานของศูนย์ฯ คือไม่ต้องการให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นใน จุฬาฯ หรือ Zero Accident เราพยายามทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานดีขึ้น อยากให้ประชาคมจุฬาฯ ตระหนักว่าความปลอดภัยเป็นเรื่องของทุกคน ถ้าต่างคนต่างไม่เห็นความสำคัญ วัฒนธรรมความปลอดภัยก็จะเกิดขึ้นได้ยาก” ศ.ดร.ธีรยุทธ กล่าว
รศ.ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ กล่าวถึงประกาศจุฬาฯ ที่ออกมาว่ามีความเหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย มีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจน และเป็นหลักการปฏิบัติที่ถูกต้องของบุคลากรผู้ทำงานเกี่ยวข้อง ทำให้ประชาคมจุฬาฯ ได้รับความรู้และแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ ประกาศทั้ง 4 ฉบับจะครอบคลุมทุกคณะและหน่วยงานในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะมีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ ล้วนจำเป็นที่จะต้องดูแลด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมการทำงานทั้งสิ้น
รศ.ดร.อมร กล่าวเพิ่มเติมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายว่าแต่ละสถานที่ แต่ละกิจกรรมมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น พื้นทางเท้าเป็นหลุมเป็นบ่อมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ แม้แต่การก่อสร้างก็ต้องป้องกันเสียง ฝุ่นละออง ป้องกันการหล่นของวัตถุที่ทำให้เกิดอันตรายได้ เจ้าของสถานที่จำเป็นต้องดูแลเพื่อลดความเสี่ยงซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตราย ส่วนผู้ทำงานในพื้นที่และผู้ใช้บริการก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันตนเอง คุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและต้องผ่านการอบรมอย่างสม่ำเสมอ โดยมีวิธีการคัดเลือก การกำหนดกรอบนโยบายและการสรรหาแต่งตั้งที่ชัดเจน นอกจากนี้ควรมีใบรับรองในการเป็นเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยด้วย
ศ.ดร.สมเกียรติ งามประเสริฐสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการด้านความปลอดภัยของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ประกาศทั้ง 4 ฉบับเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในหลายมิติ ประกาศที่ออกมาจะเป็นพื้นฐานแนวปฏิบัติว่าควรจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้มีความปลอดภัยในการทำงานทั้งในคณะและมหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาคณะวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการในเรื่องแนวปฏิบัติต่างๆ ด้านความปลอดภัยมากว่า 10 ปีแล้ว ห้องปฏิบัติการของคณะวิทยาศาสตร์มีห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน มอก.2677 – 2558 จำนวน 2 ห้องใน 3 ห้องของจุฬาฯ ก่อนหน้านี้ทางคณะฯ ถือเอาคู่มือการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ หรือ ESPReL ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตลอดจนแนวปฏิบัติจากต่างประเทศมาปรับใช้ในการดูแลด้านความปลอดภัย ประกาศนี้ทำให้มีแนวปฏิบัติทั่วไปสำหรับบุคลากรที่ทำงานที่เกี่ยวข้องเครื่องมือ วัตถุอันตราย สารเคมีหรือรังสีอย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี แม้จะยังไม่สมบูรณ์ที่สุด แต่ก็ช่วยป้องกันและดูแลในเรื่องของความปลอดภัยให้ได้ตามมาตรฐาน และไม่เกินกำลังที่เราจะสามารถปฏิบัติตามได้
“ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นเรื่องของทุกคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความห่วงใยประชาคมจุฬาฯ อยากให้ทุกคนใช้ชีวิตในจุฬาฯ อย่างมีความสุข มีความปลอดภัยในการเรียนและการทำงาน เราอาจไม่ทราบว่าในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและรังสีนั้นมีอันตรายมากน้อยขนาดไหน แนวปฏิบัตินี้จะทำให้มั่นใจได้ว่าเราสามารถที่จะทำงานได้อย่างปลอดภัย อยากให้ทุกคนศึกษาประกาศและนำไปปฏิบัติตามด้วย ในส่วนของคณะวิทยาศาสตร์ หลังมีประกาศออกมาได้รับความร่วมมือจากบุคลากรเป็นอย่างดี” ศ.ดร.สมเกียรติ กล่าวในที่สุด
วชิราภรณ์ วิไลวรรณ นิสิตปริญญาเอกวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ในฐานะ Chula Safety Ambassador ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างศูนย์ SHECU กับนิสิตในมหาวิทยาลัยให้มีความเข้าใจตรงกันในเรื่องของความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เปิดเผยว่า ประกาศจุฬาฯ ทั้ง 4 ฉบับมีแนวปฏิบัติเฉพาะด้านที่ชัดเจนกว่า พ.ร.บ. ฉบับเดิม สามารถปฏิบัติตามได้ง่าย และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลต่อความปลอดภัยของนิสิต ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุที่จะเป็นอันตรายได้ อยากให้ทุกคนตระหนักในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยเริ่มต้นได้ด้วยตัวเราเอง และยังสามารถบอกต่อกับผู้อื่นได้อีกด้วย
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศจุฬาฯ ทั้ง 4 ฉบับได้ที่
https://bit.ly/announce_SHECU
นิสิต BBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน Alberta International Business Competition 2024 ที่แคนาดา
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันแผนการตลาดระดับอุดมศึกษา J-MAT AWARD ครั้งที่ 33
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้