รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 สิงหาคม 2563
ข่าวเด่น
เมื่อสังคมเปลี่ยน ครูต้องพัฒนาหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่หยุดเรียนรู้ ต้องก้าวไปกับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่เข้ามาท้าทายครู ทั้งการปรับหลักสูตรเพื่อสอนทักษะในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในช่วงโรคระบาด รวมถึงการเคลื่อนไหวในรั้วโรงเรียนของนักเรียน ครูถูกเรียกร้องให้ก้าวทันความเป็นไปในสังคมเพื่อทำหน้าที่เป็นแม่พิมพ์ของชาติที่สมบูรณ์พร้อม “ทางรอด” ของครูท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คืออะไร ผศ.ดร.ภาวิณี โสธายะเพ็ชร จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำตอบในเรื่องนี้
ผศ.ดร.ภาวิณี เปิดเผยว่าในปี 2565 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเน้นเนื้อหาสาระ อิงมาตรฐาน ทำตามเกณฑ์แล้วตัดเกรดมีแนวโน้มอาจจะถูกยกเลิก และเปลี่ยนมาเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ สอนโดยมีเป้าหมายให้เด็กใช้ความรู้ผนวกกับทักษะและคุณลักษณะบางประการของตนในสถานการณ์จริงได้ เมื่อใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ การเรียนการสอนจะแตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ภาพของการแบ่งรายวิชาอาจไม่มีอีกต่อไป แต่กลายเป็นการเรียนรู้แบบขอบข่ายรายวิชา หรือ learning area แทน การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ต่อตัวครูเช่นเดียวกัน.
ผศ.ดร.ภาวิณี กล่าวเพิ่มเติมว่า “สิ่งที่ควรเติมใส่หลักสูตรครุศาสตร์มากขึ้น คือ การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูควรจะมองเห็นคุณค่าว่าเด็กแต่ละคนมีความโดดเด่นไม่เหมือนใคร ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีรายวิชาแยกออกมาสอนเรื่องความแตกต่างอย่างชัดเจน สามารถใช้วิธีสอดแทรกในแต่ละรายวิชาที่มีอยู่ก็ได้ ถ้าอยากให้การเรียนออนไลน์สนุกสนานเหมือนเรียนในห้องเรียน ก็อาจต้องสร้างการเรียนรู้ด้วยแนวคิด Gamification หรือนำหลักการของเกมมาใช้ สร้างบทเรียนให้มีความท้าทาย และต้องจัดการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่นมากขึ้น”
“ในวันที่ทุกคนมีความคิดแตกต่างหลากหลาย ครูควรจะตั้งตนเป็นกลาง มองทุกๆ เรื่องทั้งด้านดีและด้านเสีย สอนให้เด็กมองอย่างรอบด้าน และต้องปฏิบัติกับเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน” ผศ.ดร.ภาวิณี กล่าวในที่สุด
ติดตารมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Fagebook : The101.world https://www.facebook.com/1624013471241224/posts/2369777733331457/
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้